อีโกย ที่หลายๆคนไม่เคยรู้จักแน่นอน
อีโกย หรือภาษาเรียกของชาวบ้านตามท้องถิ่น
จำได้ว่าตอนเป็นเด็กเคยกินมันคันมากแต่เขาก็มีวิธีการเพื่อบรรเทาอาการคันในลำคอเลยการใส่เกลือลงไป
เครืออีโกย (อีสาน) กุ่ย (อุบล) เถาวัลย์ขน (ราชบุรี)ส้มกุ้ง (ประจวบฯ)ตะเปียงจู องุ่นป่า อีโก่ย (สุรินทร์)
ลักษณะทั่วไป
ไม้เลื้อยล้มลุก หลายฤดู ลำต้น ไม่มีเนื้อไม้ ใบ เดี่ยวรูปหัวใจเว้าลึกเป็น 5 พู ผิว ใบอ่อนมีขน เป็นเส้นใยแมงมุมปกคลุม มีขนอ่อนสีชมพูที่มีต่อมแซม ขอบใบหยักฟันเลื่อย ดอก ออกเป็นช่อดอกย่อยมีขนาดเล็กสีชมพูอ่อน กลีบดอก 4 กลีบ
การขยายพันธุ์
ด้วยเมล็ดหรือแตกยอดใหม่จากเหง้าใต้ดิน นิเวศวิทยาและการแพร่กระจาย พบทั่วไปตามป่าเบญจพรรณในที่ร่มชื้น เถาจะงอกในช่วงฤดูฝน จะออกดอกออกผลในเดือนกรกฎาคมถึงตุลาคม
ประโยชน์และความสำคัญทางอาหาร
ยอดอ่อน รับประทานเป็นผักสดมีรสหวานอมเปรี้ยว ผลอ่อนต้มตำน้ำพริก หรือใส่ส้มตำ เพราะมีรสเปรี้ยว ถ้ารับประทานดอกมากจะทำให้ระคายคอ ชาวบ้านจะจิ้มเกลือก่อน รับประทานจะลดอาการระคายคอหรือนำผลสุกมาตำใส่ส้มตำ
สรรพคุณ
ยาพื้นบ้านอีสานใช้ รากฝนดื่มแก้ไข้ ผสมลำต้นหรือรากรสสุคนธ์ เหง้าสัปปะรด ลำต้นไผ่ป่า ลำต้นไผ่ตง งวงตาล เปลือกต้นสะแกแสง ลำต้นหรือรากเถาคันขาว ผลมะพร้าว ลำต้นรักดำ ลำต้นก้อม ลำต้นโพ หญ้างวงช้างทั้งต้น รากกระตังบาย เปลือกต้นมะม่วง ลำต้นหนามพรม รากลำเจียก ลำต้นอ้อยแดง ลำต้นเครือพลูช้าง เหง้าหัวยาข้าวเย็นโคก และเปลือกต้นกัดลิ้น ต้มน้ำดื่ม รักษาฝีแก้อาการบวม