14 กิจวัตร ของผู้ที่ประสบความสำเร็จ
14 กิจวัตร ของผู้ที่ประสบความสำเร็จ
กิจวัตรที่ดี 1 ทบทวนตนเองเมื่อจบวัน
"การย้อนทบทวนตนเอง"จัดอยู่ในกิจวัตรควรปฏิบัติอันดับต้นๆ แน่นอนว่าไม่มีอะไรสำคัญเกินกว่าการไม่ทำผิดพลาดแบบเดิมซ้ำ
ทว่าผู้ประสบความสำเร็จจะย้อนกลับมาทบทวนตนเองเสมอในแต่ละวัน เพื่อวิเคราะห์ว่าอะไรคือปัจจัยนำไปสู่ความสำเร็จ และเพิ่ม
ขีดความสามารถในการทำซ้ำ
เทคนิคนี้จะใช้ไดอะรี่หรือสมาร์ตโฟนก็แล้วแต่สะดวก แต่ต้องไม่ลืมจดบันทึกและย้อนพิจารณาทบทวนตนเองอยู่เสมอให้เป็นนิสัย
กิจวัตรที่ดี 2 จดบันทึกแล้วย้อนกลับไปอ่าน
การจดบันทึกเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผมย้ำแล้วย้ำอีก เพราะการจดบันทึกเป็นประโยชน์อย่างมากในการฝังสิ่งที่ฉุกคิดขึ้นได้ลงในสมองจะจดแค่ใจความสำคัญหรือจดแบบไหนก็ตามสะดวก แต่ควรจดให้เป็นนิสัย และอย่านิ่งนอนใจคิดว่าจดแล้วก็จบไป
หากไม่ย้อนกลับไปอ่านสิ่งที่จดเอาไว้ในภายหลังและนำสิ่งนั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ก็คงพูดไม่ได้ว่าการจดนั้นมีความหมาย
วิธีที่ผมอยากแนะนำคือ "ฉุกคิดอะไรได้ก็จด แค่วันละเรื่องวันละข้อความก็ยังดี" จดใจความสำคัญหรือหัวข้อเอาไว้แล้วกลับมาอ่านเป็นครั้งคราว เพื่อให้ลิ้นชักความรู้ในสมองอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานเสมอ
กิจวัตรที่ดี 3 เป็นฝ่ายกล่าวคำทักทายก่อน
"การทักทาย"ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการเชื่อมโยง"ความใส่ใจ" ของแต่ละคนเข้าด้วยกัน อย่าลืมว่า "การสนทนาหมายถึงการถ่ายทอด 'ความหมาย'และ'ความใส่ใจ'ควบคู่กัน" การออกคำสั่งกับลูกน้อง เช่น "ถ่ายสำเนาเอกสารนี้ 100 ชุด" ถือเป็นการสื่อ"ความหมาย" ซึ่งในมุมของลูกน้องระดับความกระตือรือร้นจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าคนที่ออกคำสั่งเป็นเจ้านายที่เคารพรักหรือเจ้านายที่ไม่ถูกชะตา
ปัญหาลักษณะดังกล่าวมักเกิดจากระดับของการรับรู้ "ความของกันและกัน อีกทั้งไม่ใช่เรื่องแปลกหากอีกฝ่ายจะไม่รู้สึกผูกพันกันกับคนประเภทไม่เคยทักทายใครก่อน รวมถึงรับรู้ "ความหมาย" ได้ไม่เต็มร้อย ซึ่งทั้งหมดนี้บ่งชี้ให้เห็นว่า หากคิดจะขับเคลื่อนผู้คน ก็ต้องรู้จักถ่ายทอดความใส่ใจควบคู่กับความหมาย
กิจวัตรที่ดี 4 ตอบอีเมลทันที
เวลาที่ได้รับคำตอบล่าช้าย่อมรู้สึกกังวลไม่มากก็น้อย ดังนั้นถึงแม้จะเป็นกรณีที่ให้คำตอบเดียวนั้นได้ยาก ก็ควร แจ้งในเบื้องต้นทันทีว่า "ขอเวลาไตร่ตรองสักนิด" เพื่อให้อีกฝ่ายคลายกังวล
นอกจากนี้ การตอบอีเมลทันทียังส่งผลถึงการยกระดับความน่าเชื่อถือด้วย ผมจึงอยากแนะนำให้สร้างนิสัย เช่น ถ้าไม่ตอบอีเมลทันทีแล้วจะรู้สึกหงุดหงิดพะว้าพะวัง เป็นต้น
กิจวัตรที่ดี 5 รู้จักเอาใจใส่ดูแลสุขภาพ
หากไม่ใช่เพราะกิจวัตรในชีวิตประจำวันเป็นตัวชี้วัดสุขภาพ คำว่าโรคที่เกิดจากการดำเนินชีวิตประจำวันก็คงไม่ถูกบัญญัติขึ้น เพราะฉะนั้น เราจึงความเอาใจใส่สุขภาพ เช่น กินอาหารให้ถูกสุขลักษณะ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เป็นต้น
เวลาสภาพร่างกายไม่พร้อม ความกระตือรือร้นย่อมไม่เกิดอีกทั้งยังอาจเป็นเหตุให้คนรอบข้างเป็นห่วงหรือสร้างความเดือดร้อนวุ่นวายแก่ผู้อื่นด้วย ดังนั้น สุขภาพร่างกายจึงเป็นเสมือนรากฐานของทุกสิ่ง ลองเริ่มจากเรื่องง่ายๆอย่างการขึ้นบันไดแทนบันไดเลื่อน หรือยืดเส้นยืดสายทุกเย็น เป็นต้น
กิจวัตรที่ดี 6 จัดข้าวของให้เป็นระเบียบ หยิบใช้แล้วต้องคืนกลับที่
การจัดโต๊ะทำงานให้เป็นระเบียบก่อนเริ่มงาน ถือเป็นอีกหนึ่งตัวแปรสำคัญที่ช่วยยกระดับประสิทธิภาพการทำงาน หลายครั้งที่ปัญหางานล่าช้าเกิดจากการใช้เวลาเตรียมตัวก่อนเริ่มงานนานเกินจำเป็นไม่ใช่เกิดจากระดับความว่องไวในการสะสางงาน ดังนั้นหากเตรียมทางเอาไว้ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้ ประสิทธิภาพการทำงานย่อมเพิ่มขึ้น
เมื่อมีของที่ไม่ต้องการใช้งานวางค้างอยู่บนโต๊ะ การหยิบฉวยหรือหาของจำเป็นย่อมต้องใช้เวลาเป็นธรรมดา แต่ถ้าฝึกเก็บข้าวของและอุปกรณ์ต่างๆให้เข้าที่อยู่เป็นนิจ ก็จะประหยัดเวลาในการหาได้มาก
กิจวัตรที่ดี 7 เขียน To Do List และจัดลำดับความสำคัญ
อย่าลืมว่า การรู้ตารางการทำงานและ To Do รวมถึงลงลงมือทำตามนั้นให้ครบถ้วน ก็สำคัญไม่ยิงหย่อนไปกว่าหัวข้ออื่นๆ
เริ่มจากกำหนดลำดับความสำคัญของ To Do (สิ่งที่สิ่งที่ต้องทำ) จากนั้นลงมือทำโดยเรียงตามลำดับในช่วงที่มีเวลาว่างจนสำเร็จเรียบร้อยไปทีละเรื่อง
คนที่รู้จักกำหนดลำดับความสำคัญขอของ To Do คือคนที่มีแบบแผนในการจัดการเวลา หรือพูดอีกอย่างว่า"บริหารเวลาเป็น" เคล็ดลับสำคัญคือ ไตร่ตรองให้ถ้วนถี่ว่าสิ่งนั้นควรใช้เวลาเท่าไร และควรทุ่มเวลาให้หรือไม่
กิจวัตรที่ดี 8 ยิ้มแย้มแจ่มใส
ฝึกปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นด้วยรอยยิ้มให้เป็นนิสัย เพียงเท่านี้ก็เรียกคะแนนความนิยมจากอีกฝ่ายได้มากโข อีกทั้งยังช่วยให้ดูเป็นคนน่าคบหาด้วย ในทางกลับกัน หากทำหน้ามุ่ยหน้าดุตลอดเวลาใครบ้างจะอยากเข้าใกล้
บุคคลระดับแนวหน้าส่วนใหญ่ล้วนมีหน้าตายิ้มแย้มเป็นมิตรส่วนบุคคลประเภททำหน้าดุข่มคนรอบตัวนั้น คือคนที่พยายามทำตัวกร่างเพื่อกลบความไม่มั่นใจของตนเอง
กิจวัตรที่ดี 9 อ่านหนังสือและศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม
คำว่า "อ่านหนังสือ"ในที่นี้หมายถึงการอ่านเพื่อศึกษาหาความรู้หรืออ่านเพื่อรู้ในสิ่งที่ยังไม่รู้
สาขาความรู้ที่ผมแนะนำคือ ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ เนื่องจากย่างก้าวในอดีตส่งอิทธิพลอย่างใหญ่หลวงต่อเศรษฐกิจ ปัจจุบัน สังคม ท่าทีของรัฐบาล วิถีการดำเนินชีวิตของผู้คน รวมถึงค่านิยม นอกจากนี้ การศึกษาเรื่องราวดังกล่าวยังส่งผลดีต่อการมองภาพรวมของปัจจุบันและอนาคต
อีกหนึ่งประโยชน์ที่จะได้รับจากการศึกษาประวัติศาสตร์คือได้รู้จักมุมมองหลากหลาย ขณะเดียวกัน การศึกษาวิถีชีวิตผ่านการอ่านก็เป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลย
กิจวัตรที่ดี 10 ประยุกต์และลดทอนเวลา
คนทำงานเก่ง หมายถึงคนที่มีผลิตภาพสูง ซึ่งจุดร่วมของคนเหล่านี้ก็คือรู้จักพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้นอยู่ตลอดเวลา ว่าแต่ถ้าอยากเป็นแบบนั้นบ้างต้องทำอย่างไร คำตอบไม่ยาก แค่ "ทำงานที่ต้องใช้ความพยายามมากพอควรอยู่เป็นนิจ" เพราะงานประเภทดังกล่าวก่อให้เกิดความรู้สึกคล้ายถูกความจำเป็นไล่กวดอยู่เสมอ จนต้องเสาะหาหนทางเพื่อให้งานนั้นสำเร็จลุล่วง
อะไรที่มากเกินไปมักไม่ส่งผลดีต่อการทำงาน ทว่าการมีงานรัดตัวกลับจะเป็นผลดีมากกว่า เนื่องจากยิงยุ่งเท่าไรก็ยิงต้องขบคิดหาทางทำให้ สำเร็จ
กิจวัตรที่ดี 11 การนำความรู้มาใช้
เราควรศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมโดยคำนึงถึงการนำความรู้ไปใช้ให้เป็นกิจวัตร หากไม่อินพุตโดยคำนึงถึงการเอาต์พุตเป็นสำคัญ ทักษะการคิดริเริ่มกับทักษะการแก้ปัญหาก็จะไม่เกิดตามมา สุดท้ายก็เป็นได้ แค่ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด
การเอาต์พุตที่ดีจะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อทำงานได้ดีขึ้นกว่าแต่ก่อน ความสนใจในสิ่งต่างๆก็จะยิ่งเพิ่มพูน และแน่นอนว่า หากอินพุตมากขึ้น ปริมาณการเอาค์พูดก็จะเพิ่มตามก่อให้เกิดวงจรด้านบวกตามมา
กิจวัตรที่ดี 12 ตื่นนอนแต่เช้า
ถ้าต้องการใช้เวลาให้คุ้มค่าก็ต้องตื่นนอนแต่เช้า ข้อดีของการตื่นไปทำงานแต่เช้าตรู่ยังมีมากมาย ไม่ได้เฉพาะเจาะจงแค่มีเวลาช่วงเช้ามากขึ้นเท่านั้น
คนทำงานเก่งส่วนใหญ่นิยมไปทำงานแต่เช้า เพราะช่วยให้พวกเขามีเวลาพูดคุยปรึกษากับเจ้านายหรือรุ่นพี่ รวมถึงมองเห็นว่าคนอื่น ๆ ที่มาทำงานทีหลังทำอะไรกันบ้าง
ถ้าจะให้ดีควรนอนหลับพักผ่อนให้ได้อย่างน้อยวันละ 7 ชั่วโมงด้วย เพื่อให้ร่างกายฟื้นฟูตนเองจากความเหนื่อยล้า อีกทั้งยังยังเป็น การถนอมรักษาสุขภาพด้วย พยายามเลี่ยงการทำงานล่วงเวลาโดย ไม่จำเป็นและการดื่มสังสรรค์ให้ได้มากที่สุด ฝึกเข้านอนแต่หัวค่ำและตื่นเช้าให้เป็นนิสัย
กิจวัตรที่ดี 13 ทัศนคติเชิงบวก
แนวคิดก็ถือเป็น "กิจวัตร"รูปแบบหนึ่ง ซึ่งแนวคิดแบบหลักๆ ที่รู้จักกันดีประกอบด้วย "ทัศนคติเชิงบวก" กับ "ทัศนคติเชิงลบ"บางคนมีนิสัยชอบคิดสิ่งต่างๆ ในเชิงบวกและชอบแสดงความเห็นพ้อง ส่วนบางคนมองอะไรก็คิดในเชิงลบเอาไว้ก่อนและชอบตั้งท่าปฏิเสธไม่ต้องบอกก็คงรู้ว่า คนที่มีทัศนคติเชิงบวกจะประสบความสำเร็จมากกว่า
ทัศนคติเชิงบวก ได้แก่ มองจุดดีของผู้อื่นแล้วเอ่ยชม ค้นหาเหตุผลในการดำเนินงานและวิธีการที่ทำได้เมื่อมีโปรเจ็กต์ใหม่ ไม่ใช่หาเหตุผลเพื่อจะได้ไม่ต้องทำ
สำหรับคนที่มีทัศนคติเชิงลบ ควรลองปรับเปลี่ยนและหันมาฝึกมองด้านดีของเรื่องราวหรือผู้อื่นให้เป็นนิสัย โดยใช้หนังยางเรียกสติ ที่ผมกล่าวถึงในหน้า 151 เป็นตัวช่วย
กิจวัตรที่ดี 14 สร้างความเบิกบาน
คนประสบความสำเร็จคือคนที่รู้จักสร้างความเบิกบานใจให้ผู้อื่นเนื่องจากพวกเขาชื่นชอบการได้เห็นผู้คนรอบข้างปีติยินดี หรือจะพูดว่าประสบความสำเร็จเพราะรู้จักเคล็ดลับสร้างความปีติให้ผู้อื่นก็คงไม่ผิดนัก
การฝึกเอาใจใส่จิตใจของอีกฝ่ายให้เป็นนิสัย คือหนทางสู่ความสำเร็จทั้งในฐานะเพื่อนร่วมโลกและในการทำงาน
ป.ล. เพื่อนๆ สามารถติดตามกระทู้อื่นๆ ได้ที่
https://page.postjung.com/n00kky
อ้างอิงจาก: หนังสือ 11 ทักษะเปลี่ยนมือใหม่ให้เป็นมืออาชีพ เขียนโดย โคมิยะ คาสุโยชิ