หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

แผนที่ที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้มันมีที่มายังไง?

เนื้อหาโดย Chessecake

ประวัติวิวัฒนาการของแผนที่

                                           

        เท่าที่มีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดี แผนที่ถูกสร้างขึ้นครั้งแรกของโลกในลักษณะแผ่นจารึก ที่ทำมาจากดินเหนียว ซึ่งมีอายุในช่วง 2,300-3,800 ปีก่อนคริสตศักราช มันเป็นแผนที่ของ อาณาจักรบาบิโลน (Babylon) ในยุคเมโสโปเตเมีย (Mesopotamia) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในอาณาเขตของ ประเทศอิรัก จากรูปภาพจะเห็นได้ว่าแผ่นจารึกดังกล่าว มีขนาดเล็กเพียง 7 เซนติเมตร เท่านั้น แต่มันมีการจำลองหรือย่อส่วนสิ่งต่างๆบนพื้นผิวโลกให้เข้ามาอยู่ในวัสดุแบนราบและมีการใช้ สัญลักษณ์แทนสิ่งต่างๆ จึงนับว่าครบเงื่อนไขตามองค์ประกอบขั้นต่ำสำหรับการระบุว่ามันเป็นแผนที่ นอกจากนี้ หากพิจารณาแผ่นจารึกอื่นๆของบาบิโลน จะพบว่ามีการทำขึ้นอีกหลายชิ้น ตัวอย่างเช่น ภาพ 1-10 เป็นแผ่นจารึกที่มีอายุเก่าแก่ประมาณ 600 ปีก่อนคริสตศักราช จากรายละเอียดการ คัดลอกให้เป็นลายเส้นโดยนักโบราณคดี จะพบว่ามีการพัฒนามากขึ้น เนื่องจากมีการใช้รูปทรง เรขาคณิต สามเหลี่ยม วงกลม เข้ามาช่วยในการเขียนแผนที่มากขึ้น ดังนั้นจะเห็นว่าวิวัฒนาการของการ ทำแผนที่เริ่มพัฒนามากขึ้น แต่ยังคงมีข้อจำกัดด้านวัสดุที่ยังคงเป็นแผ่นดินเหนียวขนาดเล็กเหมือนเดิม

        วิวัฒนาการในการทำแผนที่ของหมู่เกาะมาร์แชล สื่อให้เห็นถึงการใช้วัสดุ เครื่องมือ และเทคโนโลยีเท่าที่มีอยู่ ตำแหน่งของเกาะถูกแสดงด้วยเปลือกหอย ส่วนโครงสร้างนั้นทำด้วยไม้เพื่อ ช่วยยึดเปลือกหอย และมีไม้บางส่วนที่ถูกใช้แสดงแนวปะทะของลูกคลื่นที่พัดเข้าสู่เกาะด้วย อย่างไร ก็ดี จากรูปภาพการเปรียบเทียบระหว่างแผนที่เปลือกหอยและแผนที่สมัยใหม่ในปัจจุบัน แสดงให้เห็น ว่า แม้ขนาดของเกาะจะไม่สามารถแสดงออกมาได้เนื่องจากใช้เปลือกหอยที่มีขนาดใกล้เคียงกันเป็น สัญลักษณ์ แต่เปลือกหอยที่ใช้แสดงแทนเกาะบ่งบอกถึงตำแหน่งเชิงสัมพัทธ์ (Relative Positioning) ได้ และมีความถูกต้องในระดับที่เพียงพอกับการใช้งานในอดีต อีกทั้งมีรายละเอียดทิศทางของลูกคลื่นที่ จำเป็นต่อการเดินทางด้วย

        การทำแผนที่ในช่วง 400 ปีก่อนคริสตศักราช สมัยกรีกและโรมัน นักปราชย์ที่ชื่อ เอราทอสเทนีส (Eratosthenes: 278-175 BC) ได้ทำแผนที่ขึ้นโดยอาศัยการบอกเล่าของนักเดินทาง และได้ขยายกว้าง ออกไปจนกระทั่งได้เป็นแผนที่โลก ต่อมาได้รับการรวบรวมและปรับปรุงขึ้นอีกหลายครั้ง เริ่มจาก ปโต เลมี (Ptolemy: 87-160 AD) เขาได้ปรับปรุงให้แผนที่มีเส้นโครงทางภูมิศาสตร์ คือ มีเส้นละติจูด และ ลองจิจูด เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การทำแผนที่ นอกจากนี้ ปโตเลมี ได้บันทึกสถานที่ต่างๆในโลก ลงในหนังสือ Geographia ที่เขาเขียนขึ้นเมื่อปี ค.ศ.150 ด้วย ภายหลังจากนั้น หนังสือเล่ม ดังกล่าวถูกคัดลอกใหม่โดยชาวอาหรับในช่วงศตวรรษที่ 9 และถูกคัดลอกอีกครั้งโดยชาวไบแซนไทน์ (Byzantine) และถูกใช้กันทั่วไปจนถึงศตวรรษที่ 15

        วิวัฒนาการเกี่ยวกับการทำแผนที่ นับว่าเป็นเรื่องที่ไม่ต่อเนื่องกันในแต่ละทวีป เนื่องจากในแต่ละ ส่วนของโลกมีความก้าวหน้าช้าเร็วแตกต่างกัน และการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกันนั้นเป็นเรื่องที่ เป็นไปได้ยาก อย่างไรก็ดี ในทางโบราณคดีมีการค้นพบแผนที่ที่ทำจากม้วนกระดาษปาปิรุส และดิน เหนียวมาเป็นเวลากว่า 3,000 ปีก่อนคริสตกาลแล้ว จากหลักฐานเท่าที่มีด้านโบราณคดี พอสรุปได้ว่า นักปราชญ์ชาวกรีกนับได้ว่าเป็นผู้ริเริ่มการปรับปรุงแผนที่โบราณเหล่านี้ เนื่องจากความรู้ที่ได้จาก การศึกษาเรื่องราวทางดาราศาสตร์ เริ่มจากเอราทอสเทนีส สามารถคำนวณเส้นผ่านศูนย์กลางของ โลกโดยประมาณได้ และเครทิส (Crates) ซึ่งเป็นบรรณารักษ์ในตุรกีเป็นผู้สร้างลูกโลกขึ้น ส่วนปโตเลมี นักปราชญ์ชาวกรีกซึ่งเชี่ยวชาญในเรื่องดาราศาสตร์และภูมิศาสตร์ เขามีผลงานที่ยิ่งใหญ่ คือ แผนที่ โลก แต่แผนที่ดังกล่าวนี้ยังคงมีความผิดพลาดในการคำนวณความยาวของทะเลเมดิเตอร์ เรเนียน อย่างไรก็ตาม หลักคิดวิธีการของเขายังคงถูกใช้ในการทำแผนที่จนถึงปี ค.ศ. 1700

        การทำแผนที่ของชาวแอซเท็ก (Aztec) ซึ่งมีอายุอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 15 ในแถบทวีป อเมริกาใต้ แผนที่นี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแสดงการอพยพโยกย้ายของเผ่าต่างๆ ถนนในแผนที่มักถูกแสดง ด้วยรอยเท้า และปรากฏรอยเรือแคนนูและพายด้วย

        การทำแผนที่ของชาวจีน โดยแผนที่ที่เก่าแก่ที่สุด คือ แผนที่ของกำแพงเมืองจีน ซึ่งเป็นแผนที่ที่ สกัดจากหิน แสดงรายละเอียดของกำแพงเมืองจีนซึ่งทอดตัวผ่านลำน้ำฮวงโห โดยสามารถย้อนอายุ กลับไปได้ถึง 205 ปี ก่อนคริสตกาล

                                                                     

        วิวัฒนาการของแผนที่เด่นมากในยุคกลางซึ่งเป็นยุคของการเดินทางโดยเรือ เริ่มมีการใช้แผนที่ สำหรับการเดินเรือ (Sailing chart) ที่ชื่อว่า Portolan ซึ่งชื่อที่ตั้งตามชื่อหนังสือคู่มือชาวเรือ ที่ชื่อว่า “Potolanos” วิธีการทำแผนที่ คือ การเขียนเส้นทางการเดินเรือจากจุดใดจุดหนึ่งออกไปยัง สถานที่ในทวีปต่างๆ โดยสามารถแบ่งออกได้ถึง 32 ทิศทาง สำหรับนักเดินเรือแล้วเส้นทางที่เขียนลง บนแผนที่นี้มีคุณค่ามาก ทั้งนี้เนื่องจากเส้นทางเหล่านี้จะแทนเส้นทางเดินเรือที่ตรงที่สุด จากรูป ด้านล่างจะเห็นได้ว่า แผนภูมิ/แผนผังหรือแผนที่ดังกล่าวจะต้องมีการใช้งานควบคู่กับเข็มทิศเพื่อระบุว่า เรือกำลังถือเข็มมุ่งไปสู่ทิศทางใด ดังนั้นแผนที่นี้จึงมีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า แผนภูมิเข็มทิศ อย่างไรก็ดี พิจารณาจากการแบ่งทิศทางในสมัยนั้นแบ่งทิศทางเพียงแค่ 32 ทิศทางเท่านั้น สันนิษฐานว่าอาจ เกี่ยวข้องกับมาตราส่วนของแผนที่ ตลอดจนเกี่ยวข้องกับขนาดและความถูกต้องของเข็มทิศในสมัยนั้นก็ เป็นได้ เนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีในปัจจุบันว่าความเป็นจริงแล้วเราสามารถแบ่งทิศทางออกมาเป็น ตัวเลขได้มากกว่าอดีตนั้นหลายเท่า

        การทำแผนที่ในช่วงตอนกลางศตวรรษที่ 16 นับเป็นช่วงเวลาเกือบร้อยปีที่เป็น “ยุคทองของนักทำ แผนที่ชาวฮอลันดา” (Golden Age of Dutch Cartography) โดยมีนักทำแผนที่ที่มีชื่อเสียงที่สุด คือ เจอ ราร์ด เมอร์เคเตอร์ (Gerardus Mercator: 1512-1594 AD) ได้ประยุกต์ใช้หลักการของเขา (เมอร์เค เตอร์) ซึ่งได้รับอิทธิพลในการทำแผนที่มาจากปโตเลมี ผลงานที่โดดเด่นของเขา คือ แผนที่ยุโรปที่ทำใน ปี ค.ศ. 1554 ที่สามารถลดความยาวของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนลงและมีผลทำให้แผนที่ของปโตเลมี ถูกต้องมากกว่าเดิม ปัจจุบันนี้แผนที่ของเมอร์เคเตอร์ นับว่าเป็นแผนที่ที่มีชื่อเสียงมาก ซึ่งเรียกว่า Mercator map ส่วนใหญ่ใช้ทางด้านการเดินเรือ

        การทำแผนที่เริ่มเปลี่ยนไประหว่างศตวรรษที่ 17-18 นักทำแผนที่ชาวฮอลันดายังใช้แบบแผนของ ศตวรรษที่ 17 และเริ่มตกแต่งแผนที่ด้วยรูปภาพและสัญลักษณ์ต่างๆ พอศตวรรษที่ 18 แผนที่จึงเริ่มมี ความถูกต้องมากขึ้นและเริ่มมีแผนที่มาตราส่วนใหญ่ทำให้เห็นรายละเอียดในเรื่องต่างๆมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการทำสงคราม ทั้งนี้เนื่องจากการขยายอิทธิพลของประเทศต่างๆที่ล่าอาณานิคม ในเวลานั้น

        สำหรับในยุคศตวรรษที่ 20 การทำแผนที่ได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างมาก โดยเฉพาะช่วงสงครามโลก ครั้งที่ 2 การทำแผนที่เข้าไปมีบทบาทมากในสงคราม เนื่องจากมีการรวบรวมนักทำแผนที่จำนวนมาก มาร่วมมือคิดทำแผนที่อย่างจริงจัง

        ในปัจจุบันนี้ เราจะพบแผนที่ในสถานที่ทั่วไปซึ่งประชาชนส่วนใหญ่อาจจะเห็นได้ คือ แผนที่การวางแผนเกี่ยวกับการวางผังเมืองและชุมชนต่างๆ แผนที่การจราจร แผนที่ที่ใช้ตกแต่งโต๊ะและผ้าเช็ดมือ แผนที่ที่ติดอยู่ตามฝาผนังบ้าน แผนที่อาคารซึ่งมักอยู่ตามหน้าหนังสือพิมพ์ แผนที่ดังกล่าวนี้ควรที่ ประชาชนโดยทั่วไปจะได้มีความเข้าใจและสามารถนี้ไปใช้ได้ด้วย วิชาการแผนที่ซึ่งเป็นศิลปะของการ อ่านภาพและสื่อความหมายจึงจำเป็นต้องอาศัยความเข้าใจในเรื่องสภาพการณ์ใหม่ๆอยู่เสมอ

        สรุปเทคนิคการทำแผนที่ในศตวรรษที่ 17 ได้ย่างเข้ายุคใหม่ของการทำแผนที่เนื่องจากการยอมรับ ว่าโลกนั้นกลม จึงได้มีการทำแผนที่ หรือแผนภูมิ (Chart) สำหรับการเดินเรือเพื่อการค้า โดยเฉพาะชาว ยุโรปได้เดินทางมายังมหาสมุทรอินเดีย และข้ามมหาสมุทรแอตแลนติค งานเขียนแผนที่จะเป็นลายเส้น ตัวหนังสือ และการลงสีซึ่งจะทำโดยใช้มือเขียน จนประมาณศตวรรษที่ 18 ได้มีการพิมพ์แผนที่ขึ้นเป็น ครั้งแรกในเตอรกี จีน ญี่ปุ่น เกาหลี โดยใช้บล็อกไม้ ซึ่งการพิมพ์หนังสือทั่วไปนั้นได้มีมาก่อนตั้งแต่ ศตวรรษที่ 16 แล้ว

        สำหรับยุโรปตะวันตก การพิมพ์แผนที่ได้เริ่มมีเมื่อ ค.ศ.1477 โดยใช้เพลททองแดงที่ถูกแกะสลัก จนกระทั่งศตวรรษที่ 17 คณะเผยแพร่ศาสนาเยสุอิต (Jesuit) ได้นำเทคนิคการพิมพ์นี้ไปยังจีน ในขณะที่ ภายในยุโรปเองนั้น การพิมพ์ด้วยเพลททองแดงได้กระจายไปทั่วยุโรปด้วยเช่นกัน และในศตวรรษที่ 17- 18 ได้มีการพิมพ์แผนที่เป็นสีด้วย

        ศตวรรษที่ 18-19 ได้มีการพิมพ์แผนที่โดยใช้บล็อคไม้อย่างสวยงามในญี่ปุ่น และปลายศตวรรษที่ 18 ในแคว้นบาวาเรี่ยน อลอยเซเนเฟลเดอร์(Alois senefelder) ได้พัฒนาระบบการพิมพ์แยกเป็นพื้นแต่ ละสี หรือ Lithographic Method ขึ้น และสัญลักษณ์สามารถพิมพ์เพิ่มเติมได้ ทำให้ในปี ค.ศ.1840 การ พิมพ์แผนที่หลายสีเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่ทำได้ และมีการพิมพ์เอกสารต่างๆมากมายด้วย จนกระทั่ง เกิดระบบการพิมพ์แบบใหม่อย่างในสมัยปัจจุบัน คือ ระบบออฟเซท (Offset lithography) ที่มีการใช้ ในการพิมพ์นิตยสารเหมือนในปัจจุบันที่มีการพิมพ์โดยแยกสีเป็น 4 แม่สี ได้แก่ ฟ้า ม่วง เหลือง และดำ คล้ายกับแม่สีหมึกในเครื่องปริ้นส์สีปัจจุบัน

เนื้อหาโดย: Chessecake
ภาพจาก https://www.freepik.com/search?query=map
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Chessecake's profile


โพสท์โดย: Chessecake
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
เจนนี่ทำเซอร์ไพรส์ใหญ่! มอบบ้านพร้อมโฉนดให้ “ลิลลี่ ได้หมดถ้าสดชื่น” ฉลองอายุครบ 20 ปีเผยโฉมภาพชายกราบเท้าทนายตั้ม ที่แท้คือเล็ก คนขับรถคู่ใจ อดีตทหารอากาศ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการขนเงิน 20 ล้าน"เต๋า ทีวีพูล" ลั่น สินค้า "แอน จักรพงษ์" ขายหมดเกลี้ยง Miss Universe 2024 กระแสเกินต้าน"สภาพพังยับ! ยูทูบเบอร์สาวทำเล็บที่อินเดีย รู้ราคาแล้วอยากร้องไห้"ช่างประปาในเวียนนาพบสมบัติที่มีมูลค่า 2 ล้านปอนด์ถูกซ่อนอยู่ในคอนกรีตนักศึกษาจีนรวมกันเช่าห้องพักโรงแรม เพื่อให้ได้ซักผ้าฟรีทำได้เกินกว่าที่ลูกค้าคาดหวัง ลูกค้าได้สั่งเค้กสุดพิเศษ แต่แม่ค้ากลับสู้เต็มที่ ทำให้เค้กออกมาสวยงามและอลังการอย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อนเฉินหลงเผยถึงค่าตัว สามารถซื้อบ้านได้ทั้งหลัง! ย้อนเล่าช่วงชีวิตที่เสียดายที่สุดคอนเฟิร์มแล้ว! Miss Grand International 2025 จัดที่ประเทศไทยทบ.มีคำสั่งให้ พล.ท.ณรงค์ สวนแก้ว เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก ถูกย้ายจากตำแหน่ง หลังเกิดกรณีซ้อมที่รุนแรงชายหนุ่มถ่ายเซลฟี่กับสิงโต แต่กลับโดนสิงโตทำร้ายโอปอลได้ไปเยี่ยม นายกอิ๊งค์ และชมว่าสวยงามมาก จนถึงขั้นแซวว่าเหมาะสมกับการประกวดนางงามเลยทีเดียว
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
เจนนี่ทำเซอร์ไพรส์ใหญ่! มอบบ้านพร้อมโฉนดให้ “ลิลลี่ ได้หมดถ้าสดชื่น” ฉลองอายุครบ 20 ปีด่วน! ศาลรัฐธรรมนูญ ไม่รับคำร้อง ทักษิณ-เพื่อไทย คดีล้มล้างการปกครอง แม่ยายครูเต้ยชี้ เป็นเรื่องของสองคน รู้สึกเสียใจมากทบ.มีคำสั่งให้ พล.ท.ณรงค์ สวนแก้ว เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก ถูกย้ายจากตำแหน่ง หลังเกิดกรณีซ้อมที่รุนแรง"เต๋า ทีวีพูล" ลั่น สินค้า "แอน จักรพงษ์" ขายหมดเกลี้ยง Miss Universe 2024 กระแสเกินต้าน
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
สารพิษและยา สาเหตุสำคัญที่ทำให้ตับมีปัญหาผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง ตัวช่วยลดค่าตับและบำรุงตับให้แข็งแร"พาลี" สอน "สุครีพ" ว่าอย่างไร และ "พาลี" ตายด้วยสาเหตุใดบทเรียนจากอดีตของบริษัทผลิตบุหรี่ : เมื่อความต้องการ "ปกป้องผู้บริโภค" กลายเป็นภัยร้ายที่ซ่อนอยู่...สรุปไอ้สิ่งที่ทำให้ "อันตราย" กว่าเดิมไปอี๊กกก พ่อเอ๊ยย....
ตั้งกระทู้ใหม่