"ทะเลแหวก" อัศจรรย์ธรรมชาติเดินกลางทะเลไม่ใช่อภินิหาร แต่มันคือวิทยาศาสตร์
ทะเลเป็นพื้นผิวน้ำ เส้นทางคมนาคมทางทะเลที่มนุษย์ใช้สัญจรเดินทางไปมาภายในประเทศหรือระหว่างประเทศ ต้องโดยสารผ่านเรือ ไม่สามารถเดินด้วยเท้าเปล่าหรือใช้แรงงานสัตว์บกได้ แต่ก็มีอีกปรากฎการณ์หนึ่งที่จะมีหาดทรายขาวโผล่ขึ้นมาระหว่างทะเล ทำให้มนุษยชาติสามารถเดินบนเส้นทางทะเลได้ เรียกกันว่าทะเลแหวก
ปรากฎการณ์ทะเลแหวกเคยปรากฎในบันทึกประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับความเชื่อว่าเมื่อราว 1,250 ปีก่อนคริสตกาล เหตุการณ์ที่โมเสสนำขบวนชาวอิสราเอลออกจากอียิปต์ไปยัง "ดินแดนแห่งพันธสัญญา (Promised Land)" หนีการไล่ล่าของกองทัพฟาโรห์แห่งอียิปต์ เมื่อขบวนชาวอิสราเอลมาถึงทะเลแดง โมเสสก็ได้ชูมือขึ้นและทำให้ผืนน้ำแยกออกเป็นสองฝั่ง ทำให้ขบวนชาวอียิปต์สามารถข้ามทะเลไปได้อย่างปลอดภัย แต่พอกองทัพอียิปต์มาถึง โมเสสก็ได้ชูมือขึ้น และน้ำก็กลับเข้ามาดังเดิม ทำให้ทหารอียิปต์จำนวนมากจมน้ำ เหตุการณ์การแยกทะเลแดงของโมเสสถือเป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญ และแสดงให้เห็นถึงปาฏิหาริย์ของพระเจ้า เป็นการปลดปล่อยชาวอิสราเอลจากการกดขี่ของอียิปต์
แต่หลายคนที่ไม่ได้เชื่อในเรื่องของอภินิหารก็คิดว่าเรื่องราวนี้เป็นเพียงตำนาน แต่จากการตรวจสอบหลักฐานทางประวัติศาสตร์แล้ว สันนิษฐานได้ว่าตำนานนี้อาจจะมีเค้าจากความจริงบ้างส่วนหนึ่ง และเหตุการณ์ที่น่าจะเป็นไปได้ ก็คือปรากฎการณ์ทะเลแหวกที่ทำให้ทะเลแดงแยกออกเป็นสองฝั่ง โมเสสและขบวนชาวอิสราเอลจึงเดินข้ามไปอีกฝั่งได้อย่างปลอดภัย
แท้จริงแล้ว ทะเลแหวก เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่สามารถอธิบายได้ด้วยวิทยาศาสตร์ กล่าวคือ เกิดจากอิทธิพลของน้ำขึ้น-น้ำลง โดยสันทรายระหว่างเกาะ มีสันฐาณติดกันในท้องทะเลในระดับใกล้เคียงกัน ตั้งอยู่บริเวณตำแหน่งที่พอดีกับทิศทางของกระแสน้ำที่พัดพาเอาทรายขึ้นมาทับถมกันจนเกิดเป็นแนวสันทรายเชื่อมเกาะทั้งสามเข้าด้วยกัน ในยามที่น้ำทะเลขึ้นปกติจะไม่เห็นสันทรายนี้ แต่พอถึงช่วงเวลาน้ำลงก็จะปรากฏขึ้นมาให้เห็น กลายเป็นหาดทรายขาวเชื่อมกันระหว่างชายฝั่งกับเกาะ
ประเทศไทยเองก็มี “ทะเลแหวก” ตั้งอยู่ในจังหวัดกระบี่ เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเกิดจากอิทธิพลของน้ำขึ้น-น้ำลง โดยสันทรายของเกาะทั้ง 3 ได้แก่ เกาะทับ เกาะหม้อ และเกาะไก่ การท่องเที่ยวทั้งสามเกาะนี้ก็จะเป็นในลักษณะของการนั่งเรือสำเภาชมเกาะทั้งสามเกาะ และมีการหยุดแวะให้ได้ลงไปทำกิจกรรมกันได้แต่ในแต่ละเกาะ เช่น การเดินข้ามกันไปมาระหว่างแต่ละเกาะ การดำน้ำดูปะการังน้ำตื้นสีสันสดใสและปลาหายากพันธุ์ต่าง ๆ ที่สามารถมองเห็นได้ง่าย เนื่องจากเป็นที่รู้กันว่าทะเลกระบี่เป็นทะเลที่มีทั้งความสวยงามและความสะอาดของสภาพแวดล้อม ทำให้เหมาะอย่างมากกับการส่องดูชีวิตใต้ทะเลได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องดำน้ำลงไปลึก ๆ โดยทั้งสามเกาะนั้น มีระยะทางห่างกันไม่มาก ซึ่งทะเลแหวกนั้นจะเกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคมของทุกปี โดยเฉพาะในวันก่อนและหลังวันขึ้น 15 ค่ำ ประมาณ 5 วัน
การสังเกตการณ์ธรรมชาติของโลกและจักรวาลนั้นมีมาตั้งแต่ยุคโบราณ วิทยาศาสตร์สมัยใหม่เริ่มขึ้นในช่วงต้นยุคใหม่ (Modern era) เกิดความพยายามถกเถียงเกี่ยวกับความเชื่อและวิทยาศาสตร์ จึงได้มีการศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจังเพื่อการพัฒนาองค์ความรู้และการทำความเข้าใจกับธรรมชาติของจักรวาล ดังนี้ ประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์ (History of science) จึงเป็นการศึกษาพัฒนาการของวิทยาศาสตร์ รวมทั้งวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและวิทยาศาสตร์เชิงสังคม วิทยาศาสตร์เป็นองค์ความรู้เชิงประจักษ์ทั้นในเชิงทฤษฎีและเชิงปฏิบัติ เกี่ยวกับธรรมชาติของโลกและจักรวาล
ดังนั้น ในสมัยโบราณกาลที่ยังไม่มีการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ทะเลแหวกจึงเป็นสิ่งที่คนในอดีตเชื่อว่าเป็นปรากฎการณ์เหนือธรรมชาติ แต่สมัยใหม่ปัจจุบันนั้นทะเลแหวกได้มีการค้นพบทางวิทยาศาสตร์โดยนักวิทยาศาสตร์ ได้ทำการพิสูจน์แล้วว่าทะเลแหวกไม่ใช่อภินิหาร แต่คือวัฏจักรของธรรมชาติทางท้องทะเล
+++_____________________________________+++
รูปภาพ : เครดิตบนภาพ