ทำไมบางวันเราตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกงัวเงียบ้าง สดชื่นบ้าง ตื่นขึ้นมาจำได้ว่าเมื่อคืนฝัน หรือทำไมบางครั้งมีคนมาปลุก เราตื่นง่าย บางครั้งตื่นยากหรือไม่ตื่นเลย???
อ่ะเราจะมาเล่าให้ฟัง แต่ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับช่วงการนอนกันก่อน
ห้ะ! การนอนมีช่วงของมันด้วยหรอ
ใช่แล้ว ในตลอดการนอนของเราจะมีอยู่สองช่วงใหญ่ คือช่วงหลับธรรมดา (Non-Rapid Eye Movement Sleep หรือ Non-REM Sleep) และ ช่วงหลับฝัน (Rapid Eye Movement Sleep หรือ REM Sleep)
ก็คือหลังจากที่เราหลับตา ร่างกายจะเข้าสู่การหลับแบบ NREM1 - NREM2 - NREM3 - REM และก็ NREM1 - NREM2 - NREM3 - REM อยู่อย่างนี้จนกระทั่งเราตื่น
เรามาเริ่มกันเลย
เราจะเล่าแบบสรีรวิทยากันก่อนน่ะ
การหลับแบบธรรมดา (NREM) แบ่งเป็น 3 ระยะ ด้วยกัน ซึ่งแต่ละช่วงนั้นจะใช้เวลาประมาณ 5-15 นาที แล้วแต่บุคคล
ในช่วงนี้มีเลือดไปเลี้ยงสมองและกล้ามเนื้อลดลง นอกจากนี้ชีพจรก็ช้าลง ความดันเลือดก็ลดลง และปริมาณของอากาศเข้า-ออกจากปอดก็น้อยลงด้วย
มาดูว่าในแต่ละระยะมีความเฉพาะเจาะจงกันยังไง
- NREM1: เป็นระยะที่เปลี่ยนจากจังหวะตื่นเป็นการนอนหลับ จะใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที ช่วงนี้หากมีใครมาปลูกเราจะตื่นง่ายมากๆ ในช่วงนี้ยังมีการเคลื่อนไหวของลูกตา และเริ่มมีการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อสั่งการ
- NREM2: ร่างกายเข้าสู่โหมดหลับตื้น ชีพจรในช่วงนี้จะเต้นช้าลงและอุณหภูมิร่างกายดรอปลง เพื่อเตรียมตัวเข้าสู่หลับลึกนั้นเอง ในระยะนี้จะใช้เวลา 50% ของการนอนหลับโดยเฉลี่ย
- NREM3: ช่วงนี้เป็นช่วงที่ร่างกายเราหลับลึก เป็นช่วงที่ตื่นยากหน่อย หากมีใครมาปลูก และตัวเราจะรู้สึกงัวเงีย ที่สำคัญระยะนี้จะมีการหลั่งgrowth hormone โดยเฉพาะในเด็ก และยังมีการฟื้นฟูเนื้อเยื่อของร่างกายอีกด้วย ดังนั้นในระยะนี้จะปลุกให้ตื่นได้ยากมาก
### เมื่อเราอายุมากขึ้น ร่างกายเราจะหลับลึกได้ยากขึ้นในช่วงนี้
เล่าแบบ neuro กันบ้าง
ยังคงเป็นช่วง NREM อยู่น่ะ คือเราจะเล่าแค่สัญญาคลื่นไฟฟ้าสมอง (Electroencephalography; EEG) เนอะ ไม่ได้เล่ากลไกมาก
คือในช่วงของการนอนหลับมันจะมีคลื่นไฟฟ้าสมองที่เฉพาะเจาะจงของแต่ละระยะ เจ๋งไหมล่ะ
- NREM1: รูปแบบคลื่นไฟฟ้าสมอง มันยังไม่ได้พบคลื่นที่แสดงได้ชัดว่านี่คือ ระยะการนอนแบบ NREM1
- NREM2: สัญญาณสมองในช่วงนี้ มีช่วงคลื่นที่เฉพาะมาก เราจะเจอ k-complex (คลื่นที่มีแอมพลีจูดสูง) และ sleep spindles (กลุ่มคลื่นที่มีความถี่สูง)
- NREM3: ในช่วงนี้จะพบคลื่นที่มีแต่แอมพลีจูดสูงๆ
การหลับช่วงฝัน (REM)
เป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงของความดันเลือด ชีพจร และอัตราการหายใจด้วย เลือดจะไปเลี้ยงสมองเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับองคชาตและคริตอริสเกิดการคั่งของเลือด ซึ่งนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ชายมีองคชาตที่แข็งตัวในตอนเช้านั้นเอง
ในช่วง REM จะใช้เวลาประมาณ 90 นาที หลังจากที่เราหลับ
มาเริ่มกันเลย
ระยะแรกจะใช้เวลาประมาณ 10 นาที
ระยะที่สองจะใช้เวลานานขึ้นหน่อย
ระยะที่สามจะใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง หรือมากกว่านั้น
### ในระยะนี้เด็กจะใช้เวลา 50% และผู้ใหญ่จะใช้เวลา 20%
ขณะที่ร่างกายเข้าสู่โหมด REM sleep ชีพจรและการหายใจเราจะเร็วขึ้น การฝันจะเกิดในช่วงนี้แหละ และสมองจะทำงานมากขึ้นไม่น้อยไปกว่าตอนที่เรากำลังตื่นเลย
เอ๊ ยังไงน่ะ!
มาฟังคำตอบจากงานด้าน neuro กัน
คือระยะนี้เป็นระยะการนอนหลับที่มีการทำงานอย่างหนักของสมอง ซึ่งพบว่าคลื่นไฟฟ้าสมองจะมีลักษณะเหมือนกับตอนที่เราตื่นนอนเลย
อะอ้าว ทำไมถึงเป็นแบบนี้กันน่ะ!
อ่ะเราจะเล่าให้ฟัง เนื่องจากระยะนี้จะมีการหลับที่มีความฝันเกิดขึ้นนั้นเอง การทำงานของกล้ามเนื้อตาและกล้ามเนื้อกระบังลม ซึ่งมีการกลอกตาไปมา เหมือนในขณะเราตื่นเลย
และระยะนี้สำคัญมากเลยน่ะ เพราะการประมวลความจำและการเรียนรู้ในแต่ละวันของเราจะเกิดในช่วงนี้เท่านั้นจ้าาา
รู้อย่างนี้แล้วถ้าอยากความจำดี ต้องนอนให้ถึงระยะนี้น่ะ ฮาฮ้าฮ้า
เพราะมันเป็นช่วงที่ความจำจะถูกเปลี่ยนจากความจำระยะสั้น (short term memory) เป็น ความจำระยะยาว (long term memory) นั้นเอง
แต่เมื่อเราอายุมากขึ้นเราจะนอนถึงช่วงนี้น้อยลงน่ะ แหละนี้เองที่ทำให้เกิดอาการหลงๆลืมๆและเป็นส่วนหนึ่งของโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease) ที่พบในผู้สูงอายุนั้นแหละ
ในการหลับช่วงนี้ นอกจากจะมีการทำงานของกล้ามเนื้อตาและกล้ามเนื้อกระบังลมแล้ว กล้ามเนื้ออื่นๆจะไม่ทำงานเลย แปลว่าร่างกายของเราจะนิ่งมาก
อะอ้าว ทำไมถึงเป็นแบบนั้นล่ะ!
นักวิทยาศาสตร์เขาให้ความเห็นว่า อาจเป็นเพราะร่างกายมีการสงวนพลังงานและป้องกันไม่ให้เราทำอะไรขณะหลับ
### กลัวว่าเราจะเดินละเมอ ชนนู้นนี้นั้น นั้นแหละ ร่างกายเราเจ๋งใช่ไหมล่ะ
เครดิตภาพที่ 1 จาก pixabay โดย Daniela Ddimitrova
เครดิตภาพที่ 2 จาก pixabay โดย 51581
อ้างอิงจาก: https://www.sleepfoundation.org/stages-of-sleep
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK526132/