7 งูพิษสุดอันตรายในประเทศไทย
วันนี้เราจะมาพาทุกท่านมาพบกับงูพิษที่พบบ่อยและอัตรายในไทย ถ้าเจอควรออกให้ห่างโดยเร็วที่สุด!
1. งูเห่า
งูเห่า เป็นงูพิษที่มีพิษรุนแรงเป็นอันตรายถึงชีวิต และมีอยู่ ชุกชุมทั่วทุกภาคของประเทศไทย เมื่อถูกรบกวนหรือตกใจจะแผ่แม่เบี้ยและพ่นลมออกมา ดังฟู่ๆ คล้ายเสียงขู่ จึงเรียกว่า “งูเห่า” งูเห่ามีหลาย ชนิด บางชนิดสามารถพ่นพิษได้ไกลถึง 1-2 เมตร เรียก ว่า “งูเห่าพ่นพิษ” เมื่อพ่นพิษเข้า ตาจะทำให้เกิดอาการอักเสบรุนแรงจนตาบอดได้
2. งูจงอาง
งูจงอาง เป็นงูพิษที่มีขนาดยาวที่สุดในโลก เคยพบยาวเกือบ 6 เมตร ลักษณะคล้ายงูเห่า แต่ตัวโต และยาวกว่ามาก งูจงอางสามารถแผ่แม่เบี้ยได้เช่นกัน แต่แม่เบี้ยจะแคบและยาวกว่างูเห่า งูจงอางมีสัญชาตญาณ ในการป้องกันตัวสูง เมื่อถูกรบกวนจึงดุร้าย งูจงอาง พบได้ในป่าทุกภาค แต่ชุกชุมทางใต้ ถือว่าเป็นงูที่มีพิษ อันตรายร้ายแรงมากชนิดหนึ่ง และเป็นงูที่กินงูด้วยกัน เป็นอาหาร
3. งูสามเหลี่ยม
งูสามเหลี่ยม เป็นงูที่มีแนวกระดูกสันหลังยกเป็น สันสูง ทำให้ลำตัวคล้ายสามเหลี่ยม สีลำตัวเป็นปล้อง ดำสลับเหลือง ปลายหางกุดทู่ทุกตัว งูสามเหลี่ยมชอบ อาศัยในบริเวณที่มีความชื้นสูง เช่น ที่ลุ่มใกล้แหล่งน้ำ งูสามเหลี่ยมจะค่อนข้างเฉื่อยชาในเวลากลางวัน แต่จะปราดเปรียวในเวลากลางคืนเมื่อออกหากิน พบได้ทุกภาค แต่พบมากทางภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ เป็นงูที่มีพิษรุนแรง เป็นอันตรายถึงชีวิต
4. งูทับสมิงคลา
งูทับสมิงคลา เป็นงูที่มีรูปร่างคล้ายงูสามเหลี่ยม แต่ตัวเล็กกว่า สีลำตัวเป็นปล้องดำสลับขาว หางยาว เรียว ชอบอยู่ในที่ชื้นแฉะเช่นเดียวกับงูสามเหลี่ยม งูทับสมิงคลามีพิษรุนแรงมาก เป็นอันตรายถึงชีวิต พบ มากทางภาคตะวันออก ภาคอีสาน และภาคใต้
5. งูแมวเซา
งูแมวเซา เป็นงูพิษที่มีพิษรุนแรง กัดแล้วทำให้ เลือดออกในอวัยวะต่างๆ ลักษณะตัวอ้วน สั้น หัวเป็น รูปสามเหลี่ยม เกล็ดบนหัวมีแต่เกล็ดเล็กๆ ลำตัวสี น้ำตาลอ่อน มีลายเป็นดวงๆ ขนาดใหญ่สีน้ำตาลเข้ม อยู่ที่ด้านข้าง และหลังลำตัว เมื่องูถูกรบกวนจะสูดลม เข้าจนตัวพอง แล้วพ่นลมออกมาทางจมูกเป็นเสียงขู่ น่ากลัวจึงเรียก งูแมวเซา งูชนิดนี้ฉกกัดได้ว่องไว พบ ชุกชุมในภาคกลาง
6. งูกะปะ
งูกะปะ เป็นงูขนาดเล็ก หัวเป็นรูปสามเหลี่ยม คอคอดเล็ก ตัวสีน้ำตาลแดง มีลายรูปสี่เหลี่ยมขนม เปียกปูนสีน้ำตาลเข้มตามสองข้าง ลำตัวมีกระดูกสันหลังนูนเป็นสัน ชอบขดตัวนอนนิ่งๆ อยู่ใต้กองใบไม้ร่วง ใต้ก้อนหิน ขอนไม้ ไม่ชอบเคลื่อนไหว เวลาตกใจ ลำตัวจะแผ่แบนราบกับพื้น แต่สามารถฉกกัดได้ รวดเร็ว พบได้ทุกภาคของไทย แต่ชุกชุมทางภาคใต้
7. งูเขียวหางไหม้ท้องเหลือง
งูเขียวหางไหม้ ส่วนใหญ่มักจะมีลำตัวสีเขียว และหางสีแดง แต่ก็มีงูอื่นบางชนิดที่มีตัวสีเขียวหาง แดง แต่เป็นงูที่ไม่มีพิษ เช่น งูเขียวกาบหมาก ดังนั้น สีสันจึงไม่ใช่ตัวบ่งบอกที่ถูกต้องนัก การจะตัดสินใจว่า เป็นงูเขียวหางไหม้หรือไม่ ต้องดูที่ส่วนหัว งูเขียวหาง ไหม้จะมีหัวค่อนข้างโตเป็นรูปสามเหลี่ยมเมื่อมองทาง ด้านบน คอเล็ก หัวมีแต่เกล็ดแผ่นเล็กๆ ปกคลุมอยู่ ไม่มีเกล็ดแผ่นใหญ่ ถ้าสังเกตให้ละเอียดจะพบว่า ระหว่างรูจมูกกับลูกตาของงูจะมีร่องลึกขนาดใหญ่อยู่ ข้างละ 1 ร่อง งูเขียวหางไหม้มักจะมีลำตัวอ้วน หางสั้น พบได้ทั้งบนพื้นดินที่มีสถานที่สำหรับหลบซ่อนตัว และบนต้นไม้ งูชอบออกหากินในเวลากลางคืน