หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

รู้เรื่องชุดไทย

โพสท์โดย varietyart

 

หลายคนที่ชอบดูละครก็คงสงสัยว่าชุดในละครที่ใส่มีมากันตั้งแต่เมื่อไหร่เพราะส่วนใหญ่ก็เห็นทำให้ห่มสไบก็นุ่งเสื้อหมูแฮมซึ่งวันนี้เราจะมาพูดคุยถึงวิวัฒนาการและพัฒนาการของการแต่งกายของคนไทยแต่ละยุคแต่ละสมัยกันนะคะ

พัฒนาการของเครื่องแต่งกายตั้งแต่สมัยสุโขทัยมาจนถึงรัตนโกสินทร์ไม่เพียงเกี่ยวข้องกับบริบททางสภาพอากาศแต่อีกแง่หนึ่งยังสะท้อนถึงบริบทอีกหลายประการ ตั้งแต่ยุคสมัยที่เปลือยอกจนถึงช่วงยุคกำเนิดราชปะแตน เสื้อลูกไม้ มาจนถึงเสื้อและกางเกงตามแบบสากลนิยม

หลักฐานเกี่ยวกับการแต่งกายยุคสุโขทัยยังไม่สามารถหาเครื่องบ่งชี้อย่างชัดเจนนอกเหนือจากเครื่องถ้วยสังคโลกรูปชายหญิงเป็นหลักฐานพอช่วยเทียบเคียงได้บ้าง จนมาเมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยาที่กินระยะเวลายาวนานกว่า 400 ปี ซึ่งมีหลักฐานที่สามารถพออธิบายได้

อยุธยา

ในสมัยช่วงต้นอยุธยา ผู้ชายที่เป็นชาวบ้านทั่วไปมักไม่สวมท่อนบน หรือแม้แต่ขุนนางถึงพระมหากษัตริย์ก็สวมเสื้อบ้างตามแต่ความเหมาะสม หลักฐานหนึ่งที่พบข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องแต่งกายคือกฎมณเฑียรบาล เมื่อ พ.ศ. 1901 สมัยพระเจ้าอู่ทอง มีข้อความส่วนหนึ่งว่า "ขุนหมื่นพระกำนัลก็ดี ราชยานก็ดี อภิรมก็ดี โภกหูกระต่าย เสื้อขาว นุ่งขาว ผ้าเชีงวรรณ”

เสื้อผ้ายังเป็นอีกหนึ่ง "รางวัล” ที่พระมหากษัตริย์พระราชทานให้ผู้ประกอบความดีความชอบเช่นรบชนะศัตรู รางวัลเป็นทั้งขันเงิน ขันทอง และ "เสื้อผ้า” ซึ่งทำให้เห็นได้ว่า "เสื้อ” (แบบอยุธยา) มีปรากฏมานานกว่า 500 ปีแล้ว แต่ไม่ได้ใส่ในชีวิตประจำวันทั่วไปซึ่งนั่นทำให้ชาวต่างชาติที่เข้ามาในไทยสมัยพระนารายณ์มหาราช เมื่อ 300 ปีก่อนอย่างนิโกลาส์ แชร์แวส แสดงความคิดเห็นว่า "อาชีพที่อัตคัดที่สุดในราชอาณาจักรสยามก็คืออาชีพช่างตัดเสื้อ เพราะพลเมืองสามัญเขาไม่สวมเสื้อกัน” ก็เป็นแนวความคิดของชาวต่างชาติที่พูดถึงการใส่เสื้อผ้าของคนในยุคนั้นแต่เอาเข้าจริงๆแล้วน่าจะเป็นส่วนสำคัญที่คนไทยไม่ใส่คือเรื่องของสภาวะอากาศจะให้มาแต่งตัวเลิศหรูปิดทุกส่วนแบบชาวยุโรปที่แต่งมาอยุธยาอันนั้นก็คงจะร้อนตายกันทีเดียว

ขณะที่กางเกงก็เชื่อว่ามีขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน ศัพท์ที่คนยุคนี้อาจคุ้นเคยกันคือ "สนับเพลา” หมายถึง กางเกงขาสั้นครึ่งน่อง ในกฎมณเฑียรบาลก็มีเอ่ยถึงสนับเพลาไว้ในส่วนพระสนมที่ต้องโทษถึงประหารชีวิต ให้ใส่ "สนับเพลาจึ่งมล้าง”

ส่วนผู้หญิงมีทั้งเสื้อ-ผ้าสไบ และผ้านุ่ง หลักฐานเกี่ยวกับเครื่องแต่งตัวเจ้านายผู้หญิงยังปรากฏในกฎมณเฑียรบาล อธิบายว่า ลูกเธอ เอกโท "เสื้อโภคลายทอง” หลานเธอเอกโท "เสื้อแพรพรรณ” แต่เชื่อว่าโดยผู้หญิงทั่วไปแล้วก็นิยมห่มสไบ ท่อนล่างนุ่งผ้าจีบ หรือนุ่งแบบโจงกระเบนแต่บางคนในยุคสมัยนี้ก็มาเถียงกันบอกว่าในสมัยนั้นผู้หญิงไม่ใส่เสื้อเดินโทงๆที่ว่าไม่ใส่เสื้อคงจะมีแหละแต่ว่าคงไม่ใช่ทุกคนจะไม่ใส่เสื้อเพราะมีหลักฐานเห็นจากที่ยกตัวอย่างแล้วว่ามีการบันทึกถึงเจ้านายฝ่ายหญิงว่ามีการนุ่งห่มเสื้อผ้าและไอ้คนธรรมดาจะไม่มีเสื้อผ้านุ่งห่มได้อย่างไร

เมื่อมาถึงสมัยกรุงธนบุรี เชื่อว่า การแต่งกายน่าจะยังไม่เปลี่ยนแปลงจากสมัยกรุงศรีอยุธยามากนักจากที่กรุงธนบุรีมีระยะเวลาประมาณ 12 ปี และเวลาผ่านมาถึงยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นก็ยังพบเห็นลักษณะการแต่งกายที่ใกล้เคียงกับกรุงศรีอยุธยาเพราะในยุคนั้นคนยังเรียกตัวเองอยู่เลยว่าเป็นชาวอยุธยาดังนั้นเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายก็คงจะไม่ได้แตกต่างกันมากมาย

รัตนโกสินทร์ : รัชกาลที่ 1 – รัชกาลที่ 3

สมัยรัตนโกสินทร์ ในช่วงต้นยุคตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 3  การแต่งกายยังเป็นแบบสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ผู้ชายเปลือยท่อนบน หรือพาดผ้าบ้าง สวมเสื้อบ้างตามโอกาส แต่เชื่อว่าส่วนหนึ่งน่าจะขึ้นกับสภาพอากาศและกาลเทศะ สำหรับชนชั้นเจ้านายก็มักพบเห็นภาพถ่ายไม่สวมท่อนบนอยู่หลายรูป แต่ในช่วงฤดูหนาวก็จะมีการแต่งกายอีกลักษณะ ดังที่เห็นจากเนื้อความในพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ 3 ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) มีใจความตอนหนึ่งว่า

"…ถ้าฤดูหนาว เจ้าทรงเสื้อสีชั้นเดียว คาดส่านบ้าง แพรสีบ้าง ขุนนางสวมเสื้อเข้มขาบอัตลัด แพรสี 2 ชั้น ที่ได้พระราชทาน เสนาบดีคาดส่าน ถ้าวันไหนที่ไม่หนาว หรือฤดูร้อน ผู้ใดสวมเสื้อเข้ามาก็ไม่โปรด…”

นอกจากนี้ ยังมีหลักฐานเกี่ยวกับการแต่งกายเมื่อเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์อีก โดยเว็บไซต์สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ยกข้อความจากสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ทรงอธิบายว่า

"ข้าราชการมาจากบ้านมักเอาเสื้อคลุมมาด้วย ถ้าพระเจ้าแผ่นดินไม่ทรงฉลองพระองค์ ก็ต้องถอด หนาวแสนหนาวก็ต้องทนเอา บางคราวกำลังเฝ้า พระเจ้าแผ่นดินทรงเรียกฉลองพระองค์มาสวมก็มี จนเป็นที่สังเกตกันว่า เมื่อไรพระถันหด ข้าราชการก็ดีใจจะได้สวมเสื้อ”

ส่วนการแต่งกายท่อนล่างของผู้ชาย จะนุ่งโจงกระเบนผืนเดียว หรือหากเป็นทหารอาจนุ่งโจงกระเบนทับสนับเพลา สำหรับกรณีที่อยู่ในบรรยากาศแบบตามสบาย บางคนก็อาจนุ่งผ้าลอยชาย หรือปล่อยชายลงมาไม่ม้วนไปเหน็บท้าย ขณะที่ผู้หญิงเมื่อสังเกตจากภาพจิตรกรรมฝาหนัง ก็จะพบว่ายังนุ่งโจงกระเบน ส่วนหญิงชาววังอาจนุ่งจีบ (ใกล้เคียงกับที่ตัวนางที่อยู่ในพวกละครนุ่ง)

รัชกาลที่ 4

ครั้นสมัยรัชกาลที่ 4 การแต่งกายจึงเริ่มเปลี่ยนแปลงไปตามแบบตะวันตกหลังจากติดต่อกับยุโรปมากขึ้น รัชกาลที่ 4 ทรงโปรดให้สวมเสื้อเข้าเฝ้าฯ สืบเนื่องจากช่วงก่อนหน้าพระราชพิธีบรมราชาภิเษก มีข้าราชการมาเข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พลับพลาที่ประทับชั่วคราว ทรงพบว่า ข้าราชการที่เข้าเฝ้าไม่สวมเสื้อ พระองค์ทรงเห็นว่าข้าราชการในประเทศมหาอำนาจสวมเสื้อกันหมด มีเพียงแต่ชาวป่าที่ยังเปลือยท่อนบน ดังพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ 4 ตอนหนึ่งว่า

"ครั้งนั้นยังไม่มีธรรมเนียมที่จะสวมเสื้อเข้าเฝ้า จึงดำรัสว่า ดูคนที่ไม่ได้สวมเสื้อเหมือนเปลือยกาย ร่างกายจะเป็นกลากเกลื้อนก็ดีหรือเหงื่อออกมาก็ดี โสโครกนัก…”

หลังจากนั้นจึงเริ่มมีธรรมเนียมข้าราชการสวมเสื้อมาเข้าเฝ้า แต่ช่วงแรกยังไม่เป็นแบบแผนที่ชัดเจน ภายหลังจึงเริ่มเป็นเสื้อกระบอกแบบเสื้อบ้าบ๋า (เสื้อของบุตรชาวจีนที่เมืองปัตตาเวีย) ซึ่งกลายเป็นต้นแบบของเสื้อข้าราชการในราชสำนักในภายหลังก่อนที่รูปแบบตะวันตกจะแพร่หลายในช่วงการปกครองแบบประชาธิปไตย

กรณีนี้หม่อมราชวงศ์แน่งน้อย ศักดิ์ศรี ยังวิเคราะห์ว่า การที่รัชกาลที่ 4 โปรดให้ข้าราชการสวมเสื้อเข้าเฝ้า ส่วนหนึ่งมาจากที่พระองค์ทรงเคยเป็นพระภิกษุ เมื่อลงอุโบสถกรรม พระสงฆ์ต้องแต่งกายให้เรียบร้อย แต่แทนที่จะทรงนำการแต่งกายของพระสงฆ์มาเทียบ พระองค์ทรงใช้ตัวอย่างประเทศใหญ่มาเปรียบเทียบแทน (หม่อมราชวงศ์แน่งน้อย ศักดิ์ศรี, 2549)

อย่างไรก็ตาม ปัจจัยอีกส่วนหนึ่งอาจมองได้ว่ามาจากอิทธิพลจากการติดต่อกับตะวันตก ดังเช่นพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 4 ซึ่งทรงสวมสนับเพลา (กางเกง) และฉลองพระองค์ (เสื้อ) แบบฝรั่งฉายพระรูปหลายครั้ง

รัชกาลที่ 5

การเปลี่ยนแปลงเรื่องเครื่องแต่งกายมาเริ่มแบบจริงจังในสมัยรัชกาลที่ 5 เริ่มเกิดเสื้อราชปะแตน อีกทั้งทรงผมผู้ชายก็เลิกไว้ทรงมหาดไทย หลังจากที่รัชกาลที่ 5 ทรงเสด็จไปต่างประเทศครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2413 ทรงทอดพระเนตรความเจริญของบ้านเมืองใกล้เคียงอย่างสิงคโปร์และชวา โปรดฯ ให้ผู้ตามเสด็จไว้ผมยาวตั้งแต่ก่อนออกเดินทาง จากนั้นพระองค์ทรงเปลี่ยนแบบพระเกศาด้วย ข้าราชการทั้งหลายก็เปลี่ยนตามพระราชนิยม ทำให้ทรงมหาดไทยเริ่มเสื่อมความนิยม

ช่วงการเปลี่ยนทรงผมขุนนางผู้ใหญ่บางรายยักย้ายตัดผมข้างล่างสั้นข้างบนยาว เรียกกันว่า "ผมรองทรง” (ครึ่งไทยครึ่งฝรั่ง) จึงถือว่าผมแบบรองทรงเริ่มเกิดมาตั้งแต่สมัยนั้น

สำหรับเสื้อราชปะแตนนั้นเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2415 เริ่มต้นจากที่รัชกาลที่ 5 ทรงเห็นว่าเสื้อนอกแบบฝรั่งใส่แล้วร้อนอบอ้าวเพราะต้องมีเสื้อใน ผ้าผูกคอ จึงทรงคิดฉลองพระองค์คอปิด กระดุม 5 เม็ด ไม่ต้องสวมเสื้อชั้นใน เรียกกันว่า "ราชปะแตน” เพราะมาจาก "ราช” กับ "Pattern” (รูปแบบ)

ขณะที่ผู้หญิงก็มีเปลี่ยนแปลงทรงผมเช่นกัน เปลี่ยนจากผมปีกแบบเก่ามาไว้ผมยาว เริ่มเพิ่มเสื้อแขนยาวแล้วจึงห่มสไบทับในช่วง พ.ศ. 2416 โดยโปรดฯ ให้ผู้หญิงในราชสำนักใส่เสื้อแขนยาว ชายเสื้อเพียงบั้นเอว และห่มแพร สไบเฉียงบ่านอกเสื้อ และให้สวมเกือกบู๊ตกับถุงเท้าตลอดน่อง และยังเกิดเสื้อลายลูกไม้และเสื้อแขนพองแบบหมูแฮม

ส่วนเสื้อลายลูกไม้ที่เราเห็นใส่กันโดยทั่วทั้งในหนังในละครและภาพถ่ายมีมาอย่างช้าตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2428 คาดว่า เป็นอิทธิพลจากที่มีห้างขายเสื้อผ้าของฝรั่งและแฟชั่นในเมืองนอก สังเกตจากภาพถ่ายของเจ้านายผู้หญิง อาทิ พระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ขณะที่เสื้อผู้หญิงที่แขนพองตอนบนแบบขาหมูแฮม คาดว่านิยมกันเมื่อ พ.ศ. 2439 จากนั้นจึงเปลี่ยนเป็นสวมเสื้อแพรแขนยาวไม่โป่งตอนบน

รัชกาลที่ 6

สมัยรัชกาลที่ 6 ชาวบ้านก็เริ่มแต่งกายตามฐานะและสภาพสังคม ผู้ชายทั่วไปนุ่งกางเกงแพรของจีน หรือนุ่งผ้าม่วง ผ้าพื้น (ผ้าทอเอง) สวมรองเท้าบ้าง หรือไม่สวมบ้าง ข้าราชการสวมเสื้อราชปะแตน นุ่งผ้าม่วง สวมรองเท้า

ผู้หญิงทั่วไปเดิมทีก็นุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อ หรือคาดผ้าแถบ ห่มสไบ ต่อมาเริ่มมีพระราชนิยมให้นุ่งผ้าซิ่น ไว้ผมยาว และเกิดแฟชั่นเสื้อแขนสั้น ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 7 ก็เปลี่ยนแปลงอีกคราเป็นเสื้อไม่มีแขน

รัชกาลที่ 8 – รัชกาลที่ 9 : รัฐนิยม ถึงชุดประจำชาติ

ในสมัยรัชกาลที่ 8 นโยบายของจอมพล ป. พิบูลสงครามก็เข้ามาปรับเปลี่ยนการแต่งกายอีกครั้ง หลังจากเข้ามาดำรงตำแหน่งพ.ศ. 2481 ให้ชายและหญิงสวมหมวก เสื้อมีแขน (ชาย) และรองเท้า ผู้หญิงต้องสวมเสื้อคลุมไหล่ และชักชวนให้สวมผ้าถุงแทนโจงกระเบน

เมื่อมาถึงสมัยรัชกาลที่ 9 ในช่วงก่อนพ.ศ. 2500 การแต่งกายใกล้เคียงกับสมัยรัชกาลที่ 8 มีรายละเอียดเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อยตามสมัยนิยม อาทิ กระโปรงนิวลุคของฝ่ายหญิง (กระโปรงบาน นั่งกับพื้นแล้วจะเห็นเป็นวงกลม) กับกระโปรงสุ่มไก่

หลังพ.ศ. 2500 จึงเริ่มมี "ชุดแต่งกายประจำชาติ” ทั้งหญิงและชาย โดยเกิดในฝ่ายหญิงก่อนในพ.ศ. 2503 สืบเนื่องมาจากพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 เมื่อครั้งเสด็จฯ เยือนยุโรปและอเมริกา 14 ประเทศ ทรงโปรดฯ ให้คิดชุดประจำชาติรวม 8 แบบเพื่อสวมในโอกาสต่างๆ ดังเรียกกันว่า "ชุดไทยพระราชนิยม”

ฝ่ายชายเริ่มเมื่อ พ.ศ. 2522 มาจากช่วงพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสมัยนั้นเยือนประเทศอาเซียน และเห็นแต่ละประเทศมีชุดประจำชาติ จึงนำความขึ้นกราบบังคมทูลปรึกษาสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 พระองค์ทรงพระราชทานฉลองพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 แก่พลเอกเปรม พร้อมทั้งพระราชทานแบบเสื้อ จึงเกิดเป็น "เสื้อพระราชทาน” พลเอก เปรม เผยแพร่เมื่อ พ.ศ. 2522 โดยมี 3 แบบ แขนสั้น, แขนยาวคาดผ้า และแขนยาวไม่คาดผ้า เป็นเสื้อคอตั้งมีสาบผ่าอก มีกระดุม 5 เม็ด

อีกด้านหนึ่งช่วงพ.ศ. 2511 ก็เริ่มเป็นยุคของ "แฟชั่น” สมัยนิยม ซึ่งเปลี่ยนแปลงกันตามกระแส ตั้งแต่ กระโปรงสั้น กระโปรงมิดี้ (ครึ่งน่อง) กระโปรงแม็กซี่ (ใส่ไปงานราตรี) เมื่อพ.ศ. 2513 มีกระแสฮิปปี้ (เสรีชนตะวันตก) ก็เริ่มมีไว้ผมยาว มาถึงกางเกงขายาว ที่มีศัพท์เรียกกันว่า กางเกงเด๊ฟ (ลีบทั้งขา) กางเกงม้อด (ลีบเฉพาะหัวเข่า) กางเกงเซลเลอร์ (หลวมตั้งแต่เอวถึงกรอมรองเท้า) และกลายเป็นกางเกงแบบสุภาพที่ดูเรียบแต่สุภาพ สวมใส่สบายในปัจจุบัน

เรียกว่าการแต่งกายตามยุคสมัยแต่ละยุคก็เหมาะสมกับเวลา ณ ช่วงนั้นๆพอมาสมัยนี้ก็จะมียุคของการแต่งกายแบบแฟชั่นของการร่วมสมัยแต่สิ่งหนึ่งที่เราควรภาคภูมิใจคือชุดไทยของเรางดงามจนกระทั่งชาวต่างชาติมองว่าหากมาเมืองไทยต้องสักครั้งหนึ่งได้ใส่ชุดไทยถ่ายภาพสวยๆ และคนไทยในปัจจุบันก็เช่นเดียวกันหากเดินทางไปตามโบราณสถานก็จะใส่ชุดไทยเพื่อถ่ายภาพเซลฟี่เก็บไว้เป็นที่ระลึก ซึ่งชุดไทยใครใส่ก็สวย

โพสท์โดย: varietyart
อ้างอิงจาก: สารานุกรมไทย, เอนกนาวิกประมูล, กระทรวงวัฒนธรรม
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
varietyart's profile


โพสท์โดย: varietyart
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
10 VOTES (5/5 จาก 2 คน)
VOTED: varietyart, guh
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
เงินดิจิทัล 10,000 บาท เฟส 3 มาแน่! คนทั่วไปรับผ่านดิจิทัลวอลเล็ต กระตุ้นเศรษฐกิจปี 2568จบเห่! DSI สั่งฟ้อง 18 บอส ดิไอคอนกรุ๊ป ข้อหาอื้อ ฉาวสะเทือนวงการ!เตือนภัย! เครื่องครัวพลาสติกสีดำ เสี่ยงมะเร็งสูง บ้านไหนมีรีบเช็กด่วน!น้องเต้าหู้แจกไข่ให้ชาวบ้าน แต่กลับเจอมนุษย์ป้ารุมเข้ามาจัดการ ทำเอาน้องอึ้งจนพูดไม่ออก เห็นแล้วรู้สึกอายแทนจริงๆแมลงชีปะขาว: ชีวิตอันแสนสั้นที่เกิดมาเพื่อสืบสายพันธุ์"นก ฉัตรชัย-นก จริยา-หน่อง อรุโณชา" ผู้จัดมือทองช่อง 3 ตบเท้าซบช่อง MONO ไม่ต้องบอกผู้ใหญ่ เสนอช่องอื่นได้เลยชายญี่ปุ่นถูกจับกุมในข้อหาบุกรุกทรัพย์สินของผู้อื่นเป็นงานอดิเรก13 ผักพื้นบ้านลดน้ำตาลในเลือด กินสบาย ไม่ทำลายตับเส้นทางดวงดาว "ต่อ ธนภพ" สิ่งลังเลคว้าความสำเร็จยืนหนึ่งในวงการ10อันดับอาชีพที่กำลังจะหายไปจระเข้ผอมที่สวนสัตว์จีนทุเรียนฟีเวอร์ในจีน! ทำไมคนจีนถึงคลั่งรักทุเรียนหนักมาก นำเข้าปีที่แล้วทะลุ 2 แสนล้านบาท!
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
"นก ฉัตรชัย-นก จริยา-หน่อง อรุโณชา" ผู้จัดมือทองช่อง 3 ตบเท้าซบช่อง MONO ไม่ต้องบอกผู้ใหญ่ เสนอช่องอื่นได้เลยสรุปดราม่าลิปสติกกับบทเรียนของ "เพชรปากปลาร้า"ชายญี่ปุ่นถูกจับกุมในข้อหาบุกรุกทรัพย์สินของผู้อื่นเป็นงานอดิเรกจระเข้ผอมที่สวนสัตว์จีน13 ผักพื้นบ้านลดน้ำตาลในเลือด กินสบาย ไม่ทำลายตับ10อันดับอาชีพที่กำลังจะหายไป
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
ว้าว! เปิดโปงเงินเดือน "ทหารเกาหลีเหนือ" ในรัสเซีย แต่เดี๋ยวก่อน...เงินไปไหนหมด?!การดูแลสุขภาพจิต: แนวทางสำคัญในการรักษาสมดุลชีวิตในยุคสมัยใหม่13 ผักพื้นบ้านลดน้ำตาลในเลือด กินสบาย ไม่ทำลายตับ10อันดับอาชีพที่กำลังจะหายไป
ตั้งกระทู้ใหม่