ข้าวตอกพระร่วง แร่ที่มีคุณค่าเป็นวัตถุมงคลในบ้านเรา หรือที่ต่างชาติเรียกว่า แร่ไพไรต์ แต่ก็มีอีกชื่อว่า "ทองของคนโง่" เอ๊ะ...มันมีที่มาที่ไปยังไงนะเนี่ย...
แร่ไพไรต์ (Pyrite) หรือที่เรียกว่า “ทองคนโง่” (Fool’s Gold) เป็นแร่โลหะที่มีสีเหลืองอร่าม คำว่า “ไพไรต์” มาจากภาษากรีก ซึ่งมีความหมายว่า “ไฟ” (pyr-) โดยเรียกว่า “ไฟ” เนื่องจากเมื่อนำไพไรต์ไปกระทบกับเหล็กแรง ๆ จะทำให้เกิดประกายไฟออกมา1 ประโยชน์ของไพไรต์ส่วนใหญ่คือการนำมาทำเป็นเครื่องประดับ หรือนำไปใช้เป็นส่วนผสมในการทำกรดกำมะถัน โดยเนื่องจากไพไรต์มีสีเหลืองอร่ามจนดูคล้ายกับทองคำ จึงมักทำให้ผู้ที่พบเห็นเข้าใจผิดว่ามันเป็นทองคำ ซึ่งได้รับฉายาว่า “ทองคนโง่” นอกจากนี้ ยังมีชื่ออีกหนึ่งคำว่า “ทองคนโง่” มาจากเรื่องของนักสำรวจชาวอังกฤษ คือ โฟรบิเชอร์ มาร์ติน ที่ในค.ศ. 1577 ได้รับเงินสนับสนุนให้สำรวจประเทศแคนาดา ในการสำรวจครั้งนี้ โฟรบิเชอร์พบหินสีดำที่มีประกายบนเกาะ Kodlunarn และเชื่อว่าเป็นทองคำ แต่เมื่อนำหินไปสกัดแร่ กลับพบว่าหินเหล่านี้เป็นหินกลุ่มแอมฟิบอไลต์และไพรอกซีไนต์ ซึ่งไม่มีค่า ที่สุดแล้ว และหินเหล่านี้ถูกนำไปใช้เป็นวัตถุประดิษฐ์ในการทำถนน และในประเทศไทย มีความเชื่อว่าไพไรต์เป็นวัตถุมงคลที่มีอำนาจในการป้องกันสิ่งชั่วร้าย ซึ่งเรียกว่า “ข้าวตอกพระร่วง” นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อว่าเป็นของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และมีไว้บูชา ลักษณะของไพไรต์เป็นก้อนหินที่มีลักษณะสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ คล้ายลูกเต๋าสีสนิมเหล็กหรือสีน้ำตาลไหม้ ที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ โดยจะพบมากบริเวณเขาพระบาทใหญ่ ต.เมืองเก่า อ.เมือง จ.สุโขทัย
ภาพจาก Pinterest จ้า