หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ไม้มงคล 9 ชนิด ลงแบบนี้รวยล้านเปอร์เซ็นต์

เนื้อหาโดย ote1986

ตั้งแต่สมัยโบราณกาลมา การปลูบ้านจะมีการทำพิธีขึ้นเสาเอกก่อน รวมถึงการตั้งศาลต่างๆ เช่น ศาลพระภูมิ ศาลเจ้าที่ตายาย เป็นต้น และในการทำพิธีดังกล่าวข้างต้น จะต้องมีการนำไม้มลคลมาใช้ในพิธด้วย ไม้มงคลดังกล่าวจะมีด้วยกัน 9 ชนิด เราจะพาท่านมารู้จักกับไม้มงคลทั้ง 9 ชนิดกัน


ไม้ราชพฤกษ์

ประจำทิศ อาคเนย์ ทิศตะวันออกเฉียงใต้ หมายถึง ความเป็นใหญ่และมีอำนาจวาสนา เป็นต้นไม้สัญลักษณ์ประจำชาติไทย

    คนโบราณเชื่อว่าควรปลูก ต้นราชพฤกษ์ ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของที่อยู่อาศัย เพื่อเสริมอำนาจ วาสนา ช่วยให้มีเกียรติมีศักดิ์ศรี ซึ่งความเป็นจริงคือทิศดังกล่าวจะได้รับแดดจัดตลอดช่วงบ่าย จึงควรปลูกต้นไม้ใหญ่เพื่อให้ลดความร้อนและทำให้ประหยัดพลังงานมากขึ้น    นอกจากนี้มีความเชื่อว่า ใบของต้นราชพฤกษ์เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพราะในพิธีทางไสยศาสตร์ให้ใบทำน้ำพุทธมนต์สะเดาะเคราะห์ได้ผลดีดังนั้นจึงถือว่าต้นราชพฤกษ์เป็นไม้มงคลนาม

ต้นราชพฤกษ์ ต้นคูน ชื่อวิทยาศาสตร์: Cassia fistula

จัดเป็นไม้ในวงศ์: FABACEAE อยู่ในประเภท:ไม้ต้นขนาดกลางผลัดใบ ความสูง: 5-15 ม.  ทรงพุ่ม :เรือนยอดเป็นพุ่มกลมขนาด 4-6 ม. 

 ลำต้น: เปลือกเรียบเกลี้ยงสีเทาอ่อน สีเทาอมน้ำตาลหรือสีนวล ใบ:ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ ออกเรียงสลับ มีใบย่อย 3-8 คู่ เรียงตรงข้าม ใบรูปไข่แกมรูปขอบขนานปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบบางเกลี้ยงเป็นมัน ดอก:ดอกสีเหลืองออกเป็นช่อแบบช่อกระจะยาวตามซอกใบห้อยย้อยลง ช่อดอกโปร่ง ยาว 20-45 ซม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 5 กลีบ ดอกบานเต็มที่กว้าง 5-8 ซม. ออกดอกช่วงเดือน ก.พ.-พ.ค. ผล:ผลเป็นฝักทรงกระบอก ผิวเกลี้ยงสีดำ ยาว 20-60 ซม. ห้อยลงจากกิ่ง เมล็ดรูปแบนมน สีน้ำตาลเป็นมัน 

ไม้ขนุน

ประจำทิศ เหนือ หมายถึง หนุนให้ดีขึ้นร่ำรวยขึ้น ทำอะไรจะมีผู้ให้การเกื้อหนุน

ต้นขนุน ชื่อวิทยาศาสตร์: Artocarpus heterophyllus หรือ A. heterophylla)

ภาคอีสานเรียกบักมี่ ภาคเหนือเรียกบ่าหนุน สิบสองปันนาเรียกหมากมี่ หรือ หมากหนุน กาญจนบุรีเรียกกระนู ภาษาไทใหญ่เรียก ลาง เป็นไม้ผลยืนต้นในวงศ์ Moraceae มีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้และแพร่หลายมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และได้รับความนิยมมากในคาบสมุทรมลายู ไม่ปรากฏว่าเข้ามายังประเทศไทยเมื่อใด แต่มีกล่าวถึง

ในเอกสารโบราณตั้งแต่สมัยสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา ชื่อสามัญของขนุนในภาษาอังกฤษคือ jackfruit มาจากภาษาโปรตุเกส jaka ที่เพี้ยนมาจากภาษามลายู chakka หรือภาษามลยาฬัม chakka (ചക്ക) ในขณะที่ยูกันดาในทวีปแอฟริกาเรียกว่า ไข่ช้าง เนื่องจากขนุนมีผลขนาดใหญ่ ขนุนเป็นผลไม้ที่มีผลขนาดใหญ่ที่สุดในโลก นาน ๆ ครั้งถึงจะมีผลที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 25 ซม.

ไม้ชัยพฤกษ์

ประจำทิศ ตะวันออก หมายถึง การมีโชคชัย ชัยชนะ

ต้นชัยพฤกษ์ (อังกฤษ: Java Cassia, Pink Shower, Apple Blossom Tree, Rainbow Shower Tree )ชื่อวิทยาศาสตร์: Cassia javanica

เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ถั่ว (Fabaceae) ดอกสีชมพูเข้ม เมื่อออกดอกไม่ทิ้งใบ ฝ้กเกลี้ยงใช้ทำยาได้ มีถิ่นกำเนิดในอินโดนีเซียและประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ไม้ทองหลาง

ประจำ ศูนย์กลาง หมายถึง การมีเงินมีทอง

ต้นทองหลาง ชื่อสามัญ Indian Coral Tree, Variegated coral tree, Variegated Tiger’s Claw ชื่อวิทยาศาสตร์ Erythrina variegate Linn.

จัดเป็นพืชอยู่ในวงศ์ LEGUMINOSAE ถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ในแถบเอเชียเขตร้อนและอบอุ่น อินเดีย แอฟริกา อเมริกาใต้ และ ออสเตรเลีย ชาวสวนรู้จักคุณสมบัติของไม้ต้นนี้อย่างดี มักปลูกไว้ริมคันสวนยกเป็นร่องเพื่อยึดดินและใช้เป็นปุ๋ย โดยเฉพาะทุกส่วนของ ต้น ดอก ใบหนาโต ก้านหนึ่งมีใบย่อยสามใบ เช่นเดียวกับพืชตระกูลถั่ว ซึ่งเป็นปุ๋ยอย่างดีแก่พืชทั้งหลาย จะอุดมด้วยธาตุอาหารต่างๆที่เป็นประโยชน์แก่ดิน นอกจากนี้ รากของต้นทองหลางยังมี

คุณสมบัติพิเศษ สามารถดูดเก็บเอาน้ำในดินเลี้ยงลำต้นได้มากกว่าไม้ทุกชนิด ดังนั้นการปลูกต้นทองหลางไว้หลายๆต้นจะทำให้พื้นดินชุ่มชื้น ต้นไม้ใกล้เคียงอื่นๆพลอยเจริญงอกงาม ต้นทองหลางจึงเหมาะเป็นพืชที่บำรุงดินได้เป็นเลิศสามารถตรึงธาตุไนโตรเจนจากอากาศมาเป็นปุ๋ย และเป็นเครื่องมือฟื้นฟูระบบนิเวศน์ที่ดีอย่างหนึ่ง จึงจัดเป็นพืชที่มีความสำคัญต่อประเทศชาติซึ่งใกล้จะถูกลืม ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูงประมาณ 10-20 เมตร ผิวเปลือกลำต้นบาง สีเทาหรือเปลือกเป็นลายคล้ายเปลือกแตกตื้นๆสีเทาอ่อน และเหลืองอ่อนๆ ลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลมคม หรือบางชนิดมีหนามเล็กๆแหลมคมตลอด เรือนยอดเป็นพุ่มกลมโปร่ง ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ ใบกลางจะโตกว่าสองใบด้านข้าง ลักษณะใบเป็นรูปสามเหลี่ยมคล้ายใบโพธิ์ กว้างประมาณ 2-3 นิ้ว ยาวประมาณ 35 นิ้ว ผิวใบเรียบ สีเขียวหรือด่างเหลืองๆใต้ท้องใบมีสีขาวขุ่น ก้านช่อยาวประมาณ 3-5 นิ้ว บางชนิดลักษณะใบมนคล้ายกับใบของถั่วพู ใบโตประมาณ 3-4 นิ้ว ก้านใบจะมีใบย่อย 3 ใบ และบางชนิดใบประกอบ เรียงสลับ มี 3 ใบย่อย มีหูใบ ใบย่อยรูปไข่หรือโค้ง ใบมีขน ดอก : เป็นช่อติดกันเป็นกลุ่มออก

ไม้ไผ่สีสุก

 ประจำทิศ พายัพ ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ หมายถึง มีความสุข

ต้นไผ่สีสุก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa blumeana

เป็นพืชในวงศ์หญ้า (Poaceae) กระจายพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นไผ่ลำต้นสูง 10-18 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 8-12 ซม. ลำแข็ง ผิวเรียบเป็นมัน ข้อไม่พองออก มีกิ่งมากแตกตั้งฉากกับลำต้น หนามโค้งออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3 อัน อันกลางยาวกว่า ลำมีรูเล็กเนื้อหนา ใบมีจำนวน 5-6 ใบ ที่ปลายกิ่ง ปลายใบเรียวแหลม โคนเป็นรูปลิ่มกว้าง หรือตัดตรง แผ่นใบกว้าง 0.8-2 ซม. ยาว 10-20 ซม. ใต้ใบมีสีเขียวอมเหลือง เส้นลายใบมี 5-9 คู่

ก้านใบสั้น ขอบใบสาก ครีบใบเล็กมีขน ดอกเป็นช่อ ส่วนมากอายุราว 30 ปีจะออกดอกหนึ่งครั้ง หน่อมีขนาดใหญ่ มีกาบสีเหลืองห่อหุ้ม ขนที่หน่อเป็นสีน้ำตาล ไผ่สีสุกเป็นไม้มงคลนาม ในอดีตนิยมปลูกไว้เป็นรั้ว นอกจากหน่อไม้ที่รับประทานได้แล้ว ใบไผ่สีสุกยังใช้เป็นยาขับฟอกโลหิตระดู ตาของลำไผ่สุมไฟเป็นถ่านกินแก้ร้อนใน กระหายน้ำ รากมีรสกร่อยเฝื่อนเล็กน้อย ใช้เป็นยาขับปัสสาวะและขับระดูได้ ลำของไผ่สีสุกมีความเหนียวทนทาน ใช้ทำเครื่องจักสาน เครื่องเรือนและนั่งร้าน

ไม้ทรงบาดาล

ประจำทิศ อิสาน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หมายถึง ความมั่นคง หรือทำให้บ้านมั่นคงแข็งแรง

ต้นทรงบาดาล หรือ ขี้เหล็กหวาน เป็นไม้พุ่ม สูง 3 - 5 เมตร ใบ ประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อย 4 - 6 คู่ รูปไข่หรือรูปไข่แกมขอบขนาน ขนาดกว้าง 1 - 2 เซนติเมตร ยาว 2.5 - 4 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ดอก สีเหลืองออกตามซอกใบ และปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ

เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 - 3 เซนติเมตร ผล เป็นฝักแบน กว้าง 1 - 1.5 เซนติเมตร ยาว 7 - 20 เซนติเมตร ถิ่นกำเนิดเอเชียเขตร้อนและจาไมก้า ออกดอก ตลอดปี ขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด วิธีเตรียมเมล็ด ก่อนเพาะ นำเมล็ดมาแช่น้ำร้อน 80 - 90 องศาเซลเซียส แล้วทิ้งไว้ให้เย็น 16 ชั่วโมง

ไม้สัก

ประจำทิศ ทักษิณ ทิศใต้ หมายถึง ความมีศักดิ์ศรี ความมีเกียรติ

ต้นสัก เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ผลัดใบในฤดูร้อน ลำต้นเปลาตรงเปลือกเรียบหรือแตกเป็นร่องเล็ก ๆ สีเทา โคนเป็นพูพอนต่ำ ๆ เรือนยอดเป็นพุ่มทรงกลมค่อนข้างทึบ เปลือกสีเทา เรียบ หรือแตกเป็นร่องตื้นตามความยาวลำต้นขึ้นเป็นหมู่

ในป่าเบญจพรรณ  ทางภาคเหนือบางส่วนในภาคกลางและภาคตะวันตก มีอยู่บ้างทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สักมักจะได้รับความเข้าใจผิดเสมอว่าเป็นไม้เนื้อแข็งเนื่องจากว่ามันมีลักษณะพิเศษที่เป็นไม้เนื้ออ่อนที่มีความทนทานกว่าไม้เนื้อแข็งหลาย ๆ ชนิด ชื่อสามัญอื่นอื่น: เซบ่ายี้, ปีฮือ, ปายี้, เป้อยี สีขายขนมเส้น

ไม้พะยูง

ประจำทิศ หรดี ทิศตะวันตกเฉียงใต้

หมายถึง การพยุงฐานะให้ดีขึ้น

ต้นพะยูง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dalbergia cochinchinensis) เป็นต้นไม้เนื้อแข็งที่เนื้อไม้มีลวดลายสวยงามชนิดหนึ่ง จัดเป็นไม้เศรษฐกิจที่มีราคาสูงอย่างหนึ่งและมีความเชื่อว่าเป็นไม้มงคล มีชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ อีกคือ ขะยุง, พยุง, แดงจีน และประดู่เสน พะยูงเป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลจังหวัดหนองบัวลำภู ต้นไม้ชนิดนี้

เป็นต้นไม้ชนิดที่มีไม้เนื้อแข็งมีราคา พบในกัมพูชา, ลาว, ไทย และเวียดนาม ใน ค.ศ. 2022 มีการเลื่อนสถานะไปเป็นเสี่ยงขั้นวิกฤติต่อการสูญพันธุ์ โดยมีสาเหตุจากการลักลอบตัดไม้และนำเข้าหรือส่งออกอย่างผิดกฎหมาย นักอนุรักษ์คาดการณ์ว่าต้นไม้ชนิดนี้จะสูญพันธุ์ภายใน 10 ปี (ใน ค.ศ. 2026)

ไม้กันเกรา

ประจำทิศ ปัจฉิม ทิศตะวันตก

หมายถึง ป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ หรืออีกชื่อหนึ่งว่า ตำเสา ซึ่งอาจหมายถึง ทำให้เสาเรือนมั่นคง

กันเกรา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Fagraea fragrans) เป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ขึ้นโดยทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย ในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายนจะออกดอกเป็น ช่อสีเหลือง มีกลิ่นหอมขจรขจาย ต้นกันเกรามีชื่อเรียกอื่นว่า มันปลา ตำเสา มะซูไม้ต้น

ต้นกันเกรา มีชื่อเรียกต่างกันไปคือ ภาคกลางเรียก กันเกรา ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียก มันปลา ส่วนภาคใต้เรียก ตำแสง หรือตำเสา มูซูเป็นภาษาถิ่นทางภาคใต้ตอนล่าง ซึ่งถือเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง อันมีชื่อเป็นมงคลและมีคุณสมบัติที่ดีในการใช้ประโยชน์ คือชื่อกันเกราหมายถึง กันสิ่งชั่วร้ายทั้งหลายไม่ให้มาทำอันตรายใด ๆ ชื่อตำเสาคือ เป็นมงคลแก่เสาบ้านไม่ให้ปลวก มอด แมลงต่าง ๆ เจาะกิน ชื่อมันปลา น่าจะเป็นลักษณะของดอกที่เหมือนกับไขมันของปลาเมื่อลอยน้ำไขมันของปลาในถ้วยน้ำแกง โดยเฉพาะช่วงข้าวใหม่ปลามันที่ปลาจะมีความมันและเอร็ดอร่อยเป็นที่สุด

   ต้นกันเกรามีลักษณะต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15–25 เมตร เปลือกสีน้ำตาลเข้ม แตกเป็นร่องลึกไม่เป็นระเบียบ ใบเดี่ยวออกตรงกันข้าม แผ่นใบรูปมนขนาดกว้าง 2.5–3.5 เซนติเมตร ยาว 8–11 เซนติเมตร ปลายใบแหลมหรือยาวเรียว ฐานใบแหลม โคนมน ใบเขียวมันวาว มีทรงพุ่งเป็นทรงฉัตรแหลมสวยงาม ดอกเริ่มบานสีขาว แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง กลิ่นหอม ผลกลมเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 มิลลิเมตร สีส้มแล้วเปลี่ยนไปเป็นสีแดงเลือดนกเมื่อแก่เต็มที่ มีเมล็ดขนาดเล็กเป็นจำนวนมาก นิเวศวิทยา ขึ้นทั่วไปในป่าเบญจพรรณชื้นและตามที่ต่ำที่ชื้นแฉะใกล้น้ำทั่วทุกภาคของประเทศไทย ออกดอกช่วงเดือนเมษายนถึงมิถุนายน เป็นผลช่วงเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม ขยายพันธุ์โดยเมล็ด ประโยชน์ได้แก่ เนื้อไม้สีเหลืองอ่อน เสี้ยนตรง เนื้อละเอียด เหนียว แข็ง ทนทาน ใช้ในการก่อสร้าง นิยมใช้ทำเสาเรือน แก่นมีรสฝาดใช้เข้ายาบำรุงธาตุ แน่นหน้าอก เปลือกใช้บำรุงโลหิต ผิวหนังพุพอง ปลูกเป็นไม้ประดับ ลักษณะลำต้นที่สวยงามทั้งลวดลายของเปลือกและเนื้อไม้ เหมาะแก่การนำไปใช้ประโยชน์ทำเครื่องเรือนและเครื่องใช้ต่าง ๆ มีน้ำมันหอมระเหยที่เปลือก

    กันเกรามีความสวยงามและกลิ่นหอมไม่เหมือนใคร ทั้งยังเป็นไม้มงคล 1 ใน 9 ชนิด เช่นเดียวกับราชพฤกษ์ ขนุน ชัยพฤกษ์ ทองหลาง ไผ่สีสุก ทรงบาดาล สัก และพะยูง ที่คนนิยมนำมาใช้ในพิธีกรรมเมื่อเวลาก่อสร้างบ้านเรือนให้เป็นสิริมงคล นอกจากนั่นคนอีสานยังนำมาบูชาพระโดยเฉพาะเมื่อเวลางานบุญบวชนาคช่วงเดือนพฤษภาคมหรือเดือน 6 ของทุกปี ก่อนที่จะถึงวันบวชนาคผู้ที่จะบวชนาคต้องมีการเตรียมตัวเตรียมใจอย่างดี เรียกว่า การเข้านาค ผู้ที่จะบวชนาคซึ่งต้องมาเข้านาคนั้นจะต้องแต่งกายชุดสุภาพ มีผ้าแพรหรือผ้าขาวม้าพับอย่างงามพาดบ่า รวมทั้งละเว้นอบายมุขต่างๆ พิธีกรรมหนึ่งของการเข้านาคจะมีการแห่ดอกไม้ก็คือดอกมันปลาหรือดอกกันเกรา จุดเริ่มต้นของขบวนอยู่ที่วัด จากนั้นก็เคลื่อนขบวนแห่ไปตามถนน บ้านเรือนท้องไร่ ท้องนา เพื่อไปเก็บดอกมันปลามาบูชาพระ พร้อมที่จะเข้าพิธีอุปสมบท ในระหว่างการแห่ก็จะมีการตีกลองร้องเพลงไปโดยตลอด เวลาเริ่มแห่ก็ช่วงบ่ายๆพอขบวนจะกลับถึงวัดก็ใกล้ค่ำ พิธีกรรมต่อไปคือนำช่อของดอกมันปลาที่เก็บมาในขบวนแห่จุ่มน้ำแล้วสะบัดให้น้ำจากดอกมันปลาไปสรงพระพุทธรูปบูชาขอพรเป็นอันเสร็จพิธี ผู้ที่ร่วมพิธีกรรมตั้งแต่การแห่จนแล้วเสร็จพิธีจะมีพระ 1 รูป สามเณร คนที่จะอุปสมบท หญิงสาวที่อาจจะเป็นที่รักหรือเพื่อนๆของผู้ที่จะอุปสมบท รวมทั้งเด็กๆด้วย พิธีกรรมนี้จะทำจนกว่าจะถึงวันอุปสมบท เมื่อถึงวันอุปสมบทก็มีพิธีกรรมตามประเพณีซึ่งไม่ขอกล่าวในที่นี้

เป็นอย่างไรกันบ้างกับ" ไม้มงคล 9 ชนิด "

เราหวังว่าจะมีประโยชน์แก่ท่านผู้อ่าน และถ้าใครจะทำการปลูกบ้านขึ้นเสาเอก ตั้งศาลแล้วละก็ จะได้วางไม้ปักไม้ได้อย่างถูกต้อง และสำคับทำพิธีเสร็จแล้วรวยแน่นอน

เนื้อหาโดย: ote1986
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
ote1986's profile


โพสท์โดย: ote1986
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
5 VOTES (5/5 จาก 1 คน)
VOTED: ote1986
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
30 แคปชั่นต้อนรับเดือนพฤษภาคม 2567 ความหมายดี สวัสดีเดือนพฤษภา hello mayอยากกินไอติมแต่เรียกเท่าไหร่ก็ไม่จอดไม่ควรกิน"แตงโม"ถ้าอยู่ในคน7กลุ่มนี้!!10 ภาพเก่าๆ แปลกๆ ที่น่ากลัวกว่าหนังสยองขวัญดาราญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในกลุ่มฆๅตกรที่ฆ่ๅคนตๅยเที่ยวพาสาน นครสวรรค์ ชมสถาปัตยกรรมสวยๆ กับวิวต้นแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งข้อสังเกต โลโก้ใหม่ 'ท็อปนิวส์' ขาดสีอะไรไปน้อ???เลขเด็ดวันแรงงาน เลขไหนดัง เลขไหนเข้า มาเช็คกันก่อนลุ้นรางวัลเลย!!!ฮือฮาเลขเด็ด หินเต่ายักษ์ ผุดกลางไร่มันสำปะหลัง
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
betray: ทรยศเผยโฉม แอดมินเพจเชื่อมจิต งามซะ...เล่นเอาหนุ่มๆ อยากเชื่อมจิตกันใหญ่เลยจบจากโรงเรียนไหนเข้าจุฬาได้มากที่สุดไม่ควรกิน"แตงโม"ถ้าอยู่ในคน7กลุ่มนี้!!
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
wary: ระมัดระวังbetray: ทรยศเที่ยวพาสาน นครสวรรค์ ชมสถาปัตยกรรมสวยๆ กับวิวต้นแม่น้ำเจ้าพระยาไม่ควรกิน"แตงโม"ถ้าอยู่ในคน7กลุ่มนี้!!
ตั้งกระทู้ใหม่