🍌กล้วยหอม🍌 ช่วยรักษากระดูกเปราะได้🤩
กล้วยเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์มากมายและเป็นผลไม้ที่คนไทยต่างรู้จักกันดีกู้ภัยมีหลายชนิดมากมายวันนี้เราจะพาท่านมารู้จักกับ " กล้วยหอม " เรามาดูกันครับกล้วยหอมปลูกอย่างไรมีประโยชน์อะไรกันบ้าง
กล้วยหอม เป็นไม้ล้มลุกชนิดหนึ่ง มีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ เช่น กล้วยหอมจันท์ กล้วยหอมทอง กล้วยหอมเขียว โดยกล้วยหอมเขียวหรือกล้วยหอมคาเวนดิชเป็นกล้วยหอมที่นิยมปลูกกันโดยทั่วไป[1] จัดเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยคุณค่าสารอาหารครบถ้วนตามหลักทางโภชนาการ เช่น มีวิตามิน ใยอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย มีสารแทนนิน ซึ่งช่วยยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ Escherichia coli เป็นต้น กล้วยหอมถูกจัดเป็นผลไม้เมืองร้อน สามารถปลูกได้ในทุกประเทศที่มีภูมิอากาศร้อนชื้นหลายแห่ง สำหรับประเทศไทย สามารถปลูกกล้วยหอมได้ทั่วทุกภาค
ลักษณะทัวไปของกล้วยหอม
ราก รากกล้วยหอมเป็นแบบ adventitious root ที่แตกออกจากหน่อ ซึ่งหน่อจะแตกออกจากเหง้า รากมีความยาวได้มากกว่า 5 เมตร ลึกลงดินได้ถึง 5 - 7.5 เมตร
ลำต้น มีลำต้นจริงเป็นหัวหรือเหง้าอยู่ใต้ดิน และมีลำต้นที่อยู่เหนือดินสูง 2.5 - 3.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 20 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกมีประดำ ด้านในสีเขียวอ่อนและมีเส้นลายสีชมพู
ใบ เป็นใบเดี่ยว เป็นแบบขนาน ก้านใบมีร่องค่อนข้างกว้าง และมีปีก เส้นกลางใบสีเขียว ใบอาจยาวได้มากถึง 3 เมตร
ดอก/ปลี ดอกหรือปลีจะแทงออกจากหยวกตรงกลางปลายยอด เมื่อแทงออกช่วงแรกจะตั้งตรง และค่อยๆโค้งงอลงด้านล่าง ด้านบนสีแดงอมม่วง มีไข่ ด้านในสีแดงซีด บรรจุน้ำข้างใน
ผล กล้วยหอมติดผลเป็นเครือ เครือหนึ่งมี 4 - 6 หวี หวีหนึ่งมี 12 - 16 ผล กว้าง 3 - 4 เซนติเมตร ยาว 21 - 25 เซนติเมตร ปลายผลมีจุกเห็นชัดเปลือกบาง เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทอง แต่ที่ปลายจุกจะมีสีเขียว แล้วเปลี่ยนสีภายหลัง เนื้อสีขาวขุ่น กลิ่นคาว รสหวานอุ่นฉ่ำ
ขั้นตอนการปลูกกล้วยหอม
การเตรียมดิน :ไถดะ 1 ครั้ง ตากดินแล้วไถพรวน 1-2 ครั้ง ให้ดินร่วนซุยจนหมดวัชพืช ถ้ามียังวัชพืชอยู่มากกว่าร้อยละ 20 ต้องไถพรวนใหม่
การเตรียมหลุมปลูก: ระยะปลูกระหว่างแถวและต้น 2x2 เมตร ขนาดหลุมปลูก ขนาด 30x30x30 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยดินผสมปุ๋ยอินทรีย์ ด้วย 5 กิโลกรัมต่อหลุม
การเตรียมพันธุ์และการปลูก: ใช้หน่อพันธุ์ที่สมบูรณ์ ปราศจากศัตรูพืช หน่อยาว 25-35 เซนติเมตร มีใบแคบ 2-3 ใบ วางหน่อพันธุ์ที่ก้นหลุม จัดวางให้ด้านที่ติดต้นแม่อยู่ในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้มีการออกดอกไปในทิศทางเดียวกัน และสะดวกในการดูแลรักษา กลบดินและกดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น คลุมดินด้วยฟางข้าวหรือหญ้าแห้ง และรดน้ำให้ชุ่ม
การปลูก จำแนกการปลูกออกเป็น 4 แบบคือ 1) การปลูกโดยการไถยกร่อง ขนาดกว้างประมาณ 1 เมตร เหมาะสำหรับพื้นที่ลุ่มลักษณะเป็นที่นามาก่อน โดยจะปลูกกล้วยบนร่องดังกล่าว 2) การปลูกโดยการไถยกร่องแต่ปลูกกล้วยในร่อง และให้น้ำโดยการปล่อยน้ำไหลไปตามร่องที่ปลูกกล้วยเหมาสำหรับพื้นที่ราบและมีความลาดเอียงเล็กน้อย 3) การปลูกโดยไม่ยกร่อง เหมาะสำหรับพื้นที่ไร่ที่ไม่มีน้ำขังในฤดูฝน เช่นที่ราบ ที่เชิงเขา 4) การปลูกโดยการขุดร่องน้ำ เหมาะสำหรับพื้นที่ลุ่มน้ำมีน้ำขังตลอดปี มีระบบชลประทานเพียงพอ และลักษณะดินเป็นดินเหนียว เพราะดินทรายอาจทำให้เกิดการพังทลายของร่องน้ำได้ง่าย
การรดน้ำ กล้วยเป็นพืชที่ต้องการน้ำสม่ำเสมอ และขาดน้ำไม่ได้ การให้น้ำควรสังเกตหน้าดิน เมื่อดินแห้งก็ควรรดน้ำ หากให้น้ำไม่เพียงพอจะทำให้ต้นกล้วยและผลผลิตที่ได้ไม่สมบูรณ์ หักล้มง่าย ซึ่งระบบการให้น้ำพืช แบ่งออกเป็น 4 รูปแบบดังนี้ 1) ระบบสปริงเกอร์....ดีที่สุด 2) ระบบน้ำท่วมร่อง(น้ำไหลไปตามร่อง) 3) ระบบน้ำหยด 4) ใช้เรือรดน้ำ
การให้น้ำ:ต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอตลอดฤดูปลูก ในฤดูฝนไม่จำเป็นต้องให้น้ำหากฝนตกสม่ำเสมอ แต่หากฝนทิ้งช่วงจนหน้าดินแห้ง ควรสูบน้ำเข้าแปลงเป็นระยะๆ ในหน้าแล้ง ต้องสูบน้ำเข้าแปลงอย่างสม่ำเสมอ
การให้ปุ๋ย:ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 และ 2 เมื่อกล้วยหอมอายุ 1 และ 3 เดือน ด้วยสูตร 20-10-10 หรือ 15-15-15 หรือสูตร ใกล้เคียงอัตรา 125-250 กรัมต่อต้นต่อครั้ง ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 3 และ 4 เมื่ออายุ 5 และ 7 เดือน ด้วยสูตร 13-13-21 หรือสูตรใกล้เคียง อัตรา 125-250 กรัมต่อต้นต่อครั้ง ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก) ปีละ 1-2 ครั้ง
การแต่งหน่อ: หลังจากปลูกกล้วยประมาณ 5 เดือน ให้แต่งหน่อ เพื่อให้ต้นแม่มีความสมบูรณ์
การค้ำยันต้น: ต้องใช้ไม้ค้ำยันหรือดามกล้วยทุกต้น ที่ออกปลีแล้ว เพื่อป้องกันลำต้นหักล้ม และตรวจดูการค้ำยันให้อยู่ในสภาพที่มั่นคงแข็งแรง
การหุ้มเครือ และตัดใบธง: การหุ้มเครือกระทำหลังจากตัดปลีไม่เกิน 15 วัน เพื่อให้ผิวกล้วยสวย และป้องกันแมลงทำลายด้วยถุงพลาสติกสีฟ้า แบบเปิดด้านล่าง โดยหุ้มทั้งเครือ และหุ้มทุกเครือ ส่วนการตัดใบธง ตัดเมื่อใบธงเริ่มหักก่อนที่จะเสียดสีกับผิวกล้วย
ประโยชน์ของกล้วยหอม
ช่วยป้องกันกระดูกเปราะ
กล้วยหอมมีฟอสฟอรัสค่อนข้างสูง ซึ่งสารอาหารชนิดนี้จะมีส่วนช่วยเสริมความแข็งแรงของกระดูกเราได้ อีกทั้งในกล้วยหอมยังมีแคลเซียม ช่วยเสริมความแข็งแกร่งของกระดูกส่วนต่าง ๆ ในร่างกายได้อีกทาง
ต้านอนุมูลอิสระ
กล้วยเป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีอยู่พอสมควร ดังนั้นจะถือเป็นผลไม้ต้านอนุมูลอิสระอีกชนิดหนึ่ง มีทั้งวิตามินซี ที่มีอยู่ในกล้วย ยังจะช่วยเสริมความแข็งแรงของหลอดเลือด และป้องกันโรคลักปิดลักเปิดได้ด้วย
ช่วยคลายเครียด
เมื่อร่างกายตกอยู่ในสภาวะเครียด ความดันเลือดก็จะสูงขึ้น ส่งผลให้เรารู้สึกไม่สบายเนื้อไม่สบายตัว หรืออาจก่อให้เกิดอาการปวดหัวตุบ ๆ ได้ ซึ่งโพแทสเซียม และวิตามินในกล้วยหอม จะช่วยลดความดันเลือดให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติ จึงทำให้ร่างกายลดระดับความตึงเครียดลงไปด้วยนั่นเอง
บำรุงสายตา
กล้วยหอมมีทั้งวิตามินเอ และเบต้า-แคโรทีน ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญต่อสุขภาพดวงตา มีส่วนช่วยบำรุงการทำงานของระบบประสาทตา จึงสามารถบำรุงสายตา และการมองเห็นได้เป็นอย่างดี
แก้ท้องผูก
ไฟเบอร์ที่มีอยู่ในกล้วยหอม เป็นไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำได้ ซึ่งดีต่อระบบขับถ่ายของเรามากเลยทีเดียว ดังนั้นใครมีอาการท้องผูกบ่อย ๆ ลองกินกล้วยหอมให้ได้ทุกวัน วันละ 1 ลูก จะช่วยแก้ท้องผูกให้คุณได้
ช่วยเติมพลังให้ร่างกาย
ในกล้วยหอมมีวิตามินซี เพราะวิตามินซี มีส่วนสำคัญต่อกระบวนการผลิตพลังงานของร่างกาย ดังนั้นใครอยากเติมพลังให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า กล้วยหอมสักลูกช่วยได้ โดยเฉพาะหากกินกล้วยหอมก่อนออกกำลังกาย ก็จะช่วยให้มีแรงอึดขึ้นด้วย
แก้นอนไม่หลับ
กินกล้วยหอมก่อนนอนก็เป็นอีกหนึ่งวิธีแก้นอนไม่หลับได้ เพราะกล้วยหอมอุดมไปด้วยกรดอะมิโน และทริปโตเฟน สารประกอบสำคัญของการสร้างเซโรโทนิน ฮอร์โมนในร่างกาย ที่ช่วยให้หลับง่ายขึ้น ดังนั้นใครมีอาการนอนหลับกระสับกระส่าย นอนไม่หลับบ่อย ๆ แนะนำให้กินกล้วยหอมหลังมื้อเย็น แล้วค่อยอาบน้ำนอน
ช่วยย่อยอาหาร
กากอาหารในกล้วยหอม จะช่วยให้การทำงานของระบบย่อยอาหารคล่องตัวมากขึ้น ยิ่งถ้ากินกล้วยหอมได้บ่อย ๆ ก็จะช่วยปรับจูนระบบย่อยอาหารให้ทำงานได้เป็นปกติดี ชนิดที่เราไม่จำเป็นต้องพึ่งยาช่วยย่อยกันอีกเลย
สรรพคุณกล้วยหอมพร้อมเป็นยา
เป็นยาทำให้ปอดชุ่ม รักษาโรคร้อน กระหายน้ำ
ตามศาสตร์แพทย์แผนจีน กล้วยหอมมีรสเย็น และเข้าเส้นลมปราณปอด จึงมีการนำกล้วยหอมมารักษาโรคร้อน กระหายน้ำ แก้เมาแฮงก์ แก้ไอเรื้อรังจากอาการคอแห้ง เพียงแค่กินกล้วยหอมสุก หรือสมูทตี้กล้วยหอมก็สามารถช่วยได้
รักษาความดันโลหิตสูง
ตำรับยาสมุนไพร ใช้เปลือกกล้วยหอมสด 30-60 กรัม ต้มเอาน้ำดื่ม เป็นยาหม้อช่วยลดความดันโลหิตสูงได้ หรือหากต้มปลีกล้วยกินเป็นประจำ จะช่วยป้องกันโรคเส้นเลือดในสมองแตกได้
รักษาโรคริดสีดวงทวาร
รักษาอาการมือ-เท้าแตก
เปลือกกล้วยหอม มีสรรพคุณช่วยรักษาอาการมือ-เท้าแตกได้ด้วย โดยนำกล้วยหอมที่สุกเต็มที่มาเจาะรูเล็ก ๆ ที่ปลายข้างหนึ่ง แล้วบีบเอากล้วยออกมาทาที่เท้าแตก ทิ้งไว้หลาย ๆ ชั่วโมง แล้วค่อยล้างออก ทำบ่อย ๆ ผิวที่เคยแห้งแตกจะชุ่มชื้น และดูดีขึ้นได้
เรารู้ถึงสรรพคุณของกล้วยหอมกันแล้วอย่าลืมหามาทานกันนะครับ