วันมาฆบูชา
ประวัติความเป็นมาและความสำคัญ
วันมาฆบูชา คือ วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 มักจะตรงกับเดือนกุมภาพันธ์ในปฏิทินสากล นับเป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสแก่ศิษยานุศิษย์ว่า “ต่อไปนี้อีก 3 เดือน เราจักเสด็จดับขันธปรินิพพาน”คือเป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง "โอวาทปาติโมกข์"แก่พระสงฆ์เป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้มาแล้วเป็นเวลา 9 เดือน ซึ่งหลักคำสอนนี้เป็นหลักการ และวิธีการปฏิบัติต่าง ๆ หากสรุปเป็นใจความสำคัญ จะมีเนื้อหาว่า "ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์"
วันมาฆบูชาได้เกิดเหตุอัศจรรย์ขึ้นพร้อม ๆ กันถึง 4 ประการ อันได้แก่
1. วันนั้นตรงกับวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ซึ่งพระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์
2. มีพระสงฆ์จำนวน 1,250 รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย ณ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ เพื่อสักการะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
3. พระสงฆ์ที่มาประชุมทั้งหมดล้วนแต่เป็นพระอรหันต์ ผู้ได้อภิญญา 6
4. พระสงฆ์ทั้งหมดได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้า หรือ "เอหิภิกขุอุปสัมปทา"
ความหมายของคำว่า “มาฆบูชา” ย่อมาจากคำว่า “มาฆปุรณมีบูชา” แปลว่า การบูชาพระในวันเพ็ญเดือน 3 ซึ่งในวันนี้เองได้เกินเหตุการณ์สำคัญพร้อมกัน 4 เหตุการณ์ เรียกว่า “จาตุรงคสันนิบาต” มีความหมาย ดังนี้
ความหมายของคำว่า “มาฆบูชา” ย่อมาจากคำว่า “มาฆปุรณมีบูชา” แปลว่า การบูชาพระในวันเพ็ญเดือน 3 ซึ่งในวันนี้เองได้เกินเหตุการณ์สำคัญพร้อมกัน 4 เหตุการณ์ เรียกว่า “จาตุรงคสันนิบาต” มีความหมาย ดังนี้
จาตุร แปลว่า 4
องค์ แปลว่า ส่วน
สันนิบาต แปลว่า ประชุม
ความหมายของวันมาฆบูชา
คำว่า "มาฆะ" นั้น เป็นชื่อของเดือน 3 ย่อมาจากคำว่า "มาฆบุรณมี" หมายถึง การบูชาพระในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะตามปฏิทินของอินเดีย หรือเดือน 3
หลักธรรมวันมาฆบูชา
หลักธรรมสำคัญในวันมาฆบูชา คือ “โอวาทปาฏิโมกข์” พระพุทธเจ้าแสดงธรรมให้แก่พระอรหันต์ทั้ง 1,250 รูปในวันนั้น ได้แก่ การทำความดี ละเว้นความชั่ว และทำจิตใจให้บริสุทธิ์
กิจกรรมที่ชาวพุทธนิยมปฏิบัติในวันมาฆบูชา
1 ทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง
จะปฏิบัติกันตอนเช้าตรู่ โดยเป็นการถวายอาหารแด่พระภิกษุสามเณร รูปเดียวหรือหลายรูป จะปฏิบัติเป็นประจำหรือ เป็นครั้งคราวก็ได้ เนื่องในวันปีใหม่หรือวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา จึงนิยมทำบุญตักบาตรเพื่อเป็นสิริมงคลให้แก่ชีวิต
2 เข้าวัดฟังธรรม พระเทศนา
การฟังธรรมถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมากๆ เพราะคนในสมัยพุทธกาลจำนวนมาก สามารถ "บรรลุโสดาบัน" ได้ด้วยการฟังธรรมเพียงเท่านั้น การฟังธรรมจึงเป็นเครื่องมือที่ขัดเกลาจิตใจได้ดีมากอย่างหนึ่ง
3 การเวียนเทียน ในบริเวณอุโบสถ
วัดต่างๆก็จะมีการจัดพิธีเวียนเทียน ซึ่งทำสืบต่อกันมาอย่างช้านาน โดยในการเดินเวียนเทียนรอบโบสถ์ จะกระทำ 3 รอบ ผู้ร่วมเวียนเทียนจะถือดอกไม้ เเละธูปเทียน พนมมือเเละเดินเวียนไปทางขวา เรียกว่า
เวียนแบบทักขิณาวัฏ
รอบที่ 1 ให้รำลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า โดยภาวนาคาถา บทอิติปิโส ภควาฯ ไปจนจบ เพื่อให้จิตใจมีสมาธิ
รอบที่ 2 ให้รำลึกถึงคุณพระธรรม โดยภาวนาคาถา บทสวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโมฯ ไปจนจบ
รอบที่ 3 ให้รำลึกถึงคุณพระสงฆ์ โดยภาวนาคาถา บทสุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆฯ ไปจนจบ
4 การรักษาศีล ถือศีล และทำทาน
เพื่อให้จิตใจผ่องใส หรือใครที่เดินทางไปวัด ก็สามารถไปทำบุญปล่อยสัตว์ เพื่อเป็นการให้ทานที่ยิ่งใหญ่ ในการต่อชีวิตสัตว์โลก
5 การนั่งสมาธิ
การฝึกปฏิบัติใช้ความตั้งมั่น จดจ่อ และแน่วแน่ การนั่งสมาธิเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ทำง่าย อกจากนี้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย ทั้งยังลดความเครียดลงได้
ที่มาของรูป https://www.freepik.com/sea