แห้วนาปากพนัง หรือ แห้วหมู
ตอนไปเที่ยวบ้านเพื่อนที่ปากพนัง เราเห็นมีคนนั่งขายลูกอะไรเล็กๆ เราถามเพื่อนว่าเขานั่งขายอะไรกันอะ เพื่อนบอกเขาขายแห้วนาต้ม จะลองกินแห้วนาต้มดูไหม
เราถามคืออะไร แห้วนาต้มทำไมหัวเล็กจัง ไม่เห็นเหมือนแห้วที่เคยเห็นเลย เพื่อนบอกมันคือหัวแห้วนา หัวเลยเล็กๆ เขาจะขุดมาจากนาเอาหัวมาต้ม เวลากินจะ กรอบๆ แข็งๆ มันๆ คล้ายๆ แอลมอลอ่ะ
เพื่อนเอารูปแห้วนาให้ดู เราร้องเอ่ย ! นี้มันต้นแห้วหมูบ้านฉันนี้
อันนี้คือหัวแห้วนาปากพนังบ้านเพื่อนฉัน
ส่วนอันนี้คือหัวแห้วหมูบ้านฉัน
ถ้าบอกว่าต้นแห้วหมูทุกคนต้องรู้จักใช่ไหม แถวบ้านฉันแห้วหมูคือหญ้า คือวัชพืช ที่ไม่มีใครต้องการ ยิ่งคนทำไร่ ทำนาด้วยแล้วยิ่งไม่อยากจะพอเจอเลยหล่ะ
แห้วหมูขึ้นชื่อว่าเป็นหญ้าที่ทนทาน ตายยากมากที่สุด ทนแล้งมากที่สุด ไม่ได้น้ำก็ยืนต้นตาย แต่หัวที่อยู่ในดินไม่ได้ตายตามเลยคะ โดยฝนโดยน้ำปุ้บ ฟื้นคืนชีฟปั้ปทันที
แต่พอเราลองมาค้นข้อมูลของหญ้าแห้วหมู หรือ แห้วนาเพื่อนฉันดู อืม...คุณแห้วหมูเขาก็มีประโยชน์เยอะกว่าที่คิดอีกนะ
แห้วหมู หรือ หญ้าแห้วหมู หญ้าขนหมู เป็นพืชล้มลุก มีลำต้นอยู่ใต้ดินมีลักษณะเป็นหัวกลมมีตาจำนวนมาก สามารถแทงไหลไปได้ไกลแล้วเกิดหัวใหม่เจริญขึ้นเป็นต้นเหนือดิน เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก มีหัวอยู่ใต้ดิน มีก้านดอกยาว และดอกเป็นสีน้ำตาล แห้วหมูเป็นหญ้าที่พบเห็นโดยทั่วไป
แต่นอกจากแห้วนาหรือแห้วหมูจะเป็นของทานเล่นสำหรับชาวภาคใต้แล้ว แห้วหมูยังมีสพรรคุณทางยาอีกด้วยนะคะ
รูปแบบและขนาดวิธีใช้แห้วหมู
ขับลม ปวดท้อง บิด ใช้หัวแห้ง 5-10 กรัม ตำกับขิงจำนวนเท่ากัน คั้นเอาน้ำมาผสมกับน้ำผึ้งหรือน้ำต้มกินก่อนอาหารวันละ 3 เวลา
ฝีหนอง ใช้หัวสดล้างให้สะอาดตำพอก
น้ำมันหอมระเหยที่สกัดได้จากหญ้าแห้วหมูมีฤทธิ์คล้ายกับน้ำมันหอมระเหยต้นตะไคร้ช่วยไล่แมลงและฆ่าแมลง
การใช้หญ้าแห้วหมู รักษาอาการแน่นจุกเสียดตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข (สาธารณสุขมูลฐาน)นำหัวแห้วหมู 1 กำมือ (60-70 หัว หรือหนัก 15 กรัม) ทุบให้แตก แล้วต้มในน้ำสะอาด คั้นเอาเฉพาะน้ำมาดื่ม หรือใช้หัวสดครั้งละ 5 หัว โขลกให้ละเอียดผสมน้ำผึ้ง รับประทาน
ใช้ส่วนหัวประมาณ 50-100 หัว ที่ล้างน้ำทำความสะอาด และลอกขุยเปลือกออกแล้ว นำมาทุบให้แตก และต้มน้ำดื่ม หรือนำส่วนหัวมาบดเป็นผงอัดใส่แคปซูลรับประทาน สำหรับลดไข้ แก้ไอ ปวดแน่นหน้าอก แน่นท้อง ขับปัสสาวะ ขับเหงื่อ แก้ปวดประจำเดือน แก้ท้องร่วง บำรุงครรภ์ บำรุงหัวใจ
ใช้ส่วนหัวแห้งที่ทำความสะอาดแล้ว นำมาบดหรือทุบเป็นผง ผสมน้ำทาแผล ทาโรคผิวหนัง
เป็นยารักษาไข้เลือดออกเบื้องต้น โดยตำให้ละเอียดผสมเหล้าขาว 35 หรือ 40 ดีกรี 1 ขวด แช่ประมาณครึ่งชั่วโมง กรองเอาเฉพาะเหล้าดื่ม 1 แก้ว เพื่อขับพิษไข้ให้อาเจียนออกจนหมด หากไข้ยังสูงอยู่ดื่มได้อีก 1 แก้ว จากนั้นพาผู้ป่วยไปพบแพทย์
ปัจจุบันมีตำราของฝรั่ง แนะนำให้ใช้รากแห้วหมูแห้ง 3-9 กรัม ต้มน้ำกินหรือบรรจุใส่แคปซูลกินเพื่อรักษาโรคหวัดคัดจมูกไข้หวัดใหญ่ อาการปวดเกร็งในท้อง รวมทั้งปวดประจำเดือน อาการประจำเดือนไม่ปกติ เป็นยาช่วยขับประจำเดือน และใช้รักษาอาการซึมเศร้า หัวแห้วหมูมีรสเผ็ด ขม หวาน
ในตำราจีนจะช่วยทำให้ซี่ (ชี่นั้นคนจีนถือเป็นพลังของชีวิต) เป็นปกติ จึงช่วยในการย่อยอาหาร ช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมอาหารไปใช้ได้อย่างเต็มที่ ทั้งยังช่วยให้อารมณ์เป็นปกติ โดยปกติแล้วคนจีนจะใช้แห้วหมูต้มกินรักษาโรคหวัด ทั้งหวัดธรรมดาและไข้หวัดใหญ่ ใช้รักษาอาการที่มีเสมหะคั่งแน่นในโพรงจมูกหายใจไม่ออก และประจำเดือนไม่ปกติ
อินเดียดูเหมือนจะเป็นจ้าวตำรับในการใช้ประโยชน์จากแห้วหมูโดยจะใช้จากทั้ง ลำต้น ราก และเหง้า ที่นิยมใช้ ได้แก่
ลำต้นแห้วหมูแห้ง ใช้ต้มน้ำกิน แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้คอแห้ง ใช้ต้มกินแก้ท้องเสีย กระตุ้นกำหนัด
เหง้าแห้วหมูแห้ง ใช้ต้มน้ำกินเป็นยาขับประจำเตือน ขับพยาธิ ช่วยย่อยอาหาร ขับลม เป็นยากระตุ้น และช่วยให้การเผาผลาญไขมันดีขึ้น
ทั้งต้นของแห้วหมูแห้งใช้ต้มน้ำกินแก้ไข้
นอกจากนี้ในอินเตียยังใช้แห้วหมูผสมสมุนไพรตัวอื่นในการรักษาโรคพิษสุราเรื้อรัง
ในญี่ปุ่นยุโรป อินโดนีเซีย เกาหลี ศรีลังกา เนปาล ก็ใช้ในการขับประจำเดือน ขับปัสสาวะ ช่วยย่อยอาหาร
ส่วนในเขมรและไต้หวัน มีการใช้แห้วหมูนอกเหนือไปจากนี้บ้างคือ ใช้ในการรักษาโรคตับ
ในเปอร์โตริโก มีการใช้แห้วหมูทั้งต้นต้มกินขับนิ่วในไต
จากข้อมูลการศึกษาวิจัยในปัจจุบันก็ยังพบสรรพคุณหลายอย่างที่สนับสนุน ยืนยันการใช้แห้วหมูของชาวบ้านเหล่านั้นคือ
แห้วหมู มีฤทธิ์ระงับหอบหืด แก้แพ้ กล่อมประสาท มลดความตันโลหิต ขับปัสสาวะ ช่วยขับกรดยูริกอันเป็นสาเหตุของโรคเก๊าท์ ลดการปวดเกร็งในลำไส้ แก้นิ่วกรดในทางเดินปัสสาวะ ป้องกันตับไม่ให้ถูกทำลายจากสารพิษ
คนไทย ยังมีความเชื่อว่าแห้วหมูเป็นยาชูกำลัง เป็นยาอายุวัฒนะ มีสรรพคุณใน การแก้ไข้และช่วยกำจัดพิษ
เห็นไหมคะพอลองมาหาข้อมูลดูแล้ว หญ้าแห้วหมู ที่น่ารำคาญและดูเหมือนจะไม่มีประโยชน์ของเรา เขากับมีประโยชน์มากมายเกิดกว่าที่จะเรียกเขาเป็นหญ้าแห้วหมูอีกน่ะ
จากหนังสือตำรายาพิเศษของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ (2352-2453)
LOMA🐬🐬
อ้างอิงจาก: จากหนังสือตำรายาพิเศษของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ (2352-2453)
แห้วนาปากพนัง