'ความสุข3ขั้น'ตามหลักวิทยาศาสตร์
หลายคนในสังคมอาจรู้สึกชีวิตว่านี้มันช่างหาความสุขได้ยากเย็นเสียเหลือเกิน ทุกวันมันมีแต่ปัญหาและความเครียดจนชวนจิตตกและเบื่อโลก บางคนก็กลายเป็นโรคซึมเศร้า สภาพจิตใจที่แสนหดหู่นี้สามารถบรรเทาได้ด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้การศึกษาด้านประสาทวิทยา (Neurology) มาช่วยปรับพฤติกรรมในกิจวัตรประจำวันของเราเพื่อให้สมองหลังสารเคมีที่ดีหรือสารเคมีแห่งความสุขออกมา!
คุณหมอ ชิอน คาบาซาวะ ซึ่งท่านเป็นจิตแพทย์และนักประสาทจิตวิทยา (Neuropsychologist) ที่มีประสบการณ์มากว่า 30 ปี ได้ดขียนหนังสือ ชื่อ “The Three Happiness พีระมิดสามสุข" ซึ่งกล่าวถึงเทคนิคในการเสริมฮอร์โมนแห่งความสุข 3 อย่างได้แก่ เซโรโทนิน ออกซิโทซิน และ โดพามีน มาดูวิธีการสร้างความสุข 3 ขั้นตอนจากสมองของเรากันเถอะ!
ความสุขสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับตามการขับเคลื่อนของสารเคมีในสมองที่แตกต่างกัน ได้แก่
1. ความสุขแบบเซโรโทนิน (Serotonin) ความสุขที่เกิดจากการมีสุขภาพกายและใจที่ดี มีชีวิตที่สมดุลและมั่นคง
2. ความสุขแบบออกซิโทซิน (Oxytocin) เกิดจากความรัก ความผูกพัน การมีสายสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้าง
3. ความสุขแบบโดพามีน (Dopamine) เกิดจากการบรรลุเป้าหมายหรือประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน ได้รับสิ่งตอบแทนจากความพยายามของตน
วิธีการสร้างความสุขตามระดับ
1. ความสุขแบบเซโรโทนิน
- ดูแลสุขภาพ: นอนหลับให้เพียงพอ ออกกำลังกายเป็นประจำ และรับแสงแดดในตอนเช้าสัก 15-30 นาที จะช่วยกระตุ้นการหลั่งเซโรโทนิน
- เข้าใจตนเองให้มากขึ้น: ฝึกฝนสมาธิหรืออยู่กับปัจจุบัน ความเข้าใจในตนเองจะช่วยให้รู้สึกสงบและมีความสุขขึ้น
- เขียนบันทึกเชิงบวก: บันทึกความสุขของในแต่ละวันที่ครอบคลุมทั้ง สุขภาพ ความผูกพัน และการงาน
2. ความสุขแบบออกซิโทซิน
- ใกล้ชิดกับคนหรือสัตว์ที่เรารัก: การกอด สัมผัส หรือลูบสัตว์เลี้ยงช่วยกระตุ้นการหลั่งออกซิโทซินที่ทำให้รู้สึกอบอุ่นและปลอดภัย
- เข้าสังคม: ปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนหรือทำกิจกรรมร่วมกับคนในสังคมที่อยู่แล้วรู้สึกสบายใจ
- มีน้ำใจ: การทำสิ่งดีๆให้กับผู้อื่นทำให้ทั้งคู่ให้และผู้รับต่างรู้สึกดีทั้งสองฝ่าย
3. ความสุขแบบโดพามีน
- ชื่นชมกับสิ่งที่มี: ซาบซึ้งใจกับสิ่งที่ได้มา เช่น เงินทอง ทรัพย์สิน ความสำเร็จ
- พัฒนาตนเองให้ต่อเนื่อง: ลองทำสิ่งที่ไม่เคยทำ หรือเรียนรู้สิ่งใหม่ เมื่อได้เห็นความก้าวหน้าของตนก็จะเกิดความรู้สึกพึงพอใจและมีความสุขมากขึ้น
- ทำเรื่องที่ท้าทาย: ลองทำเรื่องที่ยากกว่าเดิมหรือท้าทายตัวเองทุกวัน เพื่อกระตุ้นความรู้สึกตื่นเต้นและเพิ่มระดับโดพามีน
- หางานที่มีคุณค่า: เช่น ทำงานที่ได้ช่วยเหลือผู้อื่นหรือมีประโยชน์ต่อสังคม จะทำให้รู้สึกมีคุณค่าและมีความสุขในสิ่งที่ทำ
ความสุขในชีวิตไม่จำเป็นต้องมาจากสิ่งที่ยิ่งใหญ่ แต่เป็นการดูแลตนเองอย่างสม่ำเสมอทั้งในด้านสุขภาพ ความสัมพันธ์ และการพัฒนาตนเองตามลำดับ โดยเริ่มจากสิ่งเล็กๆในประจำวัน เมื่อเริ่มรู้สึกถึงความสมดุลความสุขก็จะตามมา