Share Facebook LINE Twitter
หน้าแรก เว็บบอร์ด Chat ตรวจหวย ควิซ คำนวณ Pageแชร์ลิ้ง
หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

พระสมเด็จวัดระฆังฯ มีกี่พิมพ์

โพสท์โดย เทวดาชื่อไอ่หยอง

พระสมเด็จวัดระฆังฯ จัดได้ว่าเป็นสุดยอดพระเครื่องตลอดกาล อีกทั้งเป็นสุดยอดความปรารถนาที่จะได้ไว้ในครอบครองของบรรดาเหล่าผู้นิยมพระเครื่อง หรือนักสะสมของเก่าทั้งหลาย ปรารภได้ว่าเป็น "จักรพรรดิแห่งพระเครื่อง" เลยทีเดียว แถมเป็นองค์ประธานสำหรับพระเครื่อง "ชุดเบญจภาคี" อีกด้วย

ผู้สร้าง สมเด็จพระพุฒจารย์ (โต พรหมรังสี)

สร้าง สมัยรัตนโกสินทร์ ปี พ.ศ. 2409 ในสมัยรัชกาลที่ 4 ณ วัดระฆังโฆษิตาราม

พุทธศิลปะ พุทธลักษณะ องค์พระนั่งปางสมาธิ ประทับบนฐาน๓ชั้น สถิตภายในซุ้มเรือนแก้ว

ขนาด ประมาณ : ฐาน ๒.๕ ซ.ม. , สูง ๓.๖ ซ.ม. , หนา ๐.๕ ซ.ม.

พระพุทธคุณ เมตตามหานิยม , แคล้วคลาดภัยพิบัติ , คงกระพัน , โชคลาภ ฯลฯ

ภาพสมเด็จพระพุฒจารย์ (โต พรหมรังสี)

 

วัตถุที่ใช้ทำพระนั้น ใช้วัตถุหลายอย่างต่างกันคือ ผงดินสอ ที่ได้จากการเรียนมูลกัจจายน์ ตามวิธีโบราณ ดินสอเหลือง ปูนขาว เกสรดอกไม้ กล้วยน้ำว้า เปลือกกล้วย ชานหมาก  ใบลานเผา อาหารสํารวม และน้ำอ้อย เป็นต้น

พระสมเด็จวัดระฆังฯ ตามความนิยมในวงการพระเครื่อง มี 5 พิมพ์ ด้วยกันคือ

๑. พิมพ์ใหญ่ เป็นพิมพ์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในบรรดาพิมพ์พระทั้ง 5 แม่พิมพ์ มีทั้งเนื้อละเอียด เนื้อหยาบ เนื้อแก่น้ำมันตังอิ๊ว หรือเนื้อสังขยา และเนื้อแก่ปูน ลักษณะพิมพ์ทรง เป็นรูปสมมติของพระพุทธเจ้านั่งในระฆังคว่ำ องค์พระแลดูนั่งเอียงไปทางขวา ปลายพระเกศสะบัดเอียงไปทางซ้าย ในบางองค์อาจทะลุซุ้มด้านบน แลเห็นหูพระด้านซ้ายเป็นแนวจางๆยาวลงมา ไหล่ซ้ายดูยกสูงกว่าไหล่ขวา มองเห็นปลายพระบาทยื่นเล็กน้อย ฐานขั้นล่างสุดเหมือนสี่เหลี่ยมคางหมู

 

๒. พิมพ์ทรงเจดีย์ ลักษณะพิมพ์เป็นพระนั่งในระฆังคว่ำ แลเห็นตั้งแต่พระเกศจรดฐานชั้นล่างสุดเรียงเสมอเป็นแนวรูปทรงเจดีย์ ลักษณะลำตัวพระแลดูหนากว่าทุกพิมพ์

 

๓. พิมพ์ฐานแซม ลักษณะพิมพ์เป็นพระนั่งในระฆังคว่ำ หูเป็นแบบบายศรี มีเส้นแซมระหว่างใต้องค์พระ กับ ฐานชั้นบนสุด และใต้ฐานชั้นบนสุด กับ ฐานชั้นกลาง

 

๔. พิมพ์เกศบัวตูม เป็นพระพิมพ์ของวัดระฆังที่พบจำนวนน้อยที่สุดในบรรดาพระพิมพ์ทั้งหมด ลักษณะพิมพ์ทรงเป็นพระนั่งในระฆังคว่ำ พระพักตร์กลมป้อม พระเกศเป็นมุ่นมีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม (เป็นที่มาของชื่อพิมพ์) ต่างจากพิมพ์อื่น ตรงที่ปลายพระเกศไม่จรดเส้นซุ้ม องค์พระเป็นล่ำสัน มองเห็นเส้นสังคาฏิชัดเจน

 

๕. พิมพ์ปรกโพธิ์ ลักษณะพิมพ์เป็นพระนั่งในระฆังคว่ำคล้ายพิมพ์ฐานแซม เหนือพระเกศและหัวไหล่ปรกคลุมด้วยใบโพธิ์ (พิมพ์นี้มีน้อย จนหนังสือบางเล่มไม่ได้กล่าวถึง)

โพสท์โดย: เทวดาชื่อไอ่หยอง
อ้างอิงจาก: วิกกิพีเดีย , เบญจภาคี , Google , Rangsan Torsuwan
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
5 VOTES (5/5 จาก 1 คน)
VOTED: เทวดาชื่อไอ่หยอง
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
"เชฟกระทะฮ้าง" เจอแฉซ้ำ เพจดังลุยขุดอดีตไม่มีพักฝรั่งงง คนไทยไว้ใจกันเกิน วางของไว้เฉยๆ ไม่มีใครขโมยการเงียบไม่ใช่ความอ่อนแอ ไม่ใช่ความขี้ขลาด"แอมป์ พีรวัศ" ขายขนมปัง 8 ชั่วโมงกว่าจะได้อันแรก ร้องไห้เพราะกลัวลูกเมียลำบากยำเล็กมือนาง ทำกินได้ ทำขายได้กำไรดี พร้อมคิดคำนวนต้นทุนต่อชิ้น“บุ๋ม ปนัดดา” มอบเงินมอบให้ญาติผู้สูญหายเหตุตึกถล่ม เเละพี่ ๆ กู้ภัยคนละ 1 หมื่นบาท เพื่อเป็นกำลังใจให้ทุกคนรีวิวอนิเมะ Tasokare Hotel – ทาโซคาเระ โฮเต็ลจับใบแดงหรือจับโชค ประสบการณ์ลุ้นระดับชาติที่ต่างชาติยังงงเกมฟรีบอกต่อ Epic Games Store แจกเกมฟรีบน PC ตั้งแต่ 3 ถึง 17 เมษายน 5 เกมรวด
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
การเงียบไม่ใช่ความอ่อนแอ ไม่ใช่ความขี้ขลาดรีวิวอนิเมะ Tasokare Hotel – ทาโซคาเระ โฮเต็ล“บุ๋ม ปนัดดา” มอบเงินมอบให้ญาติผู้สูญหายเหตุตึกถล่ม เเละพี่ ๆ กู้ภัยคนละ 1 หมื่นบาท เพื่อเป็นกำลังใจให้ทุกคน4 ปีเกิดการงาน-การเงิน รับทรัพย์ช่วงนี้ by ซินแสน้อย แต้เอี่ยงคัง
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
สภาพคล่องทางการเงินคืออะไร ทำไมถึงต้องศึกษาเรื่องนี้!จับใบแดงหรือจับโชค ประสบการณ์ลุ้นระดับชาติที่ต่างชาติยังงงYakhchāl โรงน้ำแข็งโบราณอัจฉริยะของชาวเปอร์เซีย อายุเก่าแก่กว่า 2,400 ปี"ดาบแห่ง Dunvegan: อาวุธโบราณอายุกว่า 500 ปี สุดยอดพลังจากเหล็กสก็อต"
ตั้งกระทู้ใหม่
หน้าแรกเว็บบอร์ดหาเพื่อนChatหาเพื่อน Lineหาเพื่อน SkypePic PostตรวจหวยควิซคำนวณPageแชร์ลิ้ง
Postjung
เงื่อนไขการให้บริการ ติดต่อเว็บไซต์ แจ้งปัญหาการใช้งาน แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม ข่าวประชาสัมพันธ์ ลงโฆษณา
เว็บไซต์นี้ใช้ Cookie
เพื่อประสบการณ์ที่ดีและการใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ดูข้อมูลเพิ่มเติม อ่านนโยบายการใช้งาน
ตกลง