ประเพณีสารทเดือนสิบ ประเพณีสำคัญของภาคใต้
ประเพณีสารทเดือนสิบ ถือเป็นประเพณีที่สำคัญประเพณีหนึ่งของชาวใต้ ซึ่งจะจัดขึ้นในวันแรม 13 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี (เดือนกันยายนเป็นเดือนที่สิบตามปฏิทินไทยโบราณ )
วัตถุประสงค์ของประเพณีนี้ คือ การทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้กับบรรพบุรุษและญาติพี่น้องที่เรารักซึ่งล่วงลับไปแล้ว
ผู้คนจะมีการจัดเตรียม “หมรับ” (สำรับ) เพื่อไปถวายแด่พระภิกษุ
เอกลักษณ์ที่สำคัญในหมรับ คือ ขนมเดือนสิบ ที่จัดทำขึ้นสำหรับประเพณีสารทเดือนสิบโดยเฉพาะ มี 5 อย่าง ดังนี้
ขนมลา มีรูปร่างคล้ายผ้าจึงเปรียบเทียบขนมนี้กับเสื้อผ้าของบรรพบุรุษ
ขนมพอง มีรูปร่างคล้ายแพและมีน้ำหนักเบา เราจึงเปรียบเทียบขนมนี้กับแพที่เบาและลอยได้ ซึ่งจะถือเป็นพาหนะพาบรรพบุรุษหรือญาติที่ล่วงลับเดินทางไปสู่ที่แห่งความสุขได้
ขนมบ้า มีรูปร่างคล้ายลูกสะบ้าที่เราใช้สำหรับเล่นสะบ้าซึ่งเป็นกีฬายอดนิยมอย่างหนึ่งของชาวใต้ บรรพบุรุษของเราจึงสามารถเล่นสะบ้าได้ในช่วงวันสงกรานต์
ขนมกง (ขนมไข่ปลา) ใช้เป็นสัญลักษณ์ แทนเครื่องประดับ
ขนมเจาะรูหรือขนมเจาะหู ใช้เป็นสัญลักษณ์ แทนเงินสำหรับจับจ่ายใช้สอย
เมื่อยกหมรับและถวายภัตตาหารพระภิกษุแล้ว ก็จะมีการตั้งเปรต ซึ่งผู้คนส่วนใหญ่นิยมตั้งกลางลานวัด พระสงฆ์จะทำพิธีสวดมนต์และกรวดน้ำแผ่กุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับ
และเมื่อพระสงฆ์เก็บสายสิญจน์ออกจากบริเวณนั้น ช่วงนี้ผู้คนจะเข้าไปแย่งอาหารที่ตั้งไว้ เรียกว่า “ชิงเปรต” เพราะเชื่อกันว่า ของที่เหลือจากการเซ่นไหว้ ถ้าใครได้รับประทานจะเป็นสิริมงคล หรือถ้านำไปแขวนไว้ตามต้นไม้ จะทำให้ต้นไม้มีผลดก
ประเพณีสารทเดือนสิบนี้ ถือเป็นประเพณีที่น่าสนใจทีเดียว