3 ภาษากาย รู้ทัน “การโกหก”
จากหนังสือ ร่างกายไม่เคยโกหก เขียนโดย Joe Navarro (โจ นาวาร์โร) กล่าวว่า คนพูดโกหก จะหลีกเลี่ยงการสัมผัส ไม่ใช่แค่คนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงวัตถุสิ่งของอย่างแท่นยืนพูดและโต๊ะด้วย ไม่เคยเห็นหรือได้ยินคนโกหกที่ตะโกนด้วยความมั่นใจว่า "ผมไม่ได้ทำ" พร้อมกับทุบกำปั้นลงบนโต๊ะ ส่วนใหญ่แล้วผมมักจะเห็นการพูดไม่เต็มเสียงพร้อมกับทำท่าทางประกอบน้อยมาก ๆ คนที่กำลังโกหกจะขาดความมั่นใจและความมุ่งมั่นในสิ่งที่ตนพูด แม้ว่าสมองส่วนเหตุผล ของเขาจะตัดสินใจว่าควรพูดอะไรเพื่อทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิด แต่สมองส่วนอารมณ์ จะไม่ยอมทำตาม ดังนั้น คนโกหกจึงไม่ค่อยเน้นย้ำคำพูดด้วยภาษากาย (เช่น การแสดงอากัปกิริยาต่าง ๆ) ความรู้สึกของสมองส่วนอารมณ์นั้นยากที่จะลบล้างได้ คุณจะลองยิ้มกว้าง ๆ ให้กับคนที่คุณไม่ชอบดูก็ได้ นั่นเป็นอะไรที่ทำได้ยากสุด ๆ ไปเลย ในทำนองเดียวกับรอยยิ้มจอมปลอม คำพูดจอมปลอมจะเกิดขึ้นพร้อมกับภาษากายที่เฉื่อยชาหรือไม่หนักแน่น
3 ภาษากาย รู้ทัน “การโกหก”
1) ท่าขอความเห็นใจ
เมื่อมีใครยื่นแขนทั้งสองข้างออกไปด้านหน้าพร้อมกับหงายฝ่ามือขึ้นเขากำลังทำท่าขอความเห็นใจ (หรือ "ท่าขอพรพระเจ้า") ผู้ที่ศรัทธาในพระเจ้าจะหงายฝ่ามือขึ้นเพื่อขอพรจากพระองค์ ในทำนองเดียวกัน ทหารที่ถูกจับเป็นเชลยมักจะหงายฝ่ามือขึ้นขณะที่เดินเข้าไปใกล้ตัวผู้จับกุม นอกจากนี้ เรายังพบเห็นพฤติกรรมแบบนี้ในคนที่อยากให้คุณเชื่อสิ่งที่เขาพูด ดังนั้น ในระหว่างการสนทนาให้สังเกตคนที่คุณพูดคุยด้วย เมื่อเขาพูดอะไรออกมา ให้ดูว่าฝ่ามือของเขาหงายหรือคว่ำในการสนทนาที่มีการถกเถียงกันเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ และยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน ผมคาดหวังว่าจะได้เห็นอีกฝ่ายทั้งหงายและคว่ำมือ
อย่างไรก็ตาม เมื่อใครบางคนประกาศออกมาอย่างหนักแน่นว่า"คุณต้องเชื่อผม ผมไม่ได้ฆ่าเธอ" ฝ่ามือของเขาควรจะคว่ำลง แต่ถ้าเขาพูดพร้อมกับหงายฝ่ามือขึ้น แสดงว่าเขากำลังเรียกร้องให้เราเชื่อ ผมจะสงสัยในคำพูดดังกล่าวเป็นอย่างมาก แม้ว่าอาจจะไม่ใช่ข้อสรุปที่แน่ชัด แต่ผมจะสงสัยคนที่ประกาศอะไรออกมาพร้อมกับหงายฝ่านำมือขึ้นเอาไว้ก่อน ท่าหงายมือบ่งบอกถึงความไม่มั่นใจอย่างรุนแรงและแสดงให้เห็นว่าคนคนนั้นกำลังขอร้องให้เราเชื่อ แต่คนที่พูดความจริงจะไม่ต้องขอร้องให้ใครเชื่อ เพราะคำพูดของเขาหนักแน่นอยู่แล้ว
2) การประกาศอาณาเขตและการโกหก
เมื่อเรารู้สึกมั่นใจและสบายใจ เราจะยึดแขนขาอย่างอิสระ แต่เมื่อเรารู้สึกไม่ค่อยมันคง เราจะใช้พื้นที่น้อยลง และในกรณีเลวร้ายที่สุด คนที่รู้สึกหดหู่อาจอยู่ในท่าคุดคู้และเอามือกอดเข่าเหมือนทารกที่อยู่ในครรภ์การสนทนา การสัมภาษณ์ หรือการสอบสวนที่สร้างความอึดอัดใจอาจทำให้คนเราแสดงท่าทางเก็บเนื้อเก็บตัวในลักษณะต่าง ๆ เช่น ไขว้แขนตรึงข้อเท้าไว้กับที่จนบางครั้งอาจถึงขั้นทำให้อีกฝ่ายรู้สึกเจ็บแทนจงมองหาการเปลี่ยนแปลงอากัปกิริยาที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการโกหกหลอกลวง โดยเฉพาะอย่างอื่นเมื่อเกิดขึ้นพร้อมกับการเปลี่ยนหัวข้อสนทนา
เมื่อเรามีความมั่นใจในสิ่งที่ตัวเองเชื่อหรือพูด เรามักจะนั่งตัวตรงอกผายไหล่ผึ่ง นั่นคือท่าตั้งตรงที่บ่งบอกถึงความมั่นคง แต่เมื่อมีใครโกหกหลอกลวง เขามักจะก้ม ย่อตัว หรือจมลงไปในเฟอร์นิเจอร์โดยไม่รู้ตัว ราวกับกำลังพยายามหนีไปจากเรื่องที่กำลังพูดกันอยู่ ไม่เว้นแม้แต่สิ่งที่ตัวเองเป็นคนพูด คนที่รู้สึกไม่มั่นคง รวมถึงคนที่ไม่แน่ใจในตัวเอง หรือในความคิดและความเชื่อของตัวเอง มักจะสะท้อนสิ่งเหล่านี้ออกมาให้เห็นผ่านท่าทางต่าง ๆ ซึ่งโดยปกติมักจะเป็นการก้มตัวเล็กน้อยแต่บางครั้งก็จะทำท่าหดคอและยกไหล่ทั้งสองข้างขึ้นไปหาใบหู เมื่อไหร่ก็ตามที่ผู้คนรู้สึกอึดอัดใจและพยายามซ่อนตัวในที่เปิดโล่ง จงมองหาท่า"เต่าหดหัว" เพราะมันคือเบาะแสที่บ่งบอกถึงความไม่มั่นคงและความอึดอัดใจอย่างแท้จริง
3) การยักไหล่
แม้ว่าคนเราจะยักไหล่บ้างเป็นครั้งคราวเมื่อไม่แน่ใจในบางสิ่ง แต่เวลาที่คนโกหกไม่แน่ใจอะไรสักอย่าง เขาก็มักจะทำท่านี้ในแบบที่ต่างออกไปจากคนปกติ โดยจะยกไหล่น้อยมากแถมยังดูเหมือนผ่านการปรุงแต่งเนื่องจากไม่ได้รู้สึกผูกมัดกับสิ่งที่ตนแสดงออกมา ถ้าเขายักไหล่เพียงข้างเดียวหรือยักใหล่สูงมากจนดูราวกับว่าศีรษะจะหดหายไป นั่นถือว่าเป็นสัญญาณของความอึดอัดใจอย่างมาก และพบได้ในคนที่เตรียมตัว จะตอบคำถามด้วยการโกหก
อ้างอิงจาก: หนังสือ ร่างกายไม่เคยโกหก เขียนโดย Joe Navarro (โจ นาวาร์โร)