เหตุการณ์วันสิ้นพระชนม์เสด็จเตี่ย
เสด็จเตี่ยในที่นี้คือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ซึ่งเป็นที่เคารพรักทั้งหมู่ทั้งทหารเรือและประชาชนทั่วไป สาเหตุของการสิ้นพระชนม์นั้น
เรื่องเล่านี้มิได้ถูกบันทึกอย่างเป็นทางการ มิได้ระบุว่าผู้ใดเป็นผู้ให้มูล ผู้ที่มีชื่ออยู่ในเหตุการณ์นี้ มีตัวตนจริงหรือไม่มิอาจทราบได้ ขอนำเสนออีกข้อมูลหนึ่งที่น่าสนใจในวันที่ท่านสิ้นพระชนม์
พ่อหลิม หรือ เสือไท (ว่ากันว่าคือ ๑ ใน ๗ ทหารเสือของเสด็จเตี่ย ) เล่าว่าตนเองเป็นมหาดเล็กปลุกบรรทม มีหน้าที่ดูแลเรื่องเครื่องบรรทม และคอยปลุกเสด็จในกรมฯ ตามที่ทรงรับสั่ง หน้าที่นี้เองทำให้เขาเป็นมหาดเล็กใกล้ชิดและอยู่ในเหตุการณ์ในวันสิ้นพระชนม์
มหาดเล็กหลิม ได้เล่าเหตุการณ์ในวันที่ต้องสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ด้วยข้อมูลที่แตกต่างไปจากที่มีบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์
ในตอนสายวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ เป็นช่วงเวลาที่เสด็จในกรมฯไปพักผ่อนในที่ประทับที่สร้างขึ้นอย่างเรียบงาย ที่หาดทรายรี จังหวัดชุมพร ทรงประทับรักษาพระองค์จากไข้หวัดใหญ่ เสด็จในกรมฯ ทรงมีรับสั่งให้คนใกล้ชิดเข้าเฝ้าทีละคน
หลังจากประทานปืuยาวให้เขาโดยทรงสำทับว่า อย่านำไปฆ่ าคน ไว้ให้เป็นที่ระลึก แล้วทรงรับสั่งให้นำธูปและดอกไม้มาถวายเพื่อจะไหว้พระ ซึ่งทรงปฏิบัติเป็นประจำทุกวัน ทรงรับสั่งว่า สิบเอ็ดโมงวันนี้ไม่ต้องเข้าไปปลุก ตามปกติในระหว่างประชวร จะทรงตื่นบรรทมมาเสวยพระโอสถในช่วงนี้
เวลาผ่านไปราว ๓ ชั่วโมง ในห้องบรรทมเงียบจนได้ยินเสียงสวดมนต์ดังออกมาเบาๆ แล้วเงียบหายไปพักใหญ่ จึงเห็นควันธูปลอยออกมาตามช่องลมและพระแกลมากจนผิดสังเกต มีใครคนหนึ่งสั่งให้เปิดประตูเข้าไปดูพระองค์ แล้วภาพที่เห็นก็คือ
พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงค์กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ พระบิดาแห่งกองทัพเรือไทย เสด็จในกรมฯ และ เจ้าพ่อ ของลูกหลานไทยทุกคน ได้สิ้นพระชนม์อย่างสงบ ในพระอิริยาบถบรรทมตะแคงพระองค์เสด็จสู่สวรรคาลัยในขณะที่พระหัตถ์ยังทรงพนมธูปและดอกไม้อยู่
พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงค์กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ เป็นพระราชโอรสลำดับที่ ๒๘ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ กับ เจ้าจอมมารดาโหมด (สกุลบุนนาค) ประสูติเมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๒๓ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ ณ. ตำบลหาดทรายรี จังหวัดชุมพร สิริพระชันษาได้ ๔๔ ปี
พระองค์ทรงเป็นผู้วางรากฐานการบริหารงานของกองทัพเรือ ทรงได้รับการเชิดชูในหมู่ทหารเรือเรียกขานพระองค์ว่า "เสด็จเตี่ย" หรือ "หมอพร" และ "พระบิดาแห่งกองทัพเรือไทย" ต่อมาใน พ.ศ. 2536 มีประกาศกองทัพเรือขนานพระนามพระองค์ว่า "พระบิดาของกองทัพเรือไทย".และใน พ.ศ. 2544 แก้ไขเป็น "องค์บิดาแห่งทหารเรือไทย"
ภายหลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ ได้มีการจัดสร้างศาลและพระอนุสาวรีย์พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ รวมทั้งสิ้น 217 แห่งทั่วประเทศไทย เช่น โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร โรงพยาบาลอาภากรเกียรติวงศ์ ฐานทัพเรือสัตหีบ โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี หรือที่พระตำหนักที่หาดทรายรี จังหวัดชุมพร
อ้างอิงจาก: นักประวัติศาสตร์หัวใจแบ่งปัน,วิกิพีเดีย