ทึ่งทั่วโลก : อื้อหือ ชุดเกราะกันกระสุนในอดีต แค่เห็นก็รู้สึกหนักแทนแล้วเด้อ (ฮา)
ใน ค.ศ. 1538 ฟรันเชสโก มาเรีย เดลลา โรเวเร มอบหมายให้ฟีลิปโป เนโกรลี สร้างเสื้อเกราะกันกระสุน ส่วนใน ค.ศ. 1561 จักรพรรดิมัคซีมีลีอานที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ได้รับการบันทึกในฐานะการทดสอบเกราะของเขาจากการยิงปืน ในทำนองเดียวกัน ใน ค.ศ. 1590 เซอร์ เฮนรี ลี คาดว่าเสื้อเกราะของเขาจะเป็น "การป้องกันปืนพก" ซึ่งประสิทธิภาพที่แท้จริงของมันเป็นที่ถกเถียงในเวลานั้น สำหรับศัพทมูลวิทยาของ "กระสุน" และรูปแบบคำคุณศัพท์ของ "กันทะลุ" ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 จะมุ่งเสนอคำว่า "กันกระสุน" หลังจากนั้นไม่นาน
ในช่วงสงครามกลางเมืองอังกฤษ ทหารม้าไอรอนไซด์ของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ ได้จัดให้มีหมวกนิรภัยเคปไลน์ และเสื้อเกราะกันปืนคาบศิลาซึ่งประกอบด้วยแผ่นเกราะสองชั้น (ในการศึกษาต่อมาที่เกี่ยวข้องกับรังสีเอกซ์ชั้นที่สามถูกค้นพบ ซึ่งอยู่ระหว่างชั้นนอกและชั้นใน) ชั้นนอกถูกออกแบบมาเพื่อดูดซับพลังงานของกระสุน และชั้นในที่หนาขึ้นจะหยุดการเจาะต่อไป เกราะจะเว้าแหว่งฉกรรจ์ แต่ก็ยังเป็นประโยชน์ หนึ่งในคำอธิบายที่บันทึกแรกของการใช้ชุดเกราะแบบอ่อนถูกค้นพบในยุคกลางของญี่ปุ่น ด้วยชุดเกราะที่ผลิตจากผ้าไหม
-ยุคอุตสาหกรรม
หนึ่งในตัวอย่างแรกของชุดเกราะกันกระสุนที่ขายในเชิงพาณิชย์ผลิตโดยช่างตัดเสื้อในดับลิน ประเทศไอร์แลนด์ ในคริสต์ทศวรรษ 1840 โดยหนังสือพิพม์เดอะคอร์กเอกซาไมเนอร์รายงานเกี่ยวกับสายธุรกิจของเขาในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1847 ซึ่งเท่าที่ดูแล้ว คนใส่นี่น่าจะต้องกำยำล่ำสันมากเลยจริงๆ ถึงจะใส่ได้เน่อ เพราะขนาดหรืออะไรดูมีน้ำหนักไม่น้อยเลยจริงๆ ไม่รู้ว่าจะควรใส่เพื่อกันกระสุน หรือ จะใส่แบบเบาๆ มีเหล็กป้องกัน แต่คล่องตัวหลบหลีกได้ดีกว่า แบบไม่เห็นตัว หรือ ไม่โดนยิงแต่แรกเลย อาจจะดีกว่าใส่ชุดแบบนี้ก็ได้นะเนี่ย ใส่แบบนี้เดินนี่ คือเป้ายิงชัดๆ จึงต้องมีการพัฒนามาเรื่อยๆ จนเป็นชุดเกราะกันกระสุน ที่เบาและแข็งแกร่งกันในปัจจุบันนี้นั่นเองเน่อ ก็เริ่มมาจากชุดหนาๆ เป็นแผ่นเหล็กแบบนี้ล่ะจ้า