ย้อนรอยโศกนาฏกรรมแสนเศร้าเบื้องหลังภาพถ่าย “ชายผู้ไม่ยอมทำท่าเคารพนาซี”
ย้อนรอยอดีตความกล้าหาญของผู้ที่มีอุดมการณ์ไม่เกรงกลัวต่ออำนาจอิทธิพลเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในสมัยสงครามโลกสมัยที่นาซีฮิตเลอร์เรืองอำนาจผู้ชายที่ไม่ยอมก้มหัวให้กับทหารนาซีเขาคือใครและมีที่มาที่ไปอย่างไร ย้อนรอยโศกนาฏกรรมแสนเศร้าเบื้องหลังภาพถ่าย “ชายผู้ไม่ยอมทำท่าเคารพนาซี”
บทความนี้ทำมาเพื่อสาระความรู้และบันเทิงไม่ได้มีเจตนาอย่างอื่นส่วนใครจะคิดอะไรก็คิดไปเพราะมันเป็นเสรีภาพทางความคิดของคุณแต่อย่าไปก้าวก่ายหรือเบียดเบียนคนอื่นพอ
อยากรู้แล้วใช่ไหมครับเข้ามาเลยครับเข้ามาอ่านกันเลย
◕‿- เบื้องหลังภาพถ่าย “ชายผู้ไม่ยอมทำท่าเคารพนาซี” กับโศกนาฏกรรมที่แสนเศร้า ◕
นี่คือเรื่องราวของชายผู้ไม่แสดงความเคารพต่อท่านผู้นำแห่งพรรคนาซี ชายในรูปมีชื่อว่า “ออกัส แลนเมสเซอร์” ภาพถ่ายของเขากลายเป็นส่วนหนึ่งของหน้าประวัติศาสตร์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
จากภาพ จะเห็นได้ว่านายออกัสเป็นชาวเยอรมันเพียงคนเดียวที่ปฏิเสธการแสดงความเคารพต่อผู้นำนาซีเยอรมันในขณะนั้นอย่าง อดอลฟ์ ฮิตเลอร์ ซึ่งในยุคนั้น น้อยคนมากที่หาญกล้าจะแสดงออกเช่นนั้น เพราะบางครั้งการขัดขืนอาจหมายถึงความตาย!!
ภาพดังกล่าวถูกถ่ายขึ้นราวปี 1936 ก่อนถูกนำมาเผยแพร่ในปี 1991 ถ่ายจากงานปล่อยเรือ ‘Horst Wessel’ ซึ่งฮิตเลอร์เข้าร่วมในงานครั้งนี้ด้วย ภาพนี้ถูกชี้ตัวว่าคือนายออกัส โดยไอลีน เอ็คเลอร์ ลูกสาวคนเล็กของเขาในปี 1996 พร้อมทั้งเปิดเผยเรื่องราวที่น่าเศร้าของครอบครัวในหนังสือเรื่อง A family torn apart by ‘Rassenschande’
ออกัส แลนเมซเซอร์ เกิดในปี 1910 ที่เมืองฮัมบูร์ก ทำอาชีพเป็นช่างต่อเรือ เขาสมัครเข้าร่วมพรรคนาซีเพียงเพื่อหวังถึงความก้าวหน้าในอาชีพการงานมากกว่าความศรัทธา แต่หลังจากนั้นเขาก็ได้พบกับหญิงชาวยิวชื่อ ไอร์มา เอ็คเลอร์ แน่นอนว่าการแต่งงานกันเป็นเรื่องต้องห้าม ซึ่งออกัสได้พยายามยื่นสิทธิ์เรียกร้องความเป็นธรรมแล้ว แต่ก็ไม่สำเร็จ และนี่คือจุดเริ่มต้นของโศกนาฏกรรมแสนเศร้า
ออกัสและไอร์มา แต่งงานโดยไม่ได้รับการรับรองจากกฎหมายของเยอรมันที่ห้ามคนเชื้อสายเยอรมันแต่งงานกับคนยิว ทั้งคู่ใช้ชีวิตร่วมกันจนมีทายาทด้วยกันสองคนคือ อินกริด และ ไอลีน
เนื่องจากทั้งคู่ฝ่าฝืนกฎหมายที่ต้องการรักษาสายเลือดเยอรมันให้บริสุทธิ์ ออกัสและไอร์มาถูกจับกุมในปี 1938 ออกัสถูกแยกตัวไปใช้แรงงานในค่ายกักกันเบอร์เก้นมอร์เป็นเวลา 2 ปี ในขณะที่ไอร์มา เป็นชาวยิวจึงถูกส่งไปค่ายแรงงานที่ราเวนบรั๊ค ณ ที่แห่งนั้น เธอถูกรมแก๊สจนเสียชีวิตในการประหารชาวยิวในปี 1942
อินกริด ลูกสาวคนโตถูกส่งไปอยู่กับย่า เนื่องจากเธอเกิดก่อนที่กฎนูเรมเบิร์ก (Nuremberg Laws) จะมีผลบังคับใช้ เธอจึงถูกถือว่าเป็นลูกครึ่งยิว
ยังสามารถอยู่กับย่าที่เป็นเยอรมันแท้จนสงครามสิ้นสุด ในขณะที่ไอลีนลูกสาวคนเล็ก เธอเกิดหลังจากกฎนูเรมเบิร์กมีผลบังคับใช้ และถูกถือว่าเป็นชาวยิว ทำให้เธอถูกส่งไปบ้านเด็กกำพร้า จนเกือบเสียชีวิตจากการถูกรมแก๊สพิษ เออร์วิล โปรสเกาเออร์ แรงงานชาวยิวรับเธอเป็นบุตรบุญธรรม จนกระทั่งเธอมีชีวิตรอด และชี้ตัวพ่อบังเกิดเกล้าของเธอในรูปภาพดังกล่าว
ออกัสถูกปล่อยตัวจากการขุมขังในปี 1941 พร้อมกับชีวิตที่แหลกสลาย สูญเสียคนรัก และไม่เคยได้มีโอกาสหวนกลับไปพบหน้าลูกที่พลัดพรากอีกเลย
จนกระทั่งในปี 1944 ออกัสถูกเกณฑ์เป็นทหาร แต่เนื่องจากประวัติและความผิด ในอดีตทำให้เขาถูกส่งไปอยู่ในหน่วยรบ 999th For Infantry Battalion ซึ่งเป็นหน่วยรบที่รวบรวมผู้กระทำความผิดต่างๆ มาอยู่รวมกันในหน่วยที่มักจะเป็นแนวหน้าในการทำภารกิจเสี่ยงตายสูง
สุดท้าย ออกัส แลนเมซเซอร์ หายสาปสูญในสงคราม หรืออาจกล่าวได้ว่าเขาเสียชีวิตในสนามรบ จนกระทั่งมีประกาศการเสียชีวิตอย่างเป็นทางการในปี 1949 ปิดตำนานที่น่าเศร้าของชายที่ไม่แสดงความเคารพต่อพรรคนาซี....
อ่านไม่จนถึงบรรทัดสุดท้ายมันก็เป็นความพอใจและเป็นสิทธิเสรีภาพของบุคคลคนนี้ที่จะไม่ยอมทำความเคารพต่อสิ่งที่ตัวเองคิดว่าไม่ถูกต้องใช่ไหมครับไม่ต่างอะไรกับสังคมปัจจุบันจะมาบังคับให้คนนู้นคนนี้ต้องการว่าจะเคารพในสิ่งที่ตัวเองไม่ชอบไม่ได้มันคือเสรีภาพในการเลือกปฏิบัติของแต่ละบุคคล
ภาพจาก google search