การถ่ายทอดรายละเอียดของปัญหาและการแก้ปัญหา
เมื่อเราสามารถแยกรายละเอียดที่จำเป็น ออกมาได้แล้ว ต่อไปเราก็ต้องสามารถถ่ายทอดรายละเอียดไปสู่การแก้ปัญหา ซึ่งสามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น เป็นข้อความ รูปภาพ หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ตัวอย่าง
ด่านผ่านทางของลุงสมบัติ ลุงสมบัติต้องการหารายได้เสริมโดยการตัดถนนส่วนบุคคล ที่อนุญาตให้ผู้ขับขี่ยานพาหนะ ผ่านไปมาได้แต่ต้องจ่ายค่าผ่านทาง โดยเริ่มต้นที่คันละ 10 บาท บวกด้วยค่าทำเนียมที่คิดตามจำนวน ล้อของยานพาหนะล้อละ 5 บาท (ตัวอย่างเช่น รถเก๋ง 4 ล้อ จะต้องเสียค่าผ่านทาง 10+4 x 5 = 30 บาท) ส่วนคนเดินเท้าสามารถสัญจรผ่านไปมาได้โดยไม่ต้องเสียค่าผ่านทาง รูป 1.2 แสดงยานพาหนะ และผู้สัญจรที่ผ่านด่านของลุงสมบัติ ให้อธิบายสถานการณ์ใหม่ที่ประกอบไปด้วยรายละเอียดน้อยที่สุด โดยที่ยังมีข้อมูลเพียง พอที่จะนำไปคำนวณว่าลุงสมบัติสามารถเก็บค่าผ่านทางได้เป็นจำนวนทั้งสิ้นกี่บาท
สิ่งที่โจทย์ต้องการทราบ คือ ค่าผ่านทางทั้งหมดที่ลุงสมบัติจะเก็บได้ ซึ่งคำนวณได้จากจำนวน ยานพาหนะและจำนวนล้อของยานพาหนะ ส่วนรายละเอียดอื่นๆ เช่น สี ขนาด รูปทรง จำนวนคน เดินผ่านทางสามารถละทิ้งได้เนื่องจากไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการคำนวณ
สถานการณ์ข้างต้นจึงสามารถพิจารณาให้เหลือเพียงรายละเอียดที่จ าเป็นได้ดังนี้
• ยานพาหนะ 1 ล้อ จำนวน 2 คัน
• ยานพาหนะ 2 ล้อ จำนวน 3 คัน
• ยานพาหนะ 3 ล้อ จำนวน 1 คัน
• ยานพาหนะ 4 ล้อ จำนวน 3 คัน
• ค่ายานพาหนะผ่านทางเริ่มต้น คันละ 1 บาท
• ค่ายานพาหนะผ่านทางเพิ่มเติม ล้อละ 5 บาท
จะเห็นได้ว่ารายการข้างต้นให้ข้อมูลที่เพียงพอต่อการถ่ายทอด ให้กับผู้ที่รับผิดชอบในการนำข้อมูลไปคำนวณ เป็นค่าผ่านทางทั้งหมดที่ลุงสมบัติสามารถรวบรวมได้ ซึ่งคำนวณได้ดังนี้
ค่าผ่านทางทั้งหมด = (จำนวนยานพาหนะทั้งหมด x 10) + (จำนวนล้อทั้งหมด x 5)
= (2 + 3 + 1 + 3) x 10 + ((1 x 2) + (2 x 3)+(3 x 1) + (4 x 3)) x5 = 205 บาท