นกกระเรียน1,000ตัว
นกกระเรียน 1,000 ตัว
หลายๆคนคงเคยได้ยิน ตำนานนกกระเรียนพันตัวที่ประเทศญี่ปุ่น แต่ทุกคนเคยรู้ประวัติของสิ่งนั้นกันไหมคะ?
นกกระเรียน
ศิลปะการพับกระดาษที่เรียกว่าโอริกามิ 折り紙 (origami) ของญี่ปุ่นเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลก 1 ในสิ่งที่นิยมพักกันก็คือรูปนกกระเรียน นกกระเรียนหรือที่ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า ซึรุ 鶴 (tsuru) ถือเป็นสัตว์มงคลของญี่ปุ่น คู่กับเต่า เนื่องจากเป็นสัตว์ที่แข็งแรงและอายุยืนทั้งคู่
ว่ากันว่าคนญี่ปุ่นพับนกกระเรียนมากกว่า 500 ปีแล้ว แต่การพับนกกระเรียนเริ่มมีความหมายพิเศษมากขึ้น เมื่อมีเด็กหญิงชั้นมัธยมต้นชื่อว่า ซาซากิ ซาดาโกะ (佐々木貞子) ซึ่งเป็นหนึ่งในเหยื่อระเบิดปรมาณูเมื่อครั้งที่สหรัฐอเมริกาทำสงครามถล่มเมืองฮิโรชิมา เมื่อเดือนสิงหาคมปี 1945
ซาดาโกะเพียรพยายามพับนกกระเรียนตัวแล้วตัวเล่า พร้อมทั้งตั้งจิตอธิษฐานขอให้หายป่วยจากโรคร้าย ที่เป็นผลพวงจากกัมมันตรังสีในครั้งนั้น แม้คำอธิษฐานของเธอจะไม่สัมฤทธิ์ผล
แต่หลังจากการเสียชีวิตของเธอก็มีการสร้างอนุสาวรีย์รูปเด็กผู้หญิงขึ้น ที่บริเวณลานอนุสาวรีย์แห่งสันติภาพที่เมืองฮิโรชิมาในปี 1958 เพื่อเลือกกล่องสันติภาพให้แก่โลกและนำนกกระเรียนกระดาษร้อยเป็นพวงแขวนไว้ข้างอนุสาวรีย์นั้นจนเป็นที่รู้จักกันไปทั่วโลก
นับแต่นั้นมาคนญี่ปุ่นก็นิยมพับนกกระเรียนนำมาร้อยเป็นสาย 20 สาย สายละ 50 ตัวรวมเป็น 1,000 ตัวแล้วมัดรวมกันเป็นพวงนำไปมอบให้แก่ญาติมีที่เจ็บป่วยหรือกำลังโศกเศร้าเพื่อปลอบประโลมและให้กำลังใจ
นกกระเรียน 1,000 ตัวนี้รู้จักกันดีในชื่อภาษาญี่ปุ่นว่าเซมปะซึรุ (千羽 鶴)
นอกจากนกกระเรียนจะเป็นสัญลักษณ์แห่งความแข็งแกร่งและอายุยืนแล้วความเพียรพยายามพับนกกระเรียนจำนวนมากมายขนาดนี้ก็แสดงถึงความปรารถนาดีที่ผู้มอบมีให้ได้เป็นอย่างดี
เซมปะซึรุ จึงกลายเป็นสิ่งปลอบขวัญอย่างหนึ่งที่มอบให้แก่ผู้ที่ต้องการกำลังใจตราบจนถึงทุกวันนี้
หากผิดพลาดประการใดก็ขออภัยด้วยนะคะ🙏
กลับมาแล้วนะคะ หลังจากห่างหายจากการเขียนกระทู้ไปนานมากๆ
ครั้งนี้กลับมาพร้อมตำนานนกกระเรียนพันตัวของประเทศญี่ปุ่น เป็นเรื่องราวที่น่าเศร้าและหดหู่ใจมากๆค่ะ แอดมินเขียนไปน้ำตาซึมไปเลยค่ะ🥺
เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นถึงอะไรหลายๆอย่าง เช่น ความอ่อนโยนและความปรารถนาดีของคนญี่ปุ่น ซึ่งการพับนกกระเรียน สำหรับบางคนไม่ง่ายเลยนะคะ😆 แต่พวกเค้าก็พยายามพับร้อยเชือกให้ครบ1,000ตัวจนได้ 💕
อนุสาวรีย์แห่งสันติภาพฮิโรชิมา ตั้งอยู่ใกล้จุดศูนย์กลางการระเบิดมากที่สุดของระเบิดปรมาณูและเป็นสัญลักษณ์แห่งความหวังในสันติภาพและการต่อต้านการใช้อาวุธปรมาณู
เมืองฮิโรชิมะจังหวัดฮิโรชิมา
สาระเพิ่มเติม
(ประวัติการทิ้งระเบิดปรมาณู)
การทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ เป็นการโจมตีจักรวรรดิญี่ปุ่นด้วยอาวุธนิวเคลียร์ของสหรัฐอเมริกาเมื่อปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยคำสั่งของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาแฮร์รี่เอส ทรูแมนเมื่อวันที่ 6 สิงหาคมและวันที่ 9 สิงหาคมพ.ศ 2488 หลังจากการโจมตีทิ้งระเบิดเพลิงตามเมืองต่างๆทั้งหมด 67 เมืองของญี่ปุ่นอย่างหนักหน่วงเป็นเวลาติดต่อกันถึง 6 เดือนสหรัฐอเมริกาจึงได้ตัดสินใจทิ้งระเบิดปรมาณูหรือที่เรียกในปัจจุบันว่าระเบิดนิวเคลียร์ซึ่งมีชื่อเล่นเรียกว่า"เด็กน้อย"หรือ little boy ในเมืองฮิโรชิมาในวันจันทร์ที่ 6 สิงหาคมพ.ศ 2488 (ตรงกับยุคโชวะที่20) ตามด้วย"ชายอ้วน"หรือ fat man ลูก ที่ 2 ใส่เมืองนางาซากิ โดยให้จุดระเบิดที่ระดับสูงเหนือเมฆเล็กน้อยนับเป็นระเบิดนิวเคลียร์เพียง 2 ลูกเท่านั้นที่นำมาใช้ในประวัติศาสตร์การทำสงคราม
การระเบิดทำให้มีผู้เสียชีวิตที่ฮิโรชิมะ 140,000 คนและที่นางาซากิ 80,000 คนโดยนับถึงปลายปีพ.ศ 2488
จำนวนคนที่เสียชีวิตทันทีในวันที่ระเบิดลงมีจำนวนประมาณครึ่งหนึ่งของจำนวนที่กล่าวนี้ และในระยะต่อมาก็ยังมีผู้เสียชีวิตด้วยการบาดเจ็บหรือจากการรับสารกัมมันตรังสีที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากการระเบิดอีกนับหมื่นคน (ผู้เสียชีวิตเกือบทั้งหมดในทั้งสองเมืองเป็นพลเรือน)
หลังจากการทิ้งระเบิดลูกที่ 2 เป็นเวลา 6 วันญี่ปุ่นประกาศตกลงยอมแพ้สงครามต่อฝ่ายพันธมิตรเมื่อวันที่ 15 สิงหาคมพ.ศ 2488
และลงนามในตราสารประกาศยอมแพ้สงครามมหาสมุทรแปซิฟิกที่นับเป็นการยุติสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างเป็นทางการในวันที่ 2 กันยายนพ.ศ 2488
การทิ้งระเบิดทั้ง 2 ลูกดังกล่าวมีส่วนทำให้ประเทศญี่ปุ่นต้องยอมรับหลักการ 3 ข้อว่าด้วยการห้ามมีอาวุธนิวเคลียร์