การพูดที่ใช้จิตวิทยาโน้มน้าวใจ เพื่อทำให้ประสบความสำเร็จตามต้องการ
เมื่อพูดถึงเรื่องการพูดการพูดเก่งไม่ได้ขึ้นกับการพูดในหลักเนื้อหาที่ถูกต้องพียงอย่างเดียวเท่านั้นแต่ยังรวมไปถึงการพูดที่เกิดขึ้นจากความประทับใจของผู้ฟังด้วยซึงในการสื่อสารจึงมีการยก
- ทฤษฎี 7-38-55
มาใช้ในการปรับปรุงการพูดได้เป็นอย่างดีซึ่งความหมายของทฤษฎีนี้คือ
1.1. 7 หมายถึง ภาษาในการสื่อสารของมนุษย์ที่ใช้ในการสื่อสารทั่วๆไป
1.2. 38 หมายถึง การใช้โทนเสียง น้ำเสียงที่ดึงดูดผู้ฟังและการใช้จังหวะในการพูดก็ถือเป็นสิ่งที่สำคัญ
1.3. 55 หมายถึง Body language คือการสื่อสารที่ใช้ร่างกาย ท่าทางเป็นตัวสื่อสารอาการลักษณะที่ทำให้ผู้ฟังมีความเข้าใจ
การชักจูงโน้มน้าวจิตใจ และการล้างสมอง
ศัพท์เหล่านี้ความหมายของมันขึ้นอยู่กับสิ่งที่คุณตั้งใจที่จะนิยามมันขึ้นมาโดยเราสามารถนิยามมันได้ดังนี้
- การชักจูงโน้มน้าวจิตใจ คือ การจักจูงโน้มน้าวจิตใจอีกฝ่ายเพื่อผลประโยชน์ของเขาเอง
- การล้างสมอง คือ การจักจูงโน้มน้าวจิตใจอีกฝ่ายเพื่อผลประโยชน์ของเราเอง
ซึ่งในหลักการเหล่านี้มาสารถนำมาใช้ในการทำงาน หรือการทำธุรกิจได้เป็นอย่างดีหรือแม้กระทั่งนักต้มตุ๋มก็ใช้หลักการนี้เพื่อหลอกลวงเหยื่อ
เทคนิคการพูด คือ “ภาพลักษณ์” หากคุณต้องการให้คนเชื่อ คุณต้องทำให้เพื่อคุณเชื่อก่อน และหากคุณต้องการให้เพื่อนคุณเชื่อคุณต้องทำให้ตัวคุณเชื่อก่อน
คุณต้องรู้จักการลงทุน
การลงทุนในที่นี้หมายถึงการลงทุนใน “ภาพลักษณ์” ของคุณ เสื้อผ้า ผม ผิวพรรณ เหล่านี้คือสิ่งที่จะสร้างภาพลักษณะให้แก่คุณ เพื่อดึงดูดความน่าเชื่อถือให้แก่คุณทำให้ผู้รับฟังรู้สึกว่าคุณมีความเชื่อถือได้ ซึ่งประเด็นสำคัญมี 5 ประการที่ควรที่จะลองทำสำหรับผู้ชาย
- เลือกขนาดและจับคู่เสื้อผ้าเพื่อให้เกิดความเหมาะสม
- การใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อบำรุงผิวทุกวัน
- การโกนหนวดให้สะอาดสะอ้านประจำ
- การตัดทรงผมที่เหมาะสม
- การสร้างกล้ามเนื้อเพื่อให้ดูดี
เทคนิคที่จะทำใหคุณเป็นคู่สนทนาที่ดีขึ้น
2.1 การพูดหัวข้อสนทนาที่ทำให้อีกฝ่ายมีความภูมิใจในตัวเอง เช่าน ชวนคุยในเรื่อวงที่เขามีความชื่นชอบ ในลักษณะขอความรู้
2.2 ปรากฏการณ์พิกมาเลียน
คือการทำให้เขามีความเชื่อว่าเขากลุ่มคนที่เก่งและมีความพิเศษมาก แล้วเขาเหล่านั้นจะกลายเป็นคนที่ดีที่เก่งซึ่งเหมาะกับการนำไปบริหารคนในกลุ่มการทำงานที่เป็นทีมมาก
2.3 การชมแบบขัดแย้งทางอารมณ์
คือ การที่ทำให้เขาคิดว่าเขามีความคิดที่ไม่ดีหรือไม่เก่งโดยใช้การนิ่งเงียบในลักษณะครุ่นคิด เมื่อเขาเกิดความคิดตามที่เราต้องการ เราจึงกล่าวเขาชมเขาขึ้นมา จะทำให้ประสิทธิภาพการชมของเรามีมากขึ้น
2.4 หัวข้อที่ทรงพลังที่สุด
คือเรื่องที่เกี่ยวกับตัวเขา เพราะคคนเราจะมีมีความคิดว่าเราคิดอย่างไรเกี่ยวกับเขา พยายามให้เขาเล่าเรื่องของตัวเองให้มากขึ้นแล้วเราต้องรับฟัง
2.5 การใช้คำพูด “การใช้ พูดง่ายๆ เหมือนกับ”
ซึ่งการใช้คำเหล่านี้เพื่อชักจูงให้ผู้ฟังเข้าใจได้ง่าย เพราะมีการเปรียบเที่ยบเพื่อให้มองเห็นภาพที่ง่ายกว่า
2.6 การเปรียบเทียบ
การเปรียบเทียบจะทำให้ผู้ฟังเข้าใจง่ายมากยิ่งขึ้น จากเนื้อหาที่ยาก หรือเป็นการยกตัวอย่างเพื่อให้ผู้ฟังรู้สึกว่าเห็นความแต่งต่างได้อย่างแท้จริง
2.7 การพูดเรื่องเดียวต่อ 1 สไลด์
วิธีการสื่อสารเป็นศาสตร์ที่สำคัญสำหรับการทำงานและไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นได้ง่ายๆกับทุกคนและสิ่งเหล่านี้ต้องเกิดจากการฝึกฝน และสำคัญที่สุดคือ “นักพูดที่ดี คือนักฟังที่ดี”
เรียนรู้การสื่อสารให้ทรงพลังผ่านหนังสือ “จิตวิทยาสายดาร์ก” นี้ทำให้ผมได้มีความเข้าใจการใช้เทคนิคการพูดหลายๆอย่างที่ทำให้เกิดงานที่มีคุณภาพและสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้ฟังได้และจากสิ่งที่ผมเรียนรู้นี้ทำให้ทราบว่าเทคนิคการพูดนั้นไม่ได้ขึ้นที่เนื้อหาแต่เพียงอย่าสงเดียวเท่านั้นที่จะทำให้ผู้คนเชื่อมั่นต่อคุณได้แต่มันรวมไปถึงองค์ประกอบหลายๆอย่าง ทั้ง บุคลิกภาพ จังหวะ ท่าทางการพูดก็สำคัญเช่นกันและคำที่ว่า“นักพูดที่ดี คือนักฟังที่ดี” นั้นทำให้ผมเข้าใจเรื่องนี้มากขึ้น