สรุปข้อคิดที่ได้จากหนังสือ ปฏิบัติธรรมง่ายกว่าที่คิด
1.ความคิดเป็นเรื่องเข้าใจยากเหมือนกัน บางทีคนเราเข้าใจ เรื่องความคิดเพียงส่วนเดียวว่า ความคิดนี้เป็นอันตราย แต่จริงๆ สิ่งที่อันตรายคือ “ความปรุงแต่ง” ไม่ใช่ “ความคิด” คือพอมันมี ความคิดเกิดขึ้น ถ้าเราไม่เข้าไปปรุงแต่งต่อ มันก็ไม่มีอะไร แต่ปัญหาของพวกเราที่มันทุกข์เพราะเข้าไปปรุงแต่ง ความคิดอีกทีหนึ่ง “พอความคิดเกิดขึ้นก็เอามาเป็นของเราแล้ว ปรุงแต่งมันไป” เรื่องหลังจากนั้นมันเลยเป็นของเราหมดเลย แล้วเราก็ต้องทุกข์ในที่สุด
2.การปฏิบัติธรรมไม่ใช่การที่เราแบ่งเวลาทํา “แต่การปฏิบัติ ธรรมคือการทําทั้งชีวิตของเรา” ตั้งแต่ตื่นจนหลับ การกระทํา อย่างอื่นต่างหากที่ ถ้าจําเป็นต้องทําก็ไปทําหน่อย แต่การปฏิบัติ ธรรมคือชีวิตของเราทุกคน | ถ้าทุกลมหายใจของเรารู้ว่าชีวิตเรามีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติ ธรรม เราจะไม่มีวันลืมความรู้สึกตัว เราจะไม่มีวันหลงไปในโลก ของความคิดปรุงแต่ง
3.การหลงระเริงไปในความคิด ความปรุงแต่ง ดีใจ เสียใจ สุข ทุกข์ เหล่านี้หลอกเรา หลอกให้ทุกคนต้องทุกข์ บางทีนึกว่า สุขด้วย เราไม่รู้ด้วยซ้ำว่าการที่เราดิ้นรนหาความสุขนี่มันทุกข์ขนาดไหน
4.จริงๆ เรามีความสุขเพราะทําสําเร็จตามที่เราหวังไว้เฉยๆ แต่ไม่ใช่ความสุข มันไม่ใช่ความสุข เพราะจิตดิ้นรนตลอดเวลา เหมือนเราวิ่งอยู่บนกระทะทองแดงแล้วเราร้อน ก็เลยยกขาขึ้น ยกขาขึ้นเราก็นึกว่ามีความสุขเพราะไม่ร้อน แต่เดี๋ยวสักพักเรา ต้องเอาขาลงไปใหม่ เพราะฉะนั้น มันจะเป็นสุขไม่ได้ มันเป็น แค่การหนีความทุกข์เฉยๆ ความสุขที่แท้จริงจะต้อง “อิสระจากทุกสิ่ง” เป็นความสุขที่ ไม่ต้องพึ่งพิงสิ่งภายนอก ไม่ต้องพึ่งพิงคนอื่น ไม่ต้องพึ่งพิงสิ่งอื่น ไม่ต้องพึ่งไลน์ ไม่ต้องพึ่งเฟซบุ๊ก “มีความสุขด้วยตัวเอง” นี่เป็น หัวใจสําคัญ
5.พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า เส้นทางไปสู่ความพ้นทุกข์ องค์ประกอบสําคัญอย่างหนึ่ง คือ “ต้องไม่เนิ่นช้า” ไม่ใช่ปฏิบัติไป หลายเดือน หรือเป็นปี ๒ ปี ๓ ปี ก็ยังเหมือนเดิม ไม่ใช่แบบนั้น เพราะฉะนั้น คนที่เริ่มปฏิบัติธรรมหรือปฏิบัติมานานแล้ว ต้องพิจารณาตัวเองว่าปฏิบัติแล้วมันเหมือนเดิมมั้ย ทุกข์เหมือนเดิม มั้ย มีความเป็นปกติกับเขาบ้างหรือยัง หรือวันๆ มีแต่ความฟุ้งซ่าน ปรุงแต่งโน่น คิดนี้ คิดนั้น พิจารณาข้อธรรมไปเรื่อยอะไรพวกนี้ ถ้าอยู่ในความคิดตลอด จะเจริญไม่ได้เลย หรือไม่มีทางเจริญเลย “ความคิดไม่สามารถพาเราไปสู่ความพ้นทุกข์ได้”
- การมีความคาดหวังว่าครั้งนี้จะดีเหมือนครั้งก่อนหรือจะดีแบบที่เราคิด นั่นไม่ใช่การปฏิบัติธรรม นั่นเป็นการทำให้ได้อย่างที่หวัง เป็นเส้นทางของอัตตา ทิ้งความหวังทั้งหมด มีหน้าที่แค่ “รู้ปัจจุบันธรรม” ตอนนี้เป็นแบบนี้ จิตใจฟุ้งซ่าน กระวนกระวาย ไม่เข้าที่ เข้าทางก็ไม่ต้องเดือดร้อน มันเป็นของมันอย่างนั้น นักปฏิบัติธรรมจำนวนมากเข้าใจผิด มีความรู้สึกซ่อนอยู่ ลึกๆ อยากให้จิตมันดี อยากให้มันหลุดพ้น หาทางปฏิบัติธรรม ลึก ๆ คืออยากให้จิตนี้มันดี อยากจะช่วยให้มันหลุดพ้น เบื้องลึกของความรู้สึกนี้คือ จิตนี้เป็นของเรา พอเรา ไม่หนักแน่นในหลักการที่พระพุทธเจ้าสอนเราไว้เราก็ตกม้าตาย ทุ่มเทปฏิบัติธรรมแทบตาย มีแต่อัตตา มีแต่ตัณหา มีแต่ความ อยาก ยอมลำบากลำบนปฏิบัติธรรม แต่ถ้าจิตผิดนิดเดียว มันไปคนละทางเลย การปฏิบัติธรรมเริ่มใหม่ทุกขณะ จึงเรียกว่า “รู้ปัจจุบันธรรม
7.นั่งสมาธิก็ไม่ใช่นั่งหลับ นั่งให้มันตื่นตัว ตาหลับ แต่ "ใจตื่น" ตื่นโพลงอยู่กับความรู้เนื้อรู้ตัว” “ความรู้เนื้อรู้ตัว” ไม่มีจุด ไม่มีที่ตั้ง ไม่ใช่ไปแช่อยู่ที่ตรงไหนที่เดียว รู้สึกถึงความมีอยู่ของร่างกายนี้เฉยๆ ความมีอยู่ของก้อนก้อนนี้เฉย ๆ แต่เดี๋ยวมันจะไปรู้ตรงไหนก็รู้...แค่นั้น
ในขณะที่เรารู้สึกถึงความมีอยู่ของร่างกายแบบนี้ จิตใจนี้ ปกติ เงียบ “ความเงียบภายใน” เป็นอาการสำคัญของความสงบ ที่ตื่นตัว” ไม่ใช่สงบดำดิ่ง สภาพแห่งความตื่นตัว คือ สภาพที่ไม่ลืม เราไม่ลืมว่าเรายังมีร่างกายนี้อยู่ สภาพที่ลืมว่ามีร่างกายนี้ คือ สภาพที่เข้าไปอยู่ในโลกของความคิดปรุงแต่ง เมื่อเข้าไปอยู่ ในโลกของความคิดปรุงแต่ง เราก็ตกทางแล้ว เราล่องลอย แต่จิตก็มีหน้าที่คิดปรุงแต่งของมันไปอย่างนั้น หน้าที่ของเราคือพ้นออกจากโลกของความคิดปรุงแต่งทั้งปวง
8.คําว่า “พ้นไป ก็คือ ไม่ตามเข้าไปในความคิดนั้น ไม่ใช่ไปหยุด ธรรมชาติของกายกับจิตอย่างที่มันเป็น ไม่มีหน้าที่ทำให้จิตนี้มันดี ไม่มีหน้าที่ทำให้จิตนี้มีแต่กุศล ไม่มีหน้าที่ที่จะไปรังเกียจอกุศล ในจิตใจ มีหน้าที่เดียว เรียนรู้ว่าจิตเป็นแบบนี้ อกุศลเกิดขึ้นก็รู้ ตอนนี้เป็นแบบนี้ กุศลเกิดขึ้นก็รู้ ตอนนี้เป็นแบบนี้ อย่าลืมว่าเรามีหน้าที่เรียนรู้เฉยๆ ไม่มีหน้าที่เปลี่ยนแปลงสภาพของธรรมชาติอะไร
9.ศาสนาพุทธเป็นศาสนาของความเข้าใจ เราจะเข้าใจ สิ่งสิ่งหนึ่งได้ ไม่ใช่เราเข้าไปเปลี่ยนแปลง เข้าไปจัดการ เข้าไป ทําอะไร แต่เราต้องเรียนรู้ เรียนรู้ในลักษณะที่ “ผ่อนคลาย สบาย เป็นธรรมชาติ” ไม่ใช่เรียนรู้แบบเพ่งจ้อง เครียด เอาจริงเอาจัง” ครูบาอาจารย์สมัยก่อนก็เลยพูดว่า “ทําเล่นๆ แต่ทําจริงๆ” “ทําจริงๆ” คืออะไร คือ ไม่เลิกนั่นแหละ ไม่เลิก ไม่ลดละ ไม่ลืมว่าเราเกิดมาเรามีหน้าที่แบบนี้ที่จะต้องทําแบบนี้ แต่เวลาทํา
ทําไมถึง “ทําเล่นๆ” เพราะมันผ่อนคลาย สบาย เป็น ธรรมชาติ เลยดูเหมือนเล่นๆ ดูเหมือนเป็นคนไม่เอาจริงเอาจัง ในการปฏิบัติธรรม แต่คนพวกนี้แหละที่จะเข้าใจธรรมะได้
- ใช้ใจปกติธรรมดา ปล่อยให้จิตใจนี้ทำงานอย่างอิสระ แล้ว“รู้ทัน”มัน เราไม่มีหน้าที่ที่จะทําให้ไม่หลง เรามีหน้าที่ให้มัน ทํางานอย่างอิสระ หลงไปแล้วก็รู้ทัน หลงไปแล้วก็รู้ทัน เรียนรู้ว่า จิตเป็นแบบนี้ เรียนรู้ว่าทําไมพระพุทธเจ้าตรัสว่า จิตนี้เป็นทุกข์ ทําไมเป็นแบบนั้น เพราะจิตนี่มันชอบหานึก หาคิด หาปรุง หาแต่ง
- “พอดี” นี้เป็นสิ่งสําคัญ...สบายเกินไปก็จะทําให้เราปฏิบัติไม่ได้ เราจะติดความสบาย จะไม่ค่อยเห็นความทุกข์ในชีวิตเท่าไหร่
ทุกข์เกินไปก็ปฏิบัติธรรมไม่ได้เหมือนกัน ถ้าพูดให้เห็นภาพ คือ เหมือนพวกสัตว์นรก พูดให้เห็นภาพใกล้เข้ามาอีก ก็เหมือน ตอนที่เราโกรธมากๆ จะปฏิบัติธรรมไม่ได้
12.มนุษย์เราโชคดี โชคดีที่มี “ความเป็นปกติ” นี้เป็นพื้นฐาน ของชีวิตอยู่แล้ว แต่เราแค่หลงลืมมันไป เรามีหน้าที่ง่าย ๆ คือ ปลุก “ความเป็นปกติ” นี้กลับขึ้นมาเฉย ๆ แล้วอยู่กับมัน....อยู่กับมันให้เยอะกว่าอยู่กับแฟน แล้วชีวิตเราจะเข้าถึง “ความพ้นทุกข์”ได้ทันที
13.อย่าเอาความเป็นคนดีเข้ามาปิดบังความจริงตรงนี้ อย่าบิดเบือนความจริงตรงนี้ นี่เป็นอุปสรรคใหญ่อีกอย่างหนึ่งของนักปฏิบัติธรรมของชาวพุทธ เพราะชาวพุทธเราไม่กล้าเป็นคนไม่ดี ให้จิตใจนี้มันกระเทือนแบบ “ซื่อๆ” แล้วรู้ทัน แค่เรา ไม่ออกมาลันทางปาก ทางมือ ทางเท้า ทางสีหน้า แค่นี้พอแล้ว แต่จิตใจให้มันชื่อ ให้มันทำงานแบบซื่อ ๆ อย่าเอา positive thought ความคิดในแง่ดี มาตรฐานส่วนตัวมาบิดเบือนความจริงของจิตที่มันจะตอบสนองต่อสิ่งที่กระทบ
14.ทําไมถึงบอกว่า ตั้งแต่แรกเราไม่ใช่คนดีหรอก ตอนเด็กๆ เราเอาแต่ใจจะตาย นึกถึงตอนเด็กๆ มีใครเป็นคนดี ไม่มีหรอก เอาแต่ใจ อยากได้นี่ อยากได้นั่นก็ร้องไห้โวยวาย พ่อแม่ก็เบื่อ แต่ถ้าเราปฏิบัติธรรม พ่อแม่ปฏิบัติธรรม ลูกปฏิบัติธรรม เราเข้าใจความจริงแล้ว มันก็จะช่วยกัน พ่อแม่ลูกกลายเป็นกัลยาณมิตรกัน ชีวิต ครอบครัวที่มีธรรมะเป็นหลัก จะต่างจากครอบครัวของคนในโลก นี่คือความศักดิ์สิทธิ์ อํานาจของพลัง ของธรรมะ กลับไปสู่สภาพจิตใจที่มันซื่อ ๆ เหมือนตอนที่เราเป็นเด็ก ปล่อยให้มันโลดแล่นอยู่ภายในของเรา แล้วรู้ทันมัน เห็นมัน ไม่เข้าไปเป็นกับมัน อย่าให้ความดีที่ถูกหล่อหลอมมาทั้งชีวิต บิดเบือนความจริงนั้น เพราะเราจะไม่เห็นความจริง นี่คืออุปสรรค เรื่องของ “ความดี”
15.เวลาเราปฏิบัติธรรม บางทีเราก็ปฏิบัติเหมือนเดิมนะ ยังเดินจงกรม ทำหน้าที่เหมือนเดิมทุกอย่าง แต่สภาพจิตใจเรา บางทีไม่เหมือนเดิม ทางกายภาพเราก็ว่าเหมือนเดิมทุกอย่างนะ มีวินัย ทำหน้าที่ แต่จิตใจล่ะ เดี๋ยววันนี้เราตื่นมาฟุ้งซ่าน วันนี้ เหตุปัจจัยทั้งหลายส่งผลไม่เหมือนกัน แม้ว่าเรากําลังทำหน้าที่ ตื่นมากังวล อีกวันตื่นมาโปร่งโล่ง ให้เราสังเกตสิ่งเหล่านี้ว่า เหมือนเดิมก็ตามที จะทำให้เราเข้าใจอะไร เข้าใจเรื่องของ "อนัตตา”ว่า เหตุปัจจัยมากมายที่เรารู้ไม่ได้ แต่มันมีอยู่ ส่งผล ให้เกิดผลลัพธ์ที่แตกต่างกันไปในแต่ละวัน สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ให้เราท้อ แต่ให้เกิดการเรียนรู้ว่า อ๋อ...โลกนี้เป็นแบบนี้ ควบคุมบังคับอะไรไม่ได้ ขนาดทำเหมือนเดิมทุกวัน ผลมันยังไม่ได้เหมือนเดิมเลย อย่างนี้เป็นความเข้าใจอนัตตาเบื้องต้น
16.ความสงสัย เป็นอุปสรรคใหญ่ของการปฏิบัติธรรม เพราะเราอยากจะได้ความรู้ ทําไมเราอยาก ได้ความรู้ ก็เพราะมันมี “เรา” เราไม่ยอมอยู่กับความปกติ ในความปกติอยู่ไม่มีอะไรเลย ไม่มี “อยาก” ไม่มี “ไม่อยาก” ไม่มีความรู้อะไรด้วย เพราะในขณะที่คนเรา “ปกติ” อยู่ มันไม่มีอะไร เคยเห็นคนที่มีวิปัสสนูปกิเลสที่ชอบพูดธรรมะมั้ย คนที่มีความรู้ทางธรรมขึ้นมาตลอดเวลา คนพวกนี้อยู่ในความคิดตลอด แต่เขาไม่รู้ เขานึกว่ามีความรู้ทางธรรมเยอะมาก คิดอะไรเห็นอะไรเป็นธรรมะไปหมด แต่เขาพลาด “การเห็นเฉยๆ” ไป นึกว่า กําลังปฏิบัติธรรมอยู่ ได้ความรู้เยอะแยะ แต่มันกลับไม่มีอะไร