ทับสมิงคาล งูพิษอันดับ 8 ของโลก
ประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนชื้น จึงมีสัตว์มีพิษอาศัยอยู่ชุกชุม สำรับสัตว์มีพิษที่มีพิษรุนแรงและเป็นที่รู้จักดี ของคนทั่วไป คือ งู ซึ่งในประเทศไทยมีงูอาศัยอยู่ชุกชุมมากกว่า 180 ชนิด ทั้งที่มีพิษรุนแรง พิษอ่อน และที่ไม่มีพิษ เลย ภาวะถูกงูพิษกัดจัดเป็นภาวะเป็นพิษจากสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติที่พบได้บ่อย ผู้ป่วยมีอัตราเสียชีวิตถ้ารักษาไม่ทัน คนถูกงูกัดเป็นภาวะเจ็บป่วยอย่างหนึ่งที่มักทำให้แพทย์หรือพยาบาลไม่สามารถให้การวินิจฉัยและดูแลรักษาได้ อย่างมั่นใจ บทความนี้จะชี้ให้เห็นว่าแพทย์สามารถใช้ลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วย ร่วมกับข้อมูลพื้นฐานทางระบาด วิทยาในการวินิจฉัยแยกชนิดของงูพิษ และดูแลรักษาผู้ป่วยที่ถูกงูพิษกัดได้อย่างถูกต้อง ประเภทของงูพิษในประเทศไทย งูพิษแบ่งตามลักษณะของพิษงู ได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่
- พิษต่อระบบประสาท (Neurotoxin) เช่น งูเห่า (Cobra), งูจงอาง (King cobra), งูสามเหลี่ยม (Banded krait) และ งูทับสมิงคลา (Malayan krait)
- พิษต่อระบบโลหิต (Hematotoxin) เช่น งูแมวเซา (Russell’s viper), งูกะปะ (Malayan pit viper) และ งูเขียวหางไหม้ (Green pit viper)
- พิษต่อระบบกล้ามเนื้อ (Myotoxin) เช่น งูทะเล (Sea snake)
งูทับสมิงคลา (Malayan Krait) เป็นงูที่ออกหากินตอนกลางคืน มีความว่องไวและมีพิษรุนแรงกว่างูสามเหลี่ยม มักอาศัยตามพื้นดิน ใกล้แหล่งน้ำ และมีความชื้นสูง ลำตัวมีความยาวประมาณ 100-150 เซนติเมตร ลักษณะค่อนข้างกลม ไม่มีสันที่หลังชัดเจน ลำตัวมีสีขาวสลับสีดำเป็นปล้อง ๆ โดยในส่วนของเกล็ดสีขาวอาจจะมีสีดำปนอยู่บ้าง บริเวณท้องเป็นสีขาว หัวเป็นสีดำปนเทา หางเรียวยาวเล็กแหลม
การป้องกันงูฉก
- ถ้าพบงูในระยะห่าง อย่าเข้าใกล้ เพราะงูจะไม่ทำร้ายมนุษย์เช่นกัน
- ถ้าพบงูในระยะใกล้ ให้อยู่นิ่งๆ รองูเลื้อยหนีไป เพราะงูส่วนใหญ่สายตาไม่ดี มักจะฉกสิ่งที่เคลื่อนไหว เพื่อป้องกันตัวเองจากศัตรู
- ถ้างูไม่ยอมเลื้อยหนี ให้ก้าวถอยอย่างช้าๆ จนพ้นระยะห่าง 2 เมตร ซึ่งเป็นระยะพ้นจากการฉกกัดของงู
- หากมีความจำเป็นต้องเดินเข้าไปในพื้นที่ที่มีงู ให้สวมรองเท้าบูตยาวเพื่อป้องกันงูกัด และใช้ไม้ยาวๆ เคาะไปตามพื้นหรือพื้นที่ด้านหน้าเพื่อเตือนให้งูหนีไปก่อน หรือตรวจดูว่ามีงูอยู่หรือไม่
- ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางในเวลากลางคืน หากจำเป็นควรพกไฟฉายหรือวัตถุที่ให้แสงสว่างส่องนำทาง
- ตรวจเช็กบริเวณที่นอนและกองผ้าต่างๆ ก่อนทุกครั้ง เพราะงูมักจะมาหาที่อบอุ่นเพื่อหลบซ่อนตัวอยู่ตามกองผ้า ที่นอน หมอน และมุ้ง
วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อถูกฉก
- ล้างแผลด้วยน้ำสะอาดหรือน้ำเกลือทันที
- ใช้ผ้าพันแผล โดยเริ่มพันจากรอยแผลถูกกัดแล้วพันต่อไปจนถึงข้อต่อหรือสูงเหนือบาดแผลให้มากที่สุด
- หาไม้กระดานหรือวัสดุที่มีความแข็งแรงมาดาม แล้วพันด้วยผ้าพันแผลทับอีกครั้ง เพื่อให้อวัยวะส่วนที่ถูกกัดเคลื่อนไหวน้อยที่สุด
- นำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ที่สุดโดยเร็ว เพื่อรับการรักษาด้วยเซรุ่มแก้พิษงู