อันตรายของการอดนอน
อดนอน (Sleep Deprivation) เป็นอีกหนึ่งพฤติกรรมที่บั่นทอนสุขภาพของผู้คนในปัจจุบัน เราถูกสอนกันมานานว่าต้องนอนอย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายได้ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ แต่ข้อมูลปัจจุบันพบว่าคนส่วนใหญ่อาจไม่ต้องนอนให้ถึง 8 ชั่วโมงก็ได้ แต่ต้องเป็นการนอนหลับที่มีคุณภาพเพียงพอ
การนอนไม่พอมีผลต่อร่างกายอย่างแน่นอน ถ้านอนน้อยไปเพียง 1 วันอาจไม่เห็นผลกระทบรุนแรงนัก อย่างมากก็แค่ง่วงซึมในช่วงกลางวัน แต่พอตกกลางคืนเมื่อได้นอนอย่างเต็มอิ่ม ร่างกายจะฟื้นตัวกลับมาสดชื่นได้อีกในวันรุ่งขึ้น แต่ถ้ายังคงอดนอนต่อไปเรื่อย ๆ ก็จะยิ่งเห็นผลกระทบชัดเจนขึ้น
หากนอนหลับไม่เพียงพอจะมีอาการเหล่านี้
- เมื่อตื่นมาตอนเช้า รู้สึกยังไม่สดชื่น อยากจะนอนต่อไปอีก
- ในระหว่างวันมีอาการง่วงเหงาหาวนอนอยู่เรื่อย ๆ
- ถ้ามีโอกาสได้นอนในตอนกลางวันอาจหลับไปภายในเวลา 5 นาทีเท่านั้น
- ร่างกายอ่อนเพลีย
- สมองทำงานช้าลง
- ใบหน้าโทรม
- อารมณ์แปรปรวน
หากอดนอนในระยะเวลามากกว่านี้ถึงขั้น 48-72 ชั่วโมง สมองจะเริ่มหมดสติอยู่ในสภาวะครึ่งหลับครึ่งตื่น ร่างกายเริ่มไม่สามารถต้านทานความง่วงได้ การรับรู้ต่อสิ่งรอบข้างมีประสิทธิภาพต่ำมาก อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มสูงขึ้น
เมื่ออดนอนควรรับประทานอะไรดี
หากมีความจำเป็นที่จะต้องอดนอนจริง ๆ ควรได้รับสารอาหารที่มีวิตามินบี ซี และ กรดอะมิโน เพื่อความสดชื่นของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น
- น้ำเปล่า
- กล้วย
- ถั่วเปลือกแข็ง
- ไข่
- ธัญพืช
- ข้าวกล้อง
- น้ำผลไม้คั้นสด
- น้ำเต้าหู้ทรงเครื่อง
- นม
- ซุปไก่
- งาดำ
- โยเกิร์ต
การนอนที่มีคุณภาพ
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอร์ คาเฟอีน ก่อนเข้านอน
- ไม่ออกกำลังกายหักโหมก่อนเข้านอน
- งดการใช้มือถือหรือคอมพิวเตอร์ก่อนเข้านอน 30 นาที
- เข้านอนและตื่นให้เป็นเวลา
- ห้องนอนเหมาะสมกับการหลับ มีอุณหภูมิเหมาะสม ไม่มีแสงรบกวน ไม่มีเสียงดัง
- ควรเคลิ้มหลับภายใน 30 นาทีหลังเข้านอน
- นอนหลับสนิทตลอดคืน ตื่นไม่เกิน 1 ครั้ง เมื่อตื่นแล้วใช้เวลาน้อยกว่า 20 นาทีในการหลับต่อไปอีกครั้ง