ครม.ไฟเขียวแผนก่อหนี้ใหม่ของรัฐบาล
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2567 ตามที่คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ
สำหรับแผนการก่อหนี้ใหม่ ประกอบด้วย (1) การก่อหนี้ใหม่ของรัฐบาล ส่วนใหญ่เป็นการกู้เงิน เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณปี 2566 ที่มีการขยายเวลากู้เงินออกไปภายหลังจากวันสิ้นปีงบประมาณ สำหรับการเบิกจ่ายกันเหลื่อมปี วงเงิน 40,000 ล้านบาท และการกู้เงินเพื่อดำเนินโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 2
เช่น โครงการสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก (ก่อสร้างทางวิ่งและทางขับที่ 2) (กองทัพเรือ) วงเงิน 16,210.90 ล้านบาท โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) (การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย) วงเงิน 11,700 ล้านบาท
โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและจีนในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพ-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา) (รฟท.) วงเงิน 15,800 ล้านบาท เป็นต้น
การก่อหนี้ใหม่ของรัฐวิสาหกิจ 3 เป็นการกู้เงินเพื่อลงทุนในโครงการพัฒนาที่สำคัญ เช่น โครงการพัฒนาระบบส่งและจำหน่ายไฟฟ้าระยะที่ 2 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) วงเงิน 12,078 ล้านบาท โครงการพัฒนาพื้นที่ส่วนขยายศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธ.ค.พื้นที่โซน C (ธพส.) วงเงิน 3,500 ล้านบาท
รวมถึงเป็นการกู้เงินเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินกิจการทั่วไปของรัฐวิสาหกิจ เช่น เงินกู้เพื่อใช้ในการดำเนินงาน (กรณีรายได้ไม่พอสำหรับรายจ่าย) ของ รฟท. วงเงิน 18,000 ล้านบาท เงินกู้เพื่อดำเนินงานปกติของ กฟภ. วงเงิน 6,000 ล้านบาท เป็นต้น
ขณะที่แผนการบริหารหนี้เดิม ส่วนใหญ่เป็นการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้เดิมที่ครบกำหนดในปีงบประมาณ 2567 เช่น หนี้เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ/เมื่อรายจ่ายสูงกว่ารายได้และการบริหารหนี้ วงเงิน 1,110,587,98 ล้านบาท หนี้เงินกู้เพื่อแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 วงเงิน 201,264.49 ล้านบาท หนี้เงินกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุน FIDF วงเงิน 83,353.50 ล้านบาท หนี้โครงการรับจำนำผลิตผลทางการเกษตร (ธ.ก.ส.) วงเงิน 58,452.64 ล้านบาท
แผนการชำระหนี้ ประกอบด้วย แผนการชำระหนี้ของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และหนี้หน่วยงานของรัฐจากงบประมาณ ปี 2567 วงเงิน 336,807 ล้านบาท (เป็นวงเงินชำระต้นเงินกู้ 117,250 ล้านบาท และชำระดอกเบี้ย 219,557 ล้านบาท) และแผนการชำระหนี้จากแหล่งเงินอื่น ๆ วงเงิน 53,731.63 ล้านบาท (เป็นวงเงินชำระต้นเงินกู้ 19,464.80 ล้านบาท และชำระดอกเบี้ย 34,266.83 ล้านบาท