มะหาด ประโยชน์ดี สรรพคุณเด่น
สำหรับประเทศไทยมักพบมะหาดมาก ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ และทางภาคใต้ของประเทศไทย
ต้นไม้ชนิดนี้มีขึ้นทุกภาคของประเทศไทย พบมากที่สุดทางภาคเหนือ ซึ่ง มะหาด เป็นต้นไม้พระราชทานปลูกเพื่อเป็นมงคลประจำจังหวัดกาฬสินธุ์
มะหาดจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง 15-25 เมตร เป็นไม้ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มกลม ลำต้นเปลาตรง เปลือกต้นสีน้ำตาลอมแดงถึงน้ำตาลเข้ม ต้นแก่ผิวจะหยาบและแตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ ยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาลออกแดงหนาแน่น
ดอก ออกเป็นช่อรวมทรงเกือบกลมตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกเป็นสีเหลือง
ผลกลม ผิวขรุขระ เมื่อสุกเป็นสีเหลือง ผลโตเต็มที่ประมาณเกือบเท่าผลส้มเขียวหวาน เนื้อในผลสีโอลด์โรส กินได้เปรี้ยวปนหวานเล็กน้อย มี 4-5 เมล็ด
ดอกออกเดือนกุมภาพันธ์ ติดผลเดือนมีนาคม ผลแก่เดือนพฤษภาคมทุกปี
ประโยชน์และสรรพคุณมะหาด
ผลสุกของมะหาดสามารถนำมารับประทานสด จะมีรสหวานอมเปรี้ยว
ส่วนเปลือกต้นมะหาดมีรสฝาด สามารถนำมาเคี้ยวกับหมากแทนสีเสียด
ใยจากเปลือกต้นมะหาด มีความเหนียวสามารถนำมาใช้ทำเชือกได้
รากมะหาด สามารถนำมาสกัดเป็นสีสำหรับย้อมผ้า โดยจะให้สีเหลือง
สำหรับเนื้อไม้มะหาดเป็นสีน้ำตาลแกมเหลืองอ่อน เสี้ยนสน เนื้อไม้หยาบ แข็ง มีความเหนียวและทนทาน สามารถนำมาใช้ทำเสา สร้างบ้าน หรือใช้ทำเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆได้
ในปัจจุบันมีการนำสารสกัดมะหาดมาทำเป็นผลิตภัณฑ์เสริมความงามต่างๆ เช่น ครีมมะหาด โลชั่นมะหาด เซรั่มมะหาด
เนื่องจากสารสกัดจากแก่นมะหาดนั้นมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ tyrosinase และมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการสร้างเมลานิน จึงทำให้ผิวขาวขึ้นได้
ในแต่ละภูมิภาค มะหาด จะมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันคือ
ภาคเหนือ เรียก หาดหนุน
จังหวัดเชียงใหม่ เรียก ปวกหาด
ภาคกลาง เรียก หาด
ทางภาคใต้ เรียก มะหาด
จังหวัดตรัง เรียก มะหาดใบใหญ่
ตั้งแต่จังหวัดนราธิวาสถึงประเทศมาเลเซีย เรียก กาแย / ตะแป / ตะแปง
LOMA 🐬🐬
อ้างอิงจาก: มะหาด.สมุนไพรที่มีการใช้ในงานสาธารณสุขมูลฐาน.สำนักงานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “มะหาด”. หน้า 643-645.