สัตว์โลกที่ไม่ได้มีเลือดสีแดง แต่มีเลือดเป็นสีเขียว
สัตว์โลกที่ไม่ได้มีเลือดสีแดง แต่มีเลือดเป็นสีเขียว
คือ จิ้งเหลนกับกบสมโกศ
จิ้งเหลนเลือดสีเขียว" หมายถึงกลุ่มของกิ้งก่าที่เรียกว่า Prasinohaema ซึ่งมีลักษณะเฉพาะคือเลือดสีเขียว จิ้งเหลนเหล่านี้พบได้ในนิวกินีและเกาะใกล้เคียงบางแห่ง
จิ้งเหลนเลือดเขียวนิวกินี เลือดสีเขียวที่ต้านมาลาเรีย
เลือดสีเขียวนับว่าแปลกที่สุดในอาณาจักรสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังเลยก็ว่าได้ แต่กลับเป็นจุดเด่นของ เจ้าจิ้งเหลนเลือดสีเขียว (green-blooded skink) สายพันธุ์ prasinohaema virens แห่งเกาะนิวกินี ในหมู่เกาะโซโลมอน ประเทศอินโดนีเซีย นอกจากเลือดของมันจะมีสีเขียวแล้ว กล้ามเนื้อ กระดูก ลิ้น และเยื่อเมือก (mucosal tissue) ของสัตว์เลื้อยคลานในกลุ่มเดียวกัน ก็มีเลือดโทนเขียว-น้ำเงินตามไปด้วย
ที่มาของเลือดสีเขียวสดใสนี้ เกิดจากการสะสมของของเสียที่ชื่อว่า “บิลิเวอร์ดิน” (biliverdin) ภายในน้ำเลือดมีความเข้มข้นสูง ซึ่งเกิดจากเซลล์เม็ดเลือดแดงหมดอายุและแตกตัวออก โปรตีนฮีโมโกลบินที่หลุดออกมาจะถูกทำลายและรีไซเคิลใหม่ ส่วนฮีมที่เกาะอยู่กับฮีโมโกลบินก็จะถูกเปลี่ยนเป็นบิลิเวอร์ดินที่มีความเป็นพิษนั่นเอง
นักชีววิทยาวิวัฒนาการเผยว่า โดยปกติแล้วระดับบิลิเวอร์ดินที่สูงจะทำให้สัตว์ส่วนใหญ่เป็นโรคดีซ่าน (jaundice) แต่จิ้งเหลนเลือดสีเขียวกลับเจริญเติบโตได้แม้จะมีระดับบิลิเวอร์ดินเข้มข้น ซึ่งสูงกว่าในสัตว์อื่น ๆ 40 เท่า การค้นพบนี้อาจนำไปสู่หนทางรักษาโรคดีซ่านในมนุษย์ก็เป็นได้ ภายหลังมีสมมติฐานว่าสารสีเขียวเป็นพิษนี้อาจเป็นพัฒนาการทางสรีรวิทยาของสัตว์ เพื่อต้านการติดเชื้อปรสิตในเลือด เช่น โรคมาลาเรีย เนื่องจากสัตว์ตระกูลกิ้งก่าอย่างจิ้งเหลนชนิดนี้ เป็นกลุ่มสัตว์ที่มีเชื้อโรค plasmodium ซึ่งเป็นตัวการก่อโรคมาลาเรีย มากกว่าร้อยสปีชีส์
นอกจากจิ้งเหลนเลือดเขียวนิวกินีแล้ว สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำอย่าง กบสมโกศ (Somkos frog) ซึ่งเป็นกบสายพันธุ์ใหม่ที่พบเจอในเทือกเขากระวัญ ประเทศกัมพูชา ก็มีเลือดสีเขียวและกระดูกสีน้ำเงินเข้ม สามารถมองเห็นได้ผ่าน
ผิวใส ๆ ของมันอย่างชัดเจน