หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ท่องโลกดึกดำบรรพ์ เมื่อทวีปอเมริกาเหนือ เชื่อมเข้ากับทวีปอเมริกาใต้

โพสท์โดย samuraimasterj

ในยุคไพลโอซีน ช่วง 3 ล้านปีที่แล้ว เกิดเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลกขึ้น เมื่อทวีปอเมริกาใต้ที่แยกเป็นเอกเทศเชื่อมต่อกับอเมริกาเหนือ โดยมีช่องแคบปานามาที่ถูกยกตัวจากธารลาวาและภูเขาไฟดันแผ่นดินหลอมติดรวมกันขึ้นในที่สุด เหตุการณ์นี้ส่งผลให้สิ่งมีชีวิตจากอเมริกาเหนืออพยพลงใต้ และสิ่งมีชีวิตบางส่วนจากอเมริกาใต้ก็ขึ้นไปทางเหนือได้เช่นกัน นี่คือเหตุการณ์ในประวัติศาตร์ธรรมชาติวิทยาที่เรียกว่า การแลกเปลี่ยนชนิดพันธุ์ในทวีปอเมริกา (Great American Interchange) วันนี้ เราจะพาทุกท่านเดินทางไปยังฟลอริด้าในสหรัฐอเมริกา เมื่อสิ่งมีชีวิตจากอเมริกาใต้ขึ้นมาถึงอเมริกาเหนือ พวกมันต้องเจอกับอะไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย

รัฐฟลอริด้าในตอนนี้ มีความเป็นทุ่งหญ้าและบึงน้ำ ดูอบอุ่นใกล้เคียงปัจจุบันมาก ที่นี่มีพืชหลายชนิดอาศัยอยู่มากมาย เช่นต้นโอเสจ (Osage Orange) มันมีเปลือกแข็งและยางเหนียว เป็นอาหารที่สัตว์ดึกดำบรรพ์หลายๆ ชนิดโปรดปรานมาก ถึงแม้จะเหลือมาจนตราบปัจจุบันที่สัตว์เหล่านั้นไม่ได้อยู่แล้ว มนุษย์ก็ยังหาวิธีนำมันมาปลูกต่อไปอีกได้ ตามทุ่งโล่ง มีสมเสร็จและม้าโบราณวิ่งอยู่เกลื่อนกลาด พวกมันเองคือสิ่งมีชีวิตท้องถิ่นของอเมริกาเหนือโดยดั้งเดิม

(เอเรโมเธอเรี่ยม)

และแล้ว ร่างขนาดยักษ์ยืดตัวชูแขนขาขึ้น มันใช้เล็บบนนิ้วสามนิ้วแหลมคล้ายคราดยึดกิ่งต้นโอเสจและขย่มจนผลไม้ตกพื้น เจ้าสัตว์ยักษ์ขนดกเริ่มใช้ลิ้นตวัดกินผลไม้เข้าปากอย่างเอร็ดอร่อย นี่คือ เอเรโมเธอเรี่ยม (Eremotherium) สลอธบกยักษ์ยาว 4 เมตร บรรพบุรุษของมันจากอเมริกาใต้และขึ้นเหนือมาจนถึงอเมริกาเหนือ พวกมันมีฟันกรามแข็งแรงและกระเพาะที่ย่อยผลไม้ที่ย่อยยากพวกนี้ได้ นอกจากต้นโอเสจแล้ว อะโวคาโด้ โกโก้ และพืชอื่นๆ ก็เป็นของโปรดของมันเช่นกัน เอเรโมเธอเรี่ยมตัวนี้เป็นแม่คน มันมีลูกอยู่บนหลังซึ่งสลอธทุกชนิดก็มักจะกระเตงลูกไว้บนหลังจนกว่าจะโตพอช่วยเหลือตัวเองได้ แต่มันจะต้องสอนให้ลูกของมันเอาตัวรอดในทุ่งโล่ง เพราะเมื่อพ้นเขตป่าไปนักล่าก็จะมากขึ้นไปด้วย

(มาสโตดอน)

เมื่อออกมายังทุ่งโล่ง สัตว์เคี้ยวเอื้องจำนวนมากกำลังหากินหญ้า และไม่ใช่เพียงสัตว์จากอเมริกาใต้จะมาถึงอเมริกาเหนือเท่านั้น ยังมีสัตว์จากทางเอเชียเข้ามาทางอเมริกาเหนือจากช่องแคบทะเลแบริ่งที่อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกที่ต่อไซบีเรียเข้ากับอเมริกาฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือด้วย นี่คือ มาสโตดอน (Mastodon) ช้างดึกดำบรรพ์ขนาดใหญ่ที่สูง 2 เมตร และยาว 5 เมตร ใหญ่กว่าช้างแอฟริกาอยู่เล็กน้อย แต่พวกมันคือสัตว์ที่ประสบความสำเร็จในการเดินทาง ช้างเหล่านี้กินทั้งพืชอย่างหญ้าและพืชน้ำจำพวกต้นอ้อ แต่ก็กินผลไม้และต้นไม้ได้อีกด้วย มาสโตดอนตัวใหญ่มาก และไม่มีนักล่าตามธรรมชาติเท่าไหร่นัก พวกมันอยู่กันเป็นโขลงกระจัดกระจาย หากสมาชิกในฝูงถูกโจมตี พวกมันพร้อมใจจะปรี่เข้ามาจัดการรุมยำศัตรูอย่างแน่นอน

(กลิปโทดอน)

เมื่อคุณเดินมาอีกก็เห็นก้อนหินขยับได้! ใจเย็นๆ มันไม่ใช่ก้อนหิน สิ่งนี้คือผิวที่แข็งเป็นกระดองหนา นี่คือ อาร์มาดิลโล่ยักษ์ดึกดำบรรพ์ กลิปโทดอน (Glyptodon) ถึงจะเหมือนเต่า มันคือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีรกกลุ่มเดียวกับอาร์มาดิลโล่ กระดองนี้คือเคราตินในเส้นขนที่สานและพัฒนาขึ้นมาเพื่อป้องกันตัวมันจากนักล่า ถึงจะเชื่องช้า แต่หากมันโมโหมันก็สามารถตวัดหางที่มีหนามคล้ายกระบองเพชรใส่นักล่าให้ปลิวได้ กลิปโทดอนต่างจากอาร์มาดิลโล่ปัจจุบันอยู่พอสมควร เพราะพวกมันกินแต่พืชเท่านั้น ซึ่งอาร์มาดิลโล่ปัจจุบันกินทั้งพืชและสัตว์ที่มันพบนะ

(สไมโลดอน)

และแน่นอนว่า มีเหยื่อขนาดนี้ก็ต้องมีนักล่า เสือเขี้ยวดาบปรากฏตัวแล้ว! มันเดินย่างจากทุ่งหญ้าเข้ามาและมองดูกลิปโทดอนก่อนจะปีนขึ้นหลัง นี่่คือ สไมโลดอน (Smilodon) เสือเขี้ยวดาบสกุลนี้ พบกระจายพันธุ์ทั้งอเมริกาเหนือและใต้ในเวลานี้ จุดเด่นคือเขี้่ยวคู่หน้าที่ยาวแหลมคล้ายดาบใช้แทงเข้าหลอดลมและตัดเส้นเลือดในลำคอเหยื่อตอนที่มันจะสังหาร แต่สไมโลดอนที่เราพบในอเมริกาเหนือ จะมีขนาดค่อนข้างเล็กสักหน่อย เจ้าสไมโลดอนพยายามข่วน ตะกุย และใช้เขี้ยวแทงเกราะหนาของกลิปโทดอนเพื่อสำรวจจุดที่จะกินได้ ดูเจ้าเหมียวของเราทำเรื่องแสนซื่อบื้อนี่สิ มันเจาะให้ตายยังไงก็ฆ่ากลิปโทดอนไม่ได้หรอก กระดองเกราะขนนี่แข็งจะตาย จนเมื่อมันเหนื่อยแล้วก็จึงกระโดดลงจากหลังของกลิปโทดอนแล้วเดินหายไปที่พุ่มไม้ข้างทางในที่สุด พยายามใหม่นะเจ้าเหมียว!

เดินทางต่อไปอีกเรื่อยๆ ก็จะเจอกับแหล่งน้ำ ที่นี่คือระบบบึงน้ำโบราณ เกิดจากแม่น้ำและธารน้ำใต้ดินที่สะสมจากพีท หรือซากพืชที่อุ้มน้ำมากจนกลายเป็นระบบบึงและธารน้ำ ที่ตรงนี้ในปัจจุบันจะกลายเป็นอุทยานแห่งชาติเอเวอร์เกลดแห่งฟลอริด้า มีหมูป่าเพคคารี และน่าทึ่งมากที่มีคาปิบาร่าจากอเมริกาใต้ขึ้นเหนือมาไกลถึงนี่ด้วย! ขณะที่พวกสัตว์ตัวจ้อยกำลังดื่มน้ำกันอยู่ ร่างสูงโย่งจ้องมาจากดงไม้ข้างหลัง หน้าตาของมันเหมือนนกกระจอกเทศตัวใหญ่ แต่ดูจะงอยปากคมแข็งแรงนั่นสิ เจ้านักล่าตัวนี้ดูกำลังจดจ้องและเลือกเหยื่อของมันอยู่นะ

(ไททันนัส)

เมื่อเหยื่อเผลอ เจ้านักล่าวิ่งออกมาด้วยความเร็วก่อนจะเตะด้วยเดือยที่ขาแทงคาปิบาร่าตัวหนึ่งลอยละลิ่วสาดเลือดไปทั่วบริเวณ เจ้านกยักษ์วิ่งไปจิกซ้ำที่หัวของเหยื่อกันไม่ให้เหยื่อหนีไปได้ เจ้านักล่าแสนน่ากลัวนี้คือ ไททันนิส (Titanis) นกนักล่าบินไม่ได้ในวงศ์ฟอรัสราคิด (Phorusrachidae) มันคือนกนักล่าขนาดใหญ่ที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กเป็นอาหาร การเตะเพียงครั้งเดียวก็ทำให้เหยื่อตาย และด้วยจะงอยปากนี้เอง มันจึงกัดกินเหยื่อได้ด้วยแรงมหาศาล การล่าของมันเน้นการจิกเหยื่อให้ตายสนิท มันมีบรรพบุรุษอยู่ในอเมริกาใต้มาก่อน แต่อพยพขึ้นเหนือมาได้ไกลมาก ญาติในอเมริกาใต้ของมันตอนนี้กำลังเจอปัญหา เนื่องจากการมาของเสือเขี้ยวดาบและหมาป่าดึกดำบรรพ์แย่งอาหารที่นกพวกนี้เคยกินไปจนหมด 

ในขณะนั้นเอง ไททันนิสก็ได้เดินกลับไปที่รังของมันอย่างช้าๆ เจ้านี้เป็นตัวเมียที่กกไข่อยู่ เมื่อกลับมาถึงรังก็ต้องพบกับภาพอันน่าช็อค ลูกๆ ในรังของมันถูกกัดกินโดยสุนัขจิ้งจอก เมื่อพิจรณาดูดีๆ ก็เห็นมีลูกน้อยในรังที่ขนอุยเพิ่งขึ้นเหลืออยู่ตัวเดียว ไททันนิสอาจจะออกไข่ได้ไม่เกินครั้งละ 2 ฟอง แต่โชคดีที่ยังมีลูกน้อยเหลือรอด นกขนาดใหญ่แบบนี้ต้องทำรังบนดิน และแน่นอนว่ามันต้องเสียท่าให้กับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่หากินอาหารหลากหลายตามพื้นดินแน่นอน

และแล้ว ม่านฉากการล่าก็เริ่มอีกครั้ง เมื่อคราวนี้เจ้าสไมโลดอนก็ออกล่าเช่นกัน ครั้งนี้มันเล็งไปที่สมเสร็จที่กำลังเดินมากินน้ำเช่นกัน แน่นอนว่าคราวนี้พวกเราจะได้ดูการล่าอันแสนน่าตื่นเต้นแล้ว!

พลันที่เจ้าสมเสร็จรู้ตัว มันก็เริ่มออกวิ่งในทันที สไมโลดอนที่วิ่งตามก็ใช้ขาหน้าที่ยาวดีดตัว ด้วยขาหน้าที่ยาวและเอ็นคล้ายสปริงใช้สร้างความเร็วในการวิ่งได้ไวมาก มันวิ่งปรี่ตามเจ้าสมเสร็จจนทันในที่สุดและกระโจนขึ้นข้างหลังก่อนจะกดเหยื่อลง ขณะที่เหยื่อร้องขอชีวิต นั่นสายเกินไปแล้ว และสุดท้าย มันก็ได้กัดลงไปที่ลำคอ เขี้ยวคมๆ ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ มันจัดการล็อคเหยื่อได้ในทันที

การล่า การหาอาหาร คือกุญแจสำคัญของสัตว์ในการดำรงชีวิต และเมื่อหาอาหารได้มาก ก็เพียงพอต่อการผสมพันธุ์และดูแลเผ่าพันธุ์ สายพันธฺุใดที่เข้าถึงแหล่งอาหารได้มากกว่าและดีกว่า สายพันธุ์นั้นย่อมเข้าถึงทรัพยากรและโอกาศในการสืบพันธุ์เช่นกันต่อไป

 

ตอนต่อไป เดินทางต่อไปยังหมู่เกาะภูเขาไฟในอินโดนีเซีย เมื่อมนุษย์กลุ่มแรกๆ เดินทางมายังแผ่นดินนี้และติดกับจนตัวเล็กลง บนเกาะที่มีช้างแคระและมังกรร้าย มาดูการเอาชีวิตรอดของพวกเขากันว่าจะเป็นเช่นไร โปรดติดตามต่อไปใน ท่องโลกดึกดำบรรพ์!                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                   

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
samuraimasterj's profile


โพสท์โดย: samuraimasterj
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
5 VOTES (5/5 จาก 1 คน)
VOTED: ลิลลี่ ไมโครนอส
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
อีกมุมของ "ยายสา" ตำนานแม่มดแห่งสมิหลา กับความลึกลับที่ไม่มีใครกล้าท้าทาย"5 เทคนิคเพิ่ม Productivity ที่ช่วยให้คุณทำงานสำเร็จเร็วขึ้น1 ใน 8 ของนักเรียนร.ร.รัฐในนิวยอร์ก'ไร้บ้าน'!นางเอกดังสุดเศร้า กับการสูญเสียครั้งใหญ่ โพสต์อาลัยรักสุดหัวใจวิจิตรเจ้าพระยา 2024 ปังไม่ไหว ฝรั่งอึ้ง งานใหญ่ระดับโลกที่ต้องมาดู"ช็อกแป๊บ! เจอ 'หลวงพี่เท่งตัวจริง' เดินบิณฑบาต คนถามหนังหรือชีวิตจริง"ตำรวจ ตามรวบจนครบ 3 โจ๋เหิมเกริม ใช้มีดฟันคู่อริ กลางสถานี BTSล่าแม่มดทริบูร์: ความกลัวที่ทำให้ชีวิตกลายเป็นเพียงเงาในประวัติศาสตร์"อันตราย! คนจีนจ้างแพ็คอาหารเสริมปลอม ขายผ่านออนไลน์ในไทย
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
หวังเซียนเฉา นักการทูตผู้ยิ่งใหญ่ของราชวงศ์ถัง‘ขนม ศศิกานต์’ เลิก ‘ครูเต้ย อภิวัฒน์’ ทั้งที่เพิ่งคลอดลูก คนที่ 2 จากกันด้วยดี ไม่มีมือที่ 3เพียง 3 วินาที หญิงสาวสามารถขโมยนมผงในร้านสะดวกซื้อโดยไม่มีใครเห็น"ช็อกแป๊บ! เจอ 'หลวงพี่เท่งตัวจริง' เดินบิณฑบาต คนถามหนังหรือชีวิตจริง"ฝรั่งเผยชีวิตไทยสุดชิล! ไม่คิดกลับอเมริกา แถมซึ้งใจเมืองพุทธจนใจละลาย5 เทคนิคเพิ่ม Productivity ที่ช่วยให้คุณทำงานสำเร็จเร็วขึ้น
ท่องโลกดึกดำบรรพ์: บ่อน้ำมันดิบยุคหินท่องโลกดึกดำบรรพ์: ออสเตรเลียแดนใต้ลึกลับท่องโลกดึกดำบรรพ์: คนแคระกลุ่มสุดท้ายแห่งเกาะภูเขาไฟท่องโลกดึกดำบรรพ์: ฉลามยักษ์ในทะเลใต้ที่เปลี่ยนแปลงไป
ตั้งกระทู้ใหม่