จักจั่นงวง
จักจั่นงวง เป็นแมลงที่มีสีสันโดดเด่นชนิดหนึ่ง ปีกมีลักษณะเป็นเยื่อบางบาง หลายชนิดมีงวงยื่นออกมาจากส่วนหัวคล้ายงวงแต่บางชนิดไม่มีลักษณะดังกล่าวเลย ลักษณะเด่นของแมลงในวงศ์ Fulgoridae คือ ปีกมีลักษณะเป็นเยื่อ มีลวดลาย สีสัน และเส้นขวางปีกจำนวนมาก
มีฐานหนวดขนาดเล็กอยู่ใต้ตา ปกติมีส่วนยื่นออกมาจากส่วนหัว การจำแนก ใช้ สีสันและลวดลายของส่วนปีกเป็นสำคัญ จักจั่นงวง มีขาแบบเดิน (walking lake) ขาคู่หลังมีลักษณะพิเศษที่ช่วยให้เอาตัวรอดจากการคุกคามของศัตรู
จักจั่นงวง สามารถดีดตัวออกจากที่มันเกาะอยู่ เมื่อถูกรบกวน แต่หากถูกจับส่วนใหญ่จะแกล้งตาย เมื่อศัตรูเผลอจะดีดตัวและบินหนี ขณะบินสีสันที่โดดเด่นทำให้มองเห็นคล้ายผีเสื้อ กินน้ำเลี้ยงต้นลำไย ลิ้นจี่ พบได้ในสวนผลไม้ป่าเบญจพรรณ และการแพร่กระจายพบในไทย จีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม และลาว
จักจั่นงวง ขณะเกาะ จะหุบปีกแนบกับลำตัว ปากมีลักษณะเป็นแบบเจาะดูด กินน้ำเลี้ยงของพืชเป็นอาหาร จักจั่นงวงมีขนาดตั้งแต่ 2-8 เซนติเมตร ลำตัวยาว 44 มิลลิเมตร ส่วนหัวยาวและโค้งขึ้น ลำตัวสีเหลืองส้ม
ส่วนหัวที่ยื่นออกเป็นงวงสีแดงอมส้ม ปีกคู่หน้าสีเขียว ประดับด้วยแถบและจุดสีส้มอมเขียว ปีกคู่หลังสีเหลือง ส่วนของปลายปีกมีแถบสีดำขนาดใหญ่ข้างละ 1 แถบ หนวดแบบขน ปากแบบเจาะดูด ปีกแบน คล้ายแผ่นหนังบางเป็นเนื้อเดียว
ตลอดปีกเหนียว ไม่เปราะ ปีกคู่หลังเนื้อบางแบบ (membrane) ขาเดิน ตารวมเมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์ ตัวผู้จะมีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย การผสมพันธุ์และการวางไข่ ส่วนใหญ่จะพบบริเวณพืชอาหาร
หลังฟักจากไข่ ตัวอ่อนจะทิ้งตัวร่วงลงสู่พื้นดิน และขุดลงไปอาศัยอยู่ใต้ดิน เพื่อดูดกินน้ำเลี้ยงจากรากพืชเป็นอาหาร ทั่วโลกพบแล้วกว่า 670 ชนิด เอเชียและออสเตรเลียพบแล้วกว่า 236 ชนิด ในประเทศไทย พบจักจั่นงวง 7 สกุล 30 ชนิด
จากการสำรวจธรรมชาติ ยังพบว่าจักจั่นงวงมีความสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น เช่น แมลงสาบ หรือแม้แต่จิ้งจก ซึ่งจะมากินของเสียที่จักจั่นงวงขับถ่ายออกมา
LOMA🐬🐬
อ้างอิงจาก: อุทยานแห่งชาติคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร สบอ.12 (นครสวรรค์)
จักจั่นงวง