เอา'กบ'แช่นม!วิธีเก็บนมเมื่อไม่มีตู้เย็น!
ในโลกยุคนี้การถนอมอาหารเป็นเรื่องที่สะดวกสบายขอเพียงแค่มีตู้เย็นก็จะมีอาหารสดใหม่กินได้ตลอดไม่ยาก ในอดีตการถนอมอาหารเป็นสิ่งสำคัญเพื่อความอยู่รอดเพื่อให้มีอาหารในฤดูกาลที่ขาดแคลน ซึ่งในแต่ละวัฒนธรรมก็จะมีวิธีถนอมอาหารตามแต่ละสภาพพื้นที่ แต่หนึ่งในวิธีถนอมอาหารที่สะดุดหูที่สุดก็คือ การใช้'กบ'แช่นม!
ชุมชนรัสเซียและฟินแลนด์ในสมัยโบราณได้ค้นพบวิธีถนอมอาการสุดแปลกที่ด้วยการโยนกบสีน้ำตาลที่ชื่อว่าว่า 'Rana temporaria' ลงไปแช่ในนม
ในปี 2010 นักวิจัยจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์รายงานว่าพบสารปฏิชีวนะมากกว่า 100 ชนิดในผิวหนังของกบจากทั่วโลกที่เรียกว่า'เปปไทด์' ซึ่งเป็นส่วนประกอบส่วนใหญ่ของสารคัดหลั่งจากผิวหนังของกบซึ่งมีหน้าที่ป้องกันแบคทีเรียในแหล่งที่อยู่อาศัยที่ชื้นแฉะซึ่ง นอกจากป้องกันน้ำนมเน่าแล้วสารปฏิชีวนะบางชนิดอาจปกป้องมนุษย์ได้
ไมเคิล คอนลอน หัวหน้าคณะผู้จัดทำรายงานการศึกษานี้กล่าวว่า "ผิวหนังของกบเป็นแหล่งของยาปฏิชีวนะที่มีศักยภาพสูง พวกมันมีอายุถึง 300 ล้านปีแล้วจึงมีเวลาเหลือเฟือที่จะเรียนรู้วิธีป้องกันตัวเองจากจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคในสิ่งแวดล้อม สภาพแวดล้อมของพวกมันเองรวมถึงแหล่งน้ำที่มีมลพิษทำให้กบจำเป็นต้องมีการป้องกันที่แข็งแกร่งต่อเชื้อโรค"
จากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ที่ดำเนินการในปี 2013 ก็เป็นเครื่องยืนยันว่าวิธีนี้ได้ผล โดยพบว่าโปรตีน เช่น Brevinin 1Tb ที่สังเคราะห์จากหนังกบ(และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกอื่นๆ) จะช่วยจำกัดอายุของแบคทีเรียบางชนิดได้ ด้วยการผ่านการลองผิดลองถูกชาวรัสเซียและฟินแลนด์ก็ได้ค้นพบว่าพวกเขาสามารถต่อสู้กับแบคทีเรียได้โดยการใช้โปรตีนที่ผลิตจากหนังกบใส่ลงในนม
ถ้าหากไฟฟ้าดับและตู้เย็นของคุณใช้ไม่ได้ ลองหากบสักตัวใส่ลงไปในนม แล้วพิสูจน์กันว่าจะสามารถรักษาน้ำนมได้นานหลายวันจริงหรือไม่!