มลพิษ ทำคนโง่ลงจริงหรือไม่
มลพิษคุกคามสมองเราอย่างไร
มีงานวิจัยหลายตัวที่วิจัย คาร์บอนไดออกไซด์ อากาศที่ทำให้โลกร้อน ในปี 2015 เคยมีการศึกษาพบว่าปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในตึก อาจมีผลต่อการทำงานของสมองได้
ศึกษาในปี 2016 ที่พบว่าแม้เพิ่มระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในตึกให้เข้มข้นถึง 3,000 ส่วนต่อล้านส่วน ซึ่งมากกว่าระดับคาร์บอนไดออกไซด์นอกตึก (หรือกลางแจ้ง) ในปัจจุบันถึง 7 เท่าคนที่เข้าทดลองก็บอกว่าสมองทื่อลงคิดอะไรไม่ค่อยออก แถมมีอาการง่วงเพลีย เวียนหัวร่วมด้วย
อย่างไรก็ดี คาร์บอนไดออกไซด์ที่ทำให้เกิดอาการไม่ใช่ตัวคาร์บอนไดออกไซด์ที่เราหายใจออกมา แต่เป็นคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีก๊าซอื่นๆ เจือปน
ในที่ประชุมสหภาพธรณีฟิสิกส์อเมริกัน ปี2019 ก็มีการสรุป การที่เรามีประสิทธิภาพทางความคิดสติปัญญาและความสามารถลดลง เกิดจากคาร์บอนไดออกไซด์ปะปนกับการหายใจ
ในศตวรรษที่ผ่านมาคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวเป็นประวัติการณ์สอดคล้องกับการใช้ชิวิตในวิถีมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นควันจากท่อไอเสีย เผาขยะ ทำงานในออฟฟิศที่ผู้คนแออัดและไม่มีต้นไม้ การใช้เชื้อเพลิงต่างๆ ทุกอย่างล้วนแล้วแต่เพิ่มคาร์บอนที่ทำให้เราโง่ลง
จากข้อมูลองค์การอนามัยโลก ระบุ 9ใน10 ของอากาศที่เราหายใจส่วนใหญ่เป็นมลพิษ และคนบนโลกก็สูดเอามลพิษนั้นเข้าสู่ร่างกาย ทวีปที่โดนปัญหานี้ที่สุดคือ ทวีปแอฟริกาและเอเชีย
สรุปคร่าวๆคือ ความสัมพันธ์คาร์บอนไดออกไซด์กับสมองมนุษย์ คือทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ทุกๆปีมีคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นมลพิษเพิ่มมากขึ้น ทำให้มีการคาดคะเนว่าอีก70-80ปีข้างหน้าว่าสมรรถภาพในการเรียนรู้ลดลงได้ถึงราว 25% แล้วถ้าเป็นการทำงานซับซ้อนหรือยาก ก็อาจลดลงได้ถึง 50% น่ันคือลดลงถึงครึ่งหนึ่งทีเดียว