โรคหลอกตัวเอง โกหกตัวเอง หรือ โรคโกหกเป็นนิสัย (Pathological Lying) การโกหก ก็เป็นโรคได้
โรคหลอกตัวเอง โกหกตัวเอง หรือ โรคโกหกเป็นนิสัย (Pathological Lying) เป็นสัญญาณความผิดปกติของภาวะสุขภาพจิตที่แฝงอยู่ ผู้ที่มีภาวะนี้ไม่ได้มีจุดประสงค์ที่ชัดเจน และไม่ได้รับผลประโยชน์อะไรเลยจากการโกหก ผู้ที่มีภาวะนี้ ไม่ได้สนใจผลที่ตามมาจากการโกหก เพียงแต่ห้ามไม่ได้ที่จะโกหก มักมีพฤติกรรมพูดโกหกบ่อย ๆ ประจำ จนติดเป็นนิสัย โกหกกระทั้งเรื่องเล็กน้อย ซึ่งการโกหกมักทำต่อเนื่อง ยาวนาน เป็นประจำ ทำโดยไม่จำเป็นก็ตาม มักจะโกหก เพื่อสร้างตัวตนใหม่ขึ้นมา อย่างเช่น การโกหกว่าได้ทำงานบริษัทใหญ่ ๆ หรือ การได้ไปเที่ยวต่างประเทศทุกเดือน
พฤติกรรมพูดโกหกในลักษณะนี้จะกระทบต่อสัมพันธภาพ ทำให้เสียมิตรภาพ ความสัมพันธ์ และความไว้เนื้อเชื่อใจ หากเป็นผู้นำก็จะทำให้สูญเสียความเชื่อมั่นต่อสาธารณะชน เนื่องจากการพูดโกหกบ่อยนับครั้งไม่ถ้วน
สาเหตุของโรค
- โกหกเพราะต้องการลดความเครียด ความวิตกกังวล หรือความเจ็บปวดในการเผชิญหน้ากับสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นในชีวิต
- โกหกเพราะต้องการความเห็นใจ เป็นปมบาดแผลทางใจที่เคยถูกทำร้ายในวัยเด็ก บางครั้งมักเล่นเป็นบทเหยื่อเพื่อให้ผู้อื่นเห็นใจในทุกสถานการณ์
- โกหกเนื่องจากสาเหตุของโรคบุคลิกภาพบกพร่อง อย่างเช่น โรคต่อต้านสังคม (Anti-social personality disorder) โรค borderline หรือ narcissistic personality disorder (NPD) การโกหกจะไม่สนว่าคนอื่นจะรู้สึกอย่างไร หรือมีผลกระทบจากการโกหกนี้อย่างไร จะสนใจเพียงความรู้สึกของตัวเอง เป็นการแสดงออกแบบเห็นแก่ตัว
- โกหกเพราะต้องการให้อีกฝ่ายเห็นเฉพาะสิ่งที่ตัวเองสร้างให้เห็นเช่นนั้น เพื่อต้องการควบคุมจิตใจผู้อื่น ทำให้รู้สึกมีอำนาจเหนือคนอื่น เมื่อมีคนเชื่อก็จะสามารถควบคุมชีวิตคนอื่นได้ อย่างเช่น คนที่เป็นโรค narcissistic personality disorder (NPD) ใช้การโกหกเป็นเครื่องมือเพื่อครอบงำจิตใจและควบคุมผู้อื่น
การโกหกแบบไหนถือว่าเป็น Pathological Lying
- การโกหกบ่อย โดยโกหกมากกว่าคนส่วนใหญ่ อาจสร้างเรื่องราวที่ฟังดูจริงมากพอที่คนอื่นจะเชื่อ จากนั้นก็โกหกเพิ่มเพื่อสำรองการโกหกเดิม คำโกหกที่เล่านั้นอาจดูแปลก และพิสูจน์หักล้างได้ง่ายเช่นกัน
- โกหกแบบไม่มีเหตุผล การโกหกของผู้ที่มีภาวะนี้ จะแตกต่างจากการโกหกที่คนส่วนใหญ่ เพราะจะไม่มีเหตุผล จุดประสงค์ และผลประโยชน์ใด ๆ เลย สำหรับ Pathological Liars จะเล่าเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง และเรื่องนั้นอาจมาทำร้ายตัวเขาเอง เมื่อความจริงปรากฏ
การรักษา
การรักษาภาวะนี้ค่อนข้างซับซ้อน เนื่องจาก ไม่สามารถใช้ยาในการรักษาได้ ทางเลือกที่ดีที่สุดคือ การรักษาโดยจิตบำบัด แต่ปัญหาก็คือ ผู้ป่วยบางรายอาจไม่สามารถควบคุมการโกหกของตัวเองได้ และโกหกไปเรื่อย แทนที่จะพูดปัญหาโดยตรงกับนักบำบัด
การรักษาแบบ CBT (Cognitive Behavioral Therapy) เป็นการรักษาที่เน้นการปรับพฤติกรรม โดยคาดการว่า การโกหกอาจเกิดจากปมในใจ การรักษานี้อาจช่วยให้รู้สึกถึงข้อดีที่มีอยู่ในตัวเอง รู้สึกภาคภูมิใจในตัวเองมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลดลงของพฤติกรรมการโกหก
การรักษาด้วยจิตบำบัด EMDR ส่วนใหญ่การรักษาโรคโกหก ผู้เชี่ยวชาญจะแนะนำให้ทำจิตบำบัดเพื่อรักษาปมบาดแผลทางใจ หรือ Post-traumatic stress disorder (PTSD) เพราะมักเกี่ยวเนื่องกับปัญหาด้านสุขภาพจิต ที่มีสาเหตุมาจาก Post-traumatic stress disorder หรือ PTSD, bipolar (BPD) และอื่น ๆ
จิตบำบัด EMDR หรือ EMDR Therapy เป็นจิตบำบัดที่ได้รับการยอมรับในวงการทางการแพทย์สากลทั่วโลก ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาให้การยอมรับว่าได้ผลที่มีประสิทธิภาพดีและไวต่อต่อการรักษา PTSD หรือปมบาดแผลทางใจ การรักษาจะได้ผลดียิ่งขึ้นหากได้รับการทำจิตบำบัดEMDR ควบคู่กับการทำจิตบำบัดอย่างอื่น อย่างเช่น CBT หรือ Cognitive Behavioral Therapy เพื่อช่วยในการปรับพฤติกรรม และความคิด พัฒนาความคิด และพฤติกรรมให้ดีขึ้น เสริมความแข็งแรงด้านจิตใจ เพื่อเข้าไปแทนที่ความคิดและพฤติกรรมเดิมที่เป็นปัญหา