หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ภาษีอากรทางตรง

เนื้อหาโดย เรื่องราวน่าสนใจ

ภาษีทางตรงคืออะไร

ภาษีทางตรง (Direct T

ax) คือ ภาษีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษี ต้องเป็นรับภาระภาษีไว้ ทั้งหมดไม่สามารถผลักภาระให้กับผู้อื่นได้ เช่น ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้ ปิโตรเลียม ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบารุงท้องที่ ภาษีป้าย เป็นต้น

ภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อมคืออะไรต่างกันอย่างไร

ภาษีมีหลายประเภท จึงมีการจำแนกประเภทของภาษีโดยใช้เกณฑ์ต่างๆ และสำหรับหลักเกณฑ์ที่นิยมใช้ ได้แก่ การจำแนกตามหลักการผลักภาระภาษี โดยแบ่งออกเป็นภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อม

ภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อมคืออะไร

ภาษีทางตรง คือ ภาษีที่ภาครัฐจัดเก็บจากรายได้และทรัพย์สินต่างๆของบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล โดยไม่สามารถผลักภาระภาษีไปยังผู้อื่นได้

ภาษีทางอ้อม คือ ภาษีที่ภาครัฐจัดเก็บจากผู้บริโภคเป็นภาษีที่เป็นการผลักภาระทั้งหมดหรือบางส่วนให้กับผู้ซื้อหรือผู้บริโภคเป็นผู้รับชำระภาษีอากรแทนผู้ขาย รัฐบาลจัดเก็บภาษีทางอ้อมเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาประเทศ เช่น การสร้างถนน การสนับสนุนการศึกษา สาธารณสุข การพัฒนาแหล่งน้ำ เงินสนับสนุนโครงการภาครัฐ ตลอดจนใช้เป็นงบประมาณที่จัดสรรให้กับกระทรวงต่างๆ เป็นต้น

ประเภทของภาษีทางตรง

1) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

เป็นภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป โดยเก็บเป็นรายปี ผู้เสียภาษีต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้ประจำปี ภายในวันที่ 31 มีนาคม ของปีถัดไป ซึ่งรายได้ที่นำมาคำนวณภาษี มีอยู่ 8 ประเภท ได้แก่

1.1) เงินได้จากการจ้างแรงงาน
1.2) เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ
1.3) เงินได้จากค่าสิทธิ
1.4) เงินได้จากการลงทุนในทรัพย์สิน(Capital Gain)
1.5) เงินได้จากการให้เช่า
1.6) เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
1.7) เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุน ด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ
1.8) เงินได้จากการประกอบธุรกิจหรือเงินได้อื่นๆได้นอกจากที่กล่าวไว้ข้างต้น

2) ภาษีเงินได้นิติบุคคล

เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากเงินได้ของนิติบุคคล ได้แก่ เงินได้ประเภทกำไรสุทธิ ยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย เงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย หรือ การจำหน่ายเงินกำไรจากประเทศไทย

โดยส่วนใหญ่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะคำนวณภาษีจากกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมาเป็นเวลา 12 เดือนหรือน้อยกว่า 12 เดือนแล้วแต่กรณี สำหรับอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุดอยู่ที่ 20% ในการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี

3) ภาษีป้าย

เป็นภาษีที่จัดเก็บจากป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือ เครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้า หรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้า ด้วยตัวอักษร ภาพ หรือ เครื่องหมาย

4) ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากมูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีการครอบครอง เป็นภาษีที่จัดเก็บแทนภาษีโรงเรือนและภาษีบำรุงท้องที่ เพื่อเป็นการปฏิรูปโครงสร้างภาษีให้ทันสมัย ลดความซ้ำซ้อนของภาษีโรงเรือนกับภาษีเงินได้ และกระตุ้นให้เกิดการใช้ประโยชน์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

โดยผู้มีหน้าที่เสียภาษี ได้แก่เจ้าของกรรมสิทธิ์ หรือผู้ครอบครอง หรือทำประโยชน์ในทรัพย์สิน ในวันที่ 1 มกราคมของแต่ละปี ซึ่งภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างคำนวณจาก

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง = (ราคาประเมินทุนทรัพย์-มูลค่ายกเว้น)x อัตราภาษี

5) ภาษีมรดก

เป๋ภาษีที่เก็บจากผู้รับมรดกหรือทายาทเมื่อได้รับการโอนทรัพสิน

6)ภาษีสินทรัพย์ต่างๆ

เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ครอบครองทรัพย์สินที่กฎหมายกำหนด ให้ต้องเสียภาษี เช่นภาษีรถยนตร์

ประเภทของภาษีทางอ้อม

1) ภาษีมูลค่าเพิ่ม

เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากมูลค่าส่วนที่เกิดขึ้นจากการขายสินค้าหรือบริการ โดยเรียกเก็บจากผู้บริโภคที่เป็นผู้ซื้อสินค้าหรือได้รับบริการเป็นคนสุดท้าย โดยอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่ที่ 7%

2) ภาษีธุรกิจเฉพาะ

เป็นภาษีที่จัดเก็บจากกิจการบางประเภทที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นพิเศษแยกต่างหากจากภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะได้แก่ กิจการในราชอาณาจักรดังต่อไปนี้

2.1)     กิจการธนาคาร
2.2)     ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์
2.3)     ธุรกิจประกันชีวิต
2.4)     กิจการรับจำนำ
2.5) การประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ เช่นปล่อยกู้ ค้ำประกัน แลกเปลี่ยนสกุลเงิน รับส่งเงินไปต่างประเทศ เป็นต้น
2.6) การขายอสังหาริมทรัพย์ เป็นทางค้าหรือหากำไร (ไม่ว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นจะได้มาโดยวิธีใด)
2.7) การขายหลักทรัพย์
2.8) ธุรกิจแฟ็กตอริ่ง

3)อากรแสตมป์

เป็นภาษีที่จัดเก็บจากการกระทำตราสารใน28ลักษณะตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตรา

อากรแสตมป์ โดยมีการจัดพิมพ์อากรแสตมป์ในลักษณะเดียวกันกับตราไปรษณียากรแต่ต่างกันตรงที่อากรแสตมป์ไม่มีตราประทับ

โดยวิธีการเสียอากรมี 3 แบบ ดังนี้

3.1)     การใช้แสตมป์ปิดทับกระดาษ ก่อนหรือในทันทีที่ทำตราสารเป็นราคาไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียและได้มีการขีดฆ่าแสตมป์
3.2)     การใช้แสตมป์ดุน เป็นการใช้กระดาษที่มีแสตมป์ดุนเป็นราคาไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียและมีการขีดฆ่าแล้ว โดยยื่นตราสารให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประทับแสตมป์ดุน และชำระเงิน
3.3)     การชำระเป็นตัวเงิน คือการเสียค่าอากรเป็นตัวเงิน ในราคาไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสีย

ไม่ว่าจะเป็นภาษีทางตรงหรือภาษีทางอ้อม ในฐานะผู้เสียภาษีเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจ เพื่อที่จะนำส่งภาษีได้อย่างถูกต้องครบถ้วน เพราะภาษีเหล่านี้ทางรัฐบาลจะนำไปพัฒนาประเทศ เพื่อการอยู่ดีมีสุขของประชากรในประเทศ และสร้างความเจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆ ซึ่งหากธุรกิจมีการทำบัญชีที่ถูกต้อง ก็จะช่วยจัดการภาษีง่ายดายและเป็นระบบมากขึ้น

เนื้อหาโดย: chhpp
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
พ่อสุดโหด บังคับลูกวิ่งบนลู่ จนตาย...งามหน้า! นักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นโดนสแกมเมอร์หลอก ตลาดน้ำดำเนินสะดวกตำนานเวมานิกเปรต: ผีกึ่งเทวดาผู้ทุกข์ร้อนเลขเด็ดคุณไก่ วุฒินันท์ สอนศรี งวด 2 พฤษภาคม 2567
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ศาลกัมพูชาตัดสินโทษ 3 คนไทยค้ายา " จำคุกตลอดชีวิต "ฉันขายให้ผู้ดีกิน! "เดย์ ฟรีแมน" โต้ขายขนมแพง ตอกกลับเจ็บจี๊ด มีหน้าชาทุกคอมเม้นต์งามหน้า! นักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นโดนสแกมเมอร์หลอก ตลาดน้ำดำเนินสะดวกvomit: อาเจียน
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
illuminate: ส่องสว่างpossible: เป็นไปได้วิธีแจ้งความออนไลน์AI ยุคสมัยสังคมในปัจจุบัน
ตั้งกระทู้ใหม่