หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

11 คำถามที่ต้องถามตัวเองก่อนตัดสินใจเริ่มธุรกิจ

เนื้อหาโดย machete007

 

สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าเจ้าของธุรกิจนั้นอาจจะไม่เหมือนกับคนที่ทำงานประจำ ฉะนั้นอยากให้ทุกคนที่มีความฝันหรือตั้งใจจะออกมาทำธุรกิจของตัวเองได้ลองตั้งคำถามเหล่านี้กับตัวเองก่อน

 

1.ทำไมเราต้องเริ่มทำธุรกิจของตัวเอง ทุกคนที่อยากเป็นเจ้าของธุรกิจ อาจไม่ใช่คนที่เหมาะกับการเป็นเจ้าของธุรกิจ คำถามแรกที่อยากให้ถามตัวเองเลยก็คือ ทำไมเราต้องเริ่มทำธุรกิจของตัวเอง?

เพราะ...เราอยากได้รายได้ที่มากขึ้นกว่าปัจจุบัน?

เราเห็นเพื่อนทำธุรกิจแล้วประสบความสำเร็จเลยอยากเป็นแบบนั้นบ้าง? เราอยากมีเวลาเป็นอิสระ อยากไปไหนมาไหนก็ได้? เราเบื่อกับการทำงานเป็นลูกน้องที่ต้องคอยมีปัญหากับหัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงานตลอด? เราอยากหาอาชีพเสริมเพิ่มเติมจากงานประจำ?

 

  1. เราพร้อมจะอยู่กับสิ่งนี้เป็นเวลาหลายปีหรือเปล่า

เวลาเราทำงานประจำแล้วไม่ชอบงานหรือไม่ชอบเพื่อนร่วมงาน เรายังมีโอกาสที่จะลาออกไปหางานใหม่ได้ตลอด แต่เมื่อไหร่ที่เราตัดสินใจมาเป็นเจ้าของธุรกิจแล้ว เราไม่สามารถลาออกจากธุรกิจของตัวเราเองได้ เว้นแต่เราจะตัดสินใจปิดธุรกิจของเราเพราะขาดทุนหรือไม่อยากทำต่อแล้ว แต่นั่นก็หมายถึงเงินลงทุนที่เราลงไปทั้งหมดก็จะหายวับไปกับตา รวมถึงทีมงานที่อยู่กับเราก็จะต้องตกงาน

ก่อนที่เราจะตัดสินใจเริ่มต้นธุรกิจอะไรก็ตาม ไม่อยากให้คิดถึงแต่ตอนเริ่มธุรกิจที่ดูจะมีแต่ความสนุก ตื่นเต้นกับสิ่งใหม่ ๆ ที่ต้องเจอเพียงอย่างเดียว อยากให้คิดถึงวันที่เราต้องอยู่เฝ้าร้านเป็นปี ๆ

โดยไม่ได้ออกไปเจอเพื่อน อยากให้คิดถึงวันที่เราไม่มีลูกค้าเลย วันที่เรารู้สึกอิ่มตัวกับธุรกิจที่กำลังทำอยู่แล้ว เพราะการทำธุรกิจไม่ได้มีแต่ช่วงเวลาที่มีความสุขเสมอไป

 

 

  1. เรามีความรู้ความเข้าใจในการทำธุรกิจมากน้อยแค่ไหน การเป็นเชฟที่เก่งไม่ได้การันตีว่าจะทำธุรกิจร้านอาหารได้ดี การเป็นหมอที่เก่งก็อาจไม่ใช่เจ้าของคลินิกที่ประสบความสำเร็จเสมอไป เพราะขึ้นชื่อว่าธุรกิจมันไม่ได้มีแต่เรื่องสินค้าและบริการ

แต่ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ประกอบกันอีกมากมาย

ต่อให้เราจะทำสินค้าได้ดีแค่ไหน แต่ถ้าเราไม่สามารถบริหารทีมงานให้ทำงานแทนเราได้ เราไม่รู้วิธีการทำการตลาดออนไลน์เพื่อเข้าถึงลูกค้าใหม่ ๆ หรือเราสนใจแต่การผลิตสินค้าจนละเลยเรื่อง

ต้นทุนสินค้าและราคาขายที่เหมาะสม ธุรกิจของเราก็อาจเป็นธุรกิจที่มีสินค้าดี แต่ผลประกอบการไม่เป็นไปตามเป้าหมายก็เป็นได้

ฉะนั้น ก่อนเริ่มต้นทำธุรกิจ อยากให้ถามตัวเองให้ชัดว่า เรามีความรู้ในด้านที่จำเป็นต่อธุรกิจมากน้อยแค่ไหน เพื่อที่เราจะได้พัฒนาตัวเองให้เป็นเจ้าของธุรกิจที่ประสบความสำเร็จได้ในอนาคต

 

4.เราพร้อมที่จะเหนื่อยและเจอปัญหาตลอดเวลาหรือเปล่า วางมือจากงานแล้วออกไปใช้ชีวิตได้ หรือตอนที่เพื่อนร่วมงานเราลา ตอนที่เราทำงานประจำ พอวันหยุดเสาร์อาทิตย์เราก็สามารถ

ออกก็อาจไม่ได้กระทบกับการทำงานของเรามากนัก แต่พอเรามาเป็นเจ้าของธุรกิจ เราจะไม่สามารถสนใจเฉพาะตำแหน่งงานของเราเพียงอย่างเดียวได้อีกต่อไป เพราะปัญหาทุกอย่างที่เกิดขึ้นกับธุรกิจนั้น ก็คือปัญหาของเราด้วย เขาถึงบอกกันว่าเป็นพนักงานประจำ ภาระหน้าที่อาจอยู่แค่จันทร์ถึงศุกร์ 9.00-17.00 น. แต่พอเป็นเจ้าของธุรกิจภาระหน้าที่ของเราคือ 24 ชม. 7 วัน

 

 

  1. เราเป็นคนที่รู้ลึก รู้กว้างในธุรกิจที่จะทำมากน้อยแค่ไหน รู้สึกในธุรกิจอย่างเดียวไม่พอ จะต้องรู้กว้างในเรื่องอื่น ๆ ด้วยแล้วตามให้ทันความเปลี่ยนแปลงของโลก จึงจะขับเคลื่อนธุรกิจไปได้อย่างราบรื่น และประสบความสำเร็จ การทำธุรกิจไม่ได้มีแค่เรื่องสินค้าหรือบริการเพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องประกอบด้วยบัญชี การเงิน การขาย การตลาด การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ฯลฯ รวมไปถึงเราต้องรู้เรื่องเศรษฐกิจ การเมือง การปกครองในภาพรวมด้วย เพราะเรื่องเหล่านี้ล้วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

 

หลายคนคงเคยได้ยินว่า ความรู้จากการเรียนในมหาวิทยาลัยที่สามารถนำไปใช้ได้กับการทำงาน หรือการทำธุรกิจอาจจะมีไม่ถึง 5% ด้วยซ้ำ

ให้ถามตัวเองก่อนว่า...เราเป็นคนชอบหาความรู้ใหม่ ๆ ตลอดเวลาหรือเปล่า เราต้องมีความรู้ที่จะนำมาใช้ในชีวิตจริงได้ต้องตามให้ทันความเปลี่ยนแปลง แล้วสักวันเราจะเป็นคนที่สร้างความเปลี่ยนแปลงขึ้นมาเอง จำไว้เสมอว่า ลูกค้าไม่ได้ซื้อของด้วยเหตุผลเสมอไป ลูกค้าจำนวนมากซื้อของด้วยอารมณ์ ดังนั้นเราต้องเล่าเรื่อง (Story Telling) ได้ การหาความรู้มาใส่ตัวมาก ๆ ติดตามข้อมูลข่าวสารจากช่องทางต่าง ๆ และการอ่านหนังสือมาก ๆ จะทำให้เรามีเรื่องใหม่ ๆ มาเล่าได้ตลอดเวลา ฉะนั้น ถ้าเราอยากเริ่มธุรกิจ ต้องถามตัวเองว่า....เราพร้อมเรียนรู้เรื่องที่ยังไม่รู้ไหม?

ธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และปัจจุบันเปลี่ยนแปลงในอัตราเร่งที่เร็วกว่าแต่ก่อนมาก

ดังนั้น เราต้องปรับธุรกิจให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงด้วย เตือนตัวเองไว้เสมอว่า...ถ้าอยากได้ผลลัพธ์ใหม่ อย่าทำแบบเดิม

 

6.เราชอบตัดสินใจอะไรด้วยตัวเองหรือไม่

ตัวเอง ไม่เหมือนตอนเราเป็นลูกจ้าง ที่จะมีฝ่ายต่าง ๆ รับผิดชอบในการเป็นเจ้าของธุรกิจ หมายถึงเราต้องรับผิดและรับชอบด้วย แต่ละเรื่องเป็นหน้าที่ของเจ้าของกิจการที่ต้องตัดสินใจไม่ว่าจะตัดสินใจ

ถูกหรือผิด เพราะการไม่ตัดสินใจ ก็ถือเป็นการตัดสินใจอย่างหนึ่ง ซึ่งผลของการไม่ตัดสินใจจะทำให้เรื่องต่างๆ ค้างคาอยู่ หรือถ้าเป็นปัญหาที่ไม่ได้ตัดสินใจดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งปัญหานั้นก็อาจจะลุกลามบานปลาย กลายเป็นปัญหาที่ใหญ่ขึ้นได้ ถ้าเราเป็นคนประเภทชอบรับคำสั่ง ชอบทำตาม เราอาจจะไม่เหมาะกับการเป็นเจ้าของธุรกิจ

ในกรณีที่เรามีหุ้นส่วน แม้ว่าเราแบ่งความรับผิดชอบกันไปแล้ว แต่ในบางเรื่องเราก็ต้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ มีส่วนร่วมในการออกความคิดเห็นอยู่ดี ไม่ใช่อะไรก็ได้ มันคือการตัดสินใจร่วมกัน ถ้าเราปล่อยให้หุ้นส่วนตัดสินใจ แล้วผิดพลาดก็โทษเขาไม่ได้ เพราะเราให้อำนาจเขาในการตัดสินใจไปแล้ว

 

 

7.เรามีศักยภาพรับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหนคงไม่มีใครอยากเริ่มต้นธุรกิจแล้วนึกถึงวันที่เจ๋งถูกไหม แต่ไม่ใช่ทุกคนที่ทำธุรกิจแล้วจะประสบความสำเร็จ ในตลาด ร้านอาหารมีคนประสบความสำเร็จในธุรกิจนี้ไม่เกิน 10% เท่านั้น

นั่นหมายถึง 9 ใน 10 จะล้มเหลวตอนที่เราเริ่มต้นทำธุรกิจอยากให้คิดถึงการลงด้วย อย่าคิดถึงแต่ตอน Take Off แล้วไม่เคยคิดว่าจะลงยังไง เราต้องรู้ว่าเรารับความเสี่ยงในธุรกิจได้มากน้อยแค่ไหน ถ้าวันหนึ่งธุรกิจไม่ได้เป็นไปอย่างที่เราคิด เรายังจะมีเงินทุนก๊อกสองเพื่อเริ่มต้นใหม่หรือเปล่า หรือเราใช้เงินทุนจนหมดหน้าตัก เอาเงินทั้งหมดที่มีมาลงทุนกับธุรกิจที่ทำ ซึ่งถ้าวันหนึ่งมันเจ๋งไปไม่รอด เราจะอยู่ต่อไปได้ยังไง

อย่ารอให้เงินหมดแล้วค่อยออกจากธุรกิจ ให้ออกจากธุรกิจก่อนเงินจะหมด เพราะเราจะได้เหลือเงินก้อนหนึ่งเพื่อไปทำธุรกิจอื่นต่อได้

 

8.เราเป็นคนมีวินัยในการทำงานมากน้อยแค่ไหน

ตอนเราเป็นพนักงานประจำ บริษัทก็จะมีกฎระเบียบออกมาเพื่อให้ทุกคนในองค์กรปฏิบัติ และอยู่ร่วมกันได้อย่างเป็นระบบ ไม่ว่าจะเป็นการขาดลามาสาย การเข้าออกงาน การสรุปรายงานประจำเดือนของงานที่ทำ แต่พอเรามาทำธุรกิจเอง ก็เหมือนกับเราเป็นฟรีแลนซ์ที่ไม่มีใครมาควบคุมว่าต้องตื่นกี่โมง วันไหนต้องทำอะไร จะไปไหน แต่นั่นหมายถึงว่าถ้าหากเราเป็นคนที่ไม่มีวินัยในการทำงาน หรือไม่มีการวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบแล้ว

ผ่านไปเดือนหนึ่งเราอาจไม่มีอะไรที่เป็นชิ้นเป็นอันเลยก็ได้ รายได้ของเรานั้นก็ขึ้นอยู่กับผลการทำงานของเราทุกวินาทีที่เราไม่ทำงาน มันคือทุกวินาทีที่รายได้จะหายไป

ฉะนั้นถ้าเราเป็นคนไม่มีวินัย เราอาจจะไม่เหมาะกับการเป็นเจ้าของธุรกิจก็ได้ วิธีการทำงานของเจ้าของธุรกิจ มันคือ การควบรวมเวลาส่วนตัวกับเวลางานเข้าไปด้วยกัน ที่เรียกว่า Work Life Integration คือ วันนี้เราอาจทำงานจนดึก วันรุ่งขึ้นอาจจะมีเวลาไปย่อยความคิดที่ร้านกาแฟ แล้วค่อยเข้าออฟฟิศตอน 10 โมง 11 โมงก็ได้ แต่อย่าง

น้อยให้รู้ไว้ว่าการเป็นเจ้าของธุรกิจ คือ การที่เราต้องมีวินัยต่อตัวเองเป็นอย่างมาก

 

 

9.เรารู้โครงสร้างต้นทุนในธุรกิจหรือเปล่า

โครงสร้างต้นทุนในธุรกิจของเราประกอบด้วยต้นทุนหลัก ๆอะไรบ้างธุรกิจประเภทค้าปลีกประเภทร้านอาหารร้านขายของ ต้นทุนหลักอย่างหนึ่ง คือ ค่าเช่า และค่าวัตถุดิบ ฉะนั้น ต้องเข้าใจว่าโดยเฉลี่ยแล้วสัดส่วนต้นทุนเหล่านี้ในธุรกิจของเราอยู่ที่ประมาณเท่าไหร่หรือกี่เปอร์เซ็นต์ เป็นต้นทุนคงที่หรือต้นทุนที่ผันแปรตามยอดขาย

ในบางธุรกิจค่าเช่าอาจถูก ค่าต้นทุนสินค้าอาจแพง บางธุรกิจต้นทุนสินค้าไม่มาก แต่ต้นทุนการบริการ หรือต้นทุนค่าแรงอาจสูง ซึ่งเราต้องรู้ว่า ค่าแรงโดยเฉลี่ยในธุรกิจนี้อยู่ที่เท่าไหร่

วันที่เราเข้ามาในธุรกิจ เราต้องเข้าใจต้นทุนตรงนี้ทั้งหมด เมื่อนำมาวิเคราะห์โครงสร้างต้นทุน เราจะเปรียบเทียบกับตลาดได้ว่าเราทำได้ดีกว่าตลาด หรือเราทำแย่กว่าตลาดตรงไหน และจุดไหนที่

เราต้องปรับปรุงการรู้โครงสร้างต้นทุนธุรกิจ (Cost Structure) เป็นวิธีการ วิเคราะห์ต้นทุน ซึ่งแยกรายการต้นทุนของผลิตภัณฑ์ หรือบริการหนึ่ง ๆ ออกเป็นหมวดต่าง ๆ เช่น ต้นทุนค่าเช่า ต้นทุนแรงงาน ต้นทุนสาธารณูปโภค ต้นทุนสินค้า ต้นทุนการตลาด ต้นทุนค่าขนส่ง ฯลฯ

 

การรู้โครงสร้างต้นทุนธุรกิจที่เราทำอยู่ และสามารถแยกออกมาเป็นหมวดหมู่ต่างๆ ได้ชัดเจน รวมถึงรู้ค่าเฉลี่ยในตลาดในแต่ละหมวดหมู่ว่าอยู่ประมาณเท่าไหร่ จะทำให้เรารู้ว่าอะไรที่เราทำได้ดีอยู่ แล้วอะไรที่เราต้องรีบปรับปรุง

 

เพราะถ้าเราไม่ทำเช่นนั้นอาจทำให้เรามองต้นตอของปัญหาผิด และอาจส่งผลกระทบต่อการแก้ไขธุรกิจได้การเป็นพนักงานที่เก่งไม่ได้หมายถึงจะเป็นเจ้าของธุรกิจที่ประสบความสำเร็จและเจ้าของธุรกิจที่ประสบความสำเร็จก็อาจมาจากพนักงานประจำธรรมดาคนหนึ่ง

 

เช่นเดียวกัน สิ่งเดียวที่จะการันตีการประสบความสำเร็จ คือการเรียนรู้ลงมือทำอย่างมีกลยุทธ์ และการไม่ยอมแพ้ต่อปัญหาต่าง ๆ ที่เข้ามาเท่านั้น

 

 

10.เรามีแต้มต่ออะไรบ้างในธุรกิจ

การทำธุรกิจปัจจุบัน ไม่มีคำว่าแฟร์อีกต่อไป เราอาจจะบอกว่าร้านนี้ตัดราคาเรา ธุรกิจนี้กินรวบ แบรนด์นี้ได้เปรียบเพราะเป็นของทุนใหญ่ หรือเพราะคนนี้ที่บ้านมีเงินเลยมาทำธุรกิจนี้ได้ เราอาจ

พูดอะไรก็ได้ แต่ในมุมของลูกค้า ลูกค้าสนใจแค่ว่า เขาได้สินค้าและบริการดีที่สุด ในราคาที่เขาพอใจจ่ายหรือเปล่า

ถึงจะบอกว่า เราเป็นคนที่จริงใจ เป็นคนที่เข้าใจลูกค้ามาก แต่ถ้าสิ่งที่เราทำ ลูกค้าไม่สามารถสัมผัสได้ สิ่งเหล่านี้ก็ไม่มีประโยชน์

ทางบ้านเราอาจมีตึกแถวให้เช่าอยู่ใจกลางสุขุมวิท เลยทำให้เราสามารถเปิดร้านโดยมีค่าเช่าถูกกว่าคนอื่นอันนี้ก็ถือเป็นแต้มต่อในการทำธุรกิจ หรือเราอาจจะมีธุรกิจของพ่อแม่ ที่มาสนับสนุนหรือต่อยอดในธุรกิจที่กำลังจะทำ ทำให้เรามีซัพพลายอย่างต่อเนื่อง

ในขณะที่คู่แข่งอาจจะไม่มีตรงนี้ จุดนี้ก็ถือเป็นแต้มต่อในธุรกิจหรือเราเป็น Youtuber หรือ Blogger ชื่อดังที่มีผู้ติดตามอยู่มากกว่า 500,000 คน แล้ววันหนึ่งเรามาทำธุรกิจขายของออนไลน์ อันนี้ก็เป็นแต้มต่อในธุรกิจเช่นเดียวกัน ฉะนั้น หาให้เจอว่าอะไรคือแต้มต่อของเรา และเอาสิ่งนั้นมาต่อยอดให้เป็นจุดขายหรือข้อได้เปรียบทางธุรกิจ

 

 

11.เรามีจุดแข็งอะไรในธุรกิจ

 คำว่า “จุดแข็ง” คือ จุดที่ดีกว่าคู่แข่ง ไม่ใช่บอกว่าจุดแข็งของเราคือ เราทำอาหารอร่อย แต่พอลูกค้าไปกินที่ร้านคู่แข่ง แล้วบอกว่าร้านคู่แข่งอร่อยกว่า จุดแข็งของเราจะกลายเป็นจุดอ่อนทันที

 

ถ้าบอกว่าเราให้บริการได้รวดเร็วภายใน 20 นาที แต่ถ้าคู่แข่งของเราให้บริการได้ภายใน 10 นาที จุดแข็งของเราจะกลายเป็นจุดอ่อนทันทีเช่นกัน

 

เราต้องเข้าใจว่า จุดอ่อน จุดแข็ง เกิดจากการเปรียบเทียบกับคนอื่นเสมอ การที่บอกว่าธุรกิจของเรามีจุดแข็งอะไร เราต้องเปรียบเทียบกับคู่แข่งทั้งหมดในตลาด เพื่อให้มั่นใจว่า นี่คือจุดแข็งของเราจริงๆ คิดง่ายๆ ว่า อะไรที่เราทำได้ง่าย ๆ หรือทำได้ดีกว่า ใช้ทรัพยากรน้อยกว่า ในขณะที่คู่แข่งของเราทำได้ยาก ต้องใช้ความพยายามอย่างมาก หรือมีต้นทุนที่สูง สิ่งนี้แหละเป็นจุดแข็งของเรา

 

 

ทำไมถึงพูดถึงจุดแข็ง

ทำไมไม่พูดถึงจุดอ่อน

เพราะไม่มีใครเอาชนะสงครามโดยการลบจุดอ่อน มีแต่คนที่หาจุดแข็งของตัวเองเจอ และสร้างจุดแข็งให้แข็งกว่าคู่แข่ง แล้วเอาสิ่งนั้นมาเป็นจุดขาย ส่วนจุดอ่อน ถ้าเรารู้ก็ค่อยๆขจัดออกไปเพื่อไม่ให้คู่แข่งเอาจุดอ่อนนั้นมาตีเราและเมื่อไหร่จุดแข็งนั้นเราทำได้ดีมาก ๆ และชัดเจนในมุมของลูกค้า จากจุดแข็งจะกลายมาเป็นจุดขายในธุรกิจทันที

 

แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องระวังให้มาก ๆ คือ หลายสิ่งที่เราคิดว่าสิ่งนี้คือจุดแข็งของเรา แต่เรากลับไม่เคยไปดูคู่แข่งเลย กลายเป็นว่าจุดแข็งที่เราพยายามนำเสนอกลับสู้คู่แข่งไม่ได้ จากจุดแข็งเลยกลายเป็นจุดอ่อนทันที

เนื้อหาโดย: machete007
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
machete007's profile


โพสท์โดย: machete007
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
นักแสดงดัง แจ้งข่าว ติดเชื้อ “HIV” ก่อนโพสต์สุดเศร้าแฟนพันธุ์แท้ Hello Kitty รับไม่ได้ ส่งข้อความให้แบนคนจีนที่ซื้อสินค้าไปหมด18 บอส 'ดิไอคอน' ถูกดีเอสไอแจ้งข้อหาผิดแชร์ลูกโซ่-กฎหมายขายตรงมังคุดคัด 8 ลูก 699 บาท! "พี่เอ ศุภชัย" เจอดราม่า ราคาแรงแซงโค้ง
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
จอนนี่ โซมาลี Youtuber คนดัง ก่อวีรกรรมป่วน! ชาวเน็ตแห่ #แบนจอนนี่โซมาลีอุ๊งอิ๊งเดินหน้าเอ็มโอยู44!ลั่นไม่เกี่ยวกับ'เกาะกูด'
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
คุณพ่อสุขวิช รังสิตพลผลงานการอภิวัฒน์การศึกษาไทย : คุณพ่อสุขวิช รังสิตพล13 ข้อคิดจากหนังสือ เลิกคิดมากถ้าอยากสำเร็จรู้หรือไม่ โจโฉ เป็นจอมทัพที่รบแพ้บ่อยมาก!!
ตั้งกระทู้ใหม่