โวหารภาพพจน์
ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ของชาติ เป็นสมบัติทางวัฒนธรรม อันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพและเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจ เป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ ประสบการณ์จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศต่างๆ เพื่อพัฒนาความรู้ กระบวนการคิดวิเคราะห์ วิจารณ์ และสร้างสรรค์ การใช้ภาษาไทยเป็นทักษะที่ต้องฝึกฝนจนเกิดความชำนาญในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารทางการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน อีกทั้งภาษาไทยมีความสําคัญต่อสังคมไทยคนไทยจําเป็นต้องตระหนักถึงความสําคัญของภาษาไทย ต้องทําความเขาใจ ศึกษาหลักเกณฑ์ทางภาษาและฝกฝนใหเกิดทักษะการฟัง การดู การพูด การอ่าน และ การเขียนภาษาไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อนําไปใช้ในการสื่อสาร การเรียนรู้ การแสวงหาความรู้ การเสริมสรางความเขาใจอันดีตอกัน เช่นเดียวกับ
โวหารภาพพจน์ที่เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสื่อสารที่ทำให้ข้อความมีความหมายมากขึ้น และสามารถกระตุ้นอารมณ์ ความคิด และจินตนาการของผู้รับสารโวหารภาพพจน์มีบทบาทสำคัญในการเขียนวรรณกรรม บทกวี บทความ และการพูดที่ต้องการสร้างความประทับใจแก่ผู้รับสาร
1.อุปมา
คำสังเกต=เปรียบเหมือน เหมือน,ดัง,เทียบ,ดุจ
เสมอ,ราวกับ เช่น
สูงระหงทรงเพรียวเรียวลูด งามละม้ายกล้ายอูฐกะหลาป๋า
พิศแต่หัวจรดเท้าขาวแต่ตา สองแก้มกัลยาดังลูกยอ
อุปมาไม่ได้มีแต่ในภาษากาพย์กลอนเท่านั้นในร้อยแก้วก็มีอุปมาเช่นกัน ตัวอย่างเช่น
“… ข้าพเจ้ารีบเดินดุ่มๆไม่เหลียวหลังผ่านไปในระวางละแวกบ้านมองดูข้างหน้าในเวลาฟ้าขาวจวนจะสว่างเห็นถนนหนทางนอกเมืองดูว้าเหว่ทอดยาวยืดไปไกลลิบลับดู ประหนึ่ง ว่าจะไม่มีเขตสุดลงไปฉะนั้น …”
( กามนิต – เสฐียรโกเศศและนาคะประทีป)
2.อุปลักษณ์
คำสังเกต=เปรียบเป็น ,เป็น, คือ
อันเทริญนั้นคือมัจจุราช จะหมายมาดเอาชีวิตริศยา
แล้วเสแสร้งแกล้งทำบีบน้ำตา อนิจจาใจหายเจียวสายใจ
3.บุคคลวัต ทำให้เป็นมนุษย์
บางครั้งมันบ้าบิ่น เห็นลมคลื่นแห่จูบหิน
นอกจากนี้บุคคลวัตอาจจะใช้เป็นบางส่วนของเนื้อเรื่องหรือของข้อความแต่ในบางครั้งอาจจะใช้เป็นโครงเรื่องก็ได้ อย่างเช่นเรื่อง
“ อัวรานางสิงห์ ” ที่ให้อัวราแสดงเป็นตัวแทนของคนๆ หนึ่งซึ่งมีพฤติกรรมฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ของสังคมจนในที่สุดก็ต้องตายด้วยหัวใจสลาย
4.อติพจน์
การกล่าวเกินจริง เช่น
รถเอยรถที่นั่ง บุษบกบัลลังก์ตั้งตระหง่าน
กว้างยาวใหญ่เท่าเขาจักรวาฬ ยอดเยี่ยมเทียมวิมานเมืองแมน
ดุมวงกงหันเป็นควันคว้าง เทียมสิงห์วิ่งวางข้างละแสน
สารถีขี่ขับเข้าดงแดน พื้นแผ่นดินกระเด็นไปเป็นจุณ
นทีตีฟองนองระลอก คลื่นกระฉอกกระฉ่อนชลข้นขุ่น
เขาพระเมรุเอนเอียงอ่อนละมุน อานนท์หนุนดินดานสะท้านสะเทือน
ทวยหาญโห่ร้องก้องกัมปนาท สุธาวาศไหวหวั่นลั่นเลื่อน
บดบังสุริยันตะวันเดือน คลาดเคลื่อนจตุรงค์ตรงมา
( รามเกียรติ์ – รัชกาลที่ ๒)
บทที่กล่าวมานี้ถ้าพิจารณาตามหลักความเป็นจริงแล้วจะหาความจริงไม่ได้เลยเพราะจะไม่มีรถที่ไหนจะใช้สิงห์เทียมได้ถึง ๑แสนตัว หากเทียมได้สนามรบก็คงใหญ่ กว่าสนามหลวง
เป็นสิบเท่าแม้แต่น้ำในมหาสมุทรก็คงจะขุ่นไม่ได้หากไม่มีคลื่นยักษ์เกิดขึ้นแบบสึนามิดังนั้นบทกลอนที่กล่าวมาจึงอุดมไปด้วยอติพจน์เป็นอย่าง
5.นามนัย
ใช้คำบ่งบอกลักษณะหรือคุณสมบัติของสิ่งนั่นมาเรียกแทน
ในบางครั้งเราใช้นามนัยจนเคยชินและกลายเป็นส่วนหนึ่งของภาษาในชีวิตประจำวันไปโดยไม่คาดคิดว่าคำหรือวลีเหล่านั้นเป็นภาพพจน์ เช่น
หนุ่มหน้าหยก=ชายหนุ่มผิวขาวเกลี้ยงเกลา
ดาวค้างฟ้า=นักแสดงที่อยู่ในความนิยมยาวนาน
คือการนำส่วนน้อยหรือส่วนย่อยที่เห็นเด่นชัดมากล่าวโดยหมายถึงส่วนทั้งหมด เช่น กรุงเทพฯคือประเทศไทย เพชรบุรีเมืองคนดุ
นามนัยและอนุนามนัย เป็นภาพพจน์ที่ใช้เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้คำธรรมดา ซ้ำซาก มาใช้คำสั้นๆ ที่บอกจุดเด่นของสิ่งนั้นได้ โดยผู้ส่งสารไม่ต้องเสียเวลาอธิบายและทำให้ผู้รับสารมองเห็นภาพได้ทันที
หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน🙏🏻