ทำไมแอพ Robinhood ต้องปิดตัวลงทั้งที่ขายดี แต่ขาดทุนรวมแล้ว 5,500 ล้านบาท!!!
แอพขวัญใจพ่อค้าแม่ค้าและผู้ใช้งานเดลิเวอรี่ ด้วยราคาอาหารที่ถูกกว่าขายในเจ้าอื่น ซึ่งบางร้านก็ทำเนียนขายเท่าเจ้าอื่นไปเลยก็มี แต่ก็ประกาศปิดตัวลงเพราะทำตามเป้าหมายสำเร็จแล้ว รวมถึงไม่สามารถทนขาดทุนไปมากกว่านี้ได้ ทราบไหมว่า เขาเปิดมาแล้วสามปี ขาดทุนรวมแล้ว 5,500 ล้านบาท
ยอดขายที่ผ่านมาผ่านแอพ Robinhood 2564 รายได้ 16 ลบ. ขาดทุน 1,335 ลบ. 2565 มีรายได้ 538 ลบ. ขาดทุน 1,987 ลบ. 2566 มีรายได้ 724 ลบ. ขาดทุน 2,156 ลบ.
หากเราดูตัวเลขน่าจะเข้าใจว่าขายดีจนเจ๊งเป็นยังไง เพราะทุกๆรายได้ 10 บาท เราจะขาดทุนแล้ว 30 บาท
SCB มีกำไรต่อปีราว 40,000 ล้านบาท การขาดทุนไปกับ Robinhood มากถึง 2,000 ล้านบาท ถือเป็น 5% ของกำไรทั้งหมด ซึ่งหากไม่ขาดทุนส่วนนี้ ก็จะกลับไปเป็นกำไรเพิ่มทันที
ถ้าเรามองในโลกของธุรกิจการทำ CSR หลักหลายพันล้านบาทต่อปี มันก็คงจะมากไปสักหน่อย และหากทำต่อมันอาจขาดทุนมากไปกว่านี้อีก
ต้องรู้ที่มาก่อนว่าโครงการนี้ถือเป็น CSR จากไอเดียของ CEO SCB ตอนนั้นเพื่อออกมาช่วยเหลือสังคม โดยไม่ได้เน้นในรูปแบบของธุรกิจ เรียกว่าตัดยอด x% ของกำไรออกมาเป็นการคืนกลับสังคม และหากเลี้ยงตัวเองได้รอด ตลอดจนมีโอกาสเติบโต ก็จะเป็นอีกช่องทางรายได้ แต่วันนี้ในธุรกิจนี้ไม่มีพื้นที่ของคนใจบุญ
แต่หากจะเอาจริงในธุรกิจนี้คงลำบาก เจ้าที่เก็บ GP 30-35% ยังขาดทุนเป็นพันล้านบาทต่อปี
ดังนั้น 31/7/2024 นี้ ละครเวทีเรื่อง Robinhood แอพของตัวเล็กที่ใจใหญ่ ก็ถึงเวลารูดม่าน ปิดฉากลาโรงจากเราไป ตลาดนี้ก็จะเหลือผู้เล่นสองรายใหญ่ ที่เริ่มจะกำไรบ้างแล้ว หลังจากขาดทุนหลักพันล้านบาทมาหลายปีติดต่อเช่นกัน
อย่างไรก็ดีเงินห้าพันล้านก็ไม่ได้เสียเปล่า SCB เองก็น่าจะได้ภาพของ CSR ช่วงวิกฤติ ตลอดจน Big data เอาไปต่อยอดของตัวเองได้อีกมากมาย ไม่ว่าจะร้านค้า Transaction ตลอดจนพฤติกรรมผู้บริโภคที่ใช้ผ่านแอพ
cr. Axdaman