สัตว์ยุคดึกดำบรรพ์ ที่ยังมีชีวิตอยู่ในยุคปัจจุบัน
เพื่อนๆ คงจะทราบกันดีแล้วว่าไดโนเสาร์นั้นได้สูญพันธุ์ไปกว่า 65 ล้านปีแล้ว แต่มีบางทฤษฎีได้บอกว่าไดโนเสาร์นั้นไม่ได้สูญพันธุ์ไปทั้งหมดหรอกแต่มันได้วิวัฒนาการไปเป็นสัตว์ปีกหรือนกนั้นเอง แต่ทั้งนี้ยังมีสัตว์อีกหลายชนิดที่มีอายุมากกว่าพวกไดโนเสาร์ ซะอีกและพวกมันสามารถอยู่รอดมาได้จนถึงในปัจจุบันและแทบจะไม่ได้เปลี่ยนแปลงรูปร่างของมันเลย ในวันนี้เราจะพาเพื่อนๆ ไปดูกันว่ามีสัตว์อะไรบ้างที่ยังมีชีวิตอยู่จากในยุคดึกดำบรรพ์และแต่ละตัวมีอายุเท่าไหรกันบ้างไปชมกันเลยค่ะ
ปลาสเตอร์เจียน
ปลาสเตอร์เจียน เป็นปลาที่มนุษย์ใช้เป็นอาหารมานานแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งไข่ปลา ที่เรียกว่า คาเวียร์ ซึ่งนับเป็นอาหารราคาแพงที่สุดชนิดหนึ่งของโลก
ปลาสเตอร์เจียน มีรูปร่างคล้ายปลาฉลาม มีหนามแหลมสั้น ๆ บริเวณหลัง หัว และเส้นข้างลำตัวไว้เพื่อป้องกันตัว มีหนวดทั้งหมด 2 คู่อยู่บริเวณปลายจมูก ปลายหัวแหลม ปากอยู่ใต้ลำตัว ลำตัวไม่มีเกล็ด ภายในปากไม่มีฟัน ตามีขนาดเล็ก ซึ่งหนวดของปลาสเตอร์เจียนนี้มีหน้าที่สัมผัสและรับคลื่นกระแสไฟฟ้าขณะที่ว่ายน้ำ
แมลงสาบ
โดยทั่วไปแล้ว มีลักษณะลำตัวยาวรีเป็นรูปไข่ เป็นสีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม มีส่วนหัวซ่อนอยู่ใต้อก มีหนวดยาวคล้ายเส้นด้าย ส่วนขายาวมีหนามคลุม ตัวเต็มวัยมีทั้ง มีปีกและไม่มีปีก เป็นแมลงที่หากินตามพื้นดินเป็นหลักตามที่มืด ๆ หรือในเวลากลางคืน ไม่ชอบที่จะบิน และวิ่งได้เร็วมาก
จากการศึกษาซากฟอสซิลของแมลงสาบ บ่งชี้ได้ว่า แมลงสาบได้ถือกำเนิดมาบนโลกนี้ยาวนานกว่ามนุษย์หลายเท่า (ราว 250 ล้านปีมาแล้ว) ความแตกต่างของแมลงสาบโบราณกับแมลงสาบในปัจจุบัน คือ ช่องออกไข่ที่ปลายช่องท้อง และมีการค้นพบฟอสซิลแมลงสาบที่เป็นยุคปัจจุบันคือมีรังไข่เหมือนกับปัจจุบันในยุคที่ไดโนเสาร์สูญพันธุ์จากโลกไปแล้ว คือ มหายุคมีโซโซอิก
ไทรออปส์
ไทรออปส์ เป็นสัตว์น้ำขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ในน้ำจืด มีรูปร่างประหลาดคล้ายแมงดาทะเล จึงมีผู้เรียกว่า "แมงดาทะเลน้ำจืด" หรือ "กุ้งไดโนเสาร์" เนื่องจากเป็นสัตว์ที่ไม่เปลี่ยนแปลงรูปร่างมาตั้งแต่ยุคคาร์บอนิฟอรัส ราว 300 ล้านปีมาแล้ว จัดได้ว่าเป็นฟอสซิลที่มีชีวิตอีกจำพวกหนึ่งได้
พบแพร่กระจายอยู่ในหนองน้ำหรือบึงน้ำในทวีปอเมริกาเหนือ, อเมริกาใต้, ยุโรป, ยูเรเชีย, แอฟริกา, ญี่ปุ่น, นิวแคลิโดเนีย และ ออสเตรเลีย ยกเว้น แอนตาร์กติกา
หอยงวงช้าง
หอยงวงช้าง เป็นมอลลัสคาในชั้นเซฟาโลพอด จัดอยู่ในอันดับย่อย Nautilina จัดเป็นมอลลัสคาที่มีวิวัฒนาการค่อนข้างสูง เป็นสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ที่มีชีวิตอยู่บนโลกนี้แล้วกว่า 350 ล้านปี จัดอยู่ในชั้นเซฟาโลพอด อันเป็นชั้นเดียวกับปลาหมึก ในชั้นย่อยนอติลอยด์ จัดเป็นนอติลอยด์เพียงกลุ่มเดียวเท่าที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน ถือได้ว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์มีชีวิตจำพวกหนึ่งก็ว่าได้
ปลาซีลาแคนท์
ปลาซีลาแคนท์พบเป็นฟอสซิลครั้งแรกในยุคดีโวเนียนตอนกลาง ปลาซีลาแคนท์ดึกดำบรรพ์อาศัยอยู่ในน้ำในช่วงปลายของมหายุคพาลีโอโซอิกและมีโซโซ
ซีลาแคนท์เป็นปลาที่มีครีบมีลักษณะเป็นพูอยู่ที่ทรวงอกและก้นอยู่บนแท่งก้านเนื้อเยื่อที่รองรับโดยกระดูกและมีครีบหางที่แตกออกแยกเป็น 3 พู โดยที่พูตรงกลางจะรวมถึงชุดของโนโตคอร์ด ปลาซีลาแคนท์มีเกล็ดที่บางกว่าเกล็ดของปลาพวกคอสมอยด์จริง ๆ ปลาซีลาแคนท์มีอวัยวะพิเศษสำหรับตอบรับทางไฟฟ้าที่เรียกกันว่าอวัยวะคล้ายตะขออยู่ทางด้านหน้าของกะโหลกที่อาจจะใช้ช่วยในการตรวจจับเหยื่อ
แม้ว่าในปัจจุบันจะมีการค้นพบรู้จักปลาซีลาแคนท์ที่มีชีวิตอยู่เพียง 2 ชนิดเท่านั้น แต่พบว่าครั้งหนึ่งพวกมันกลับเคยประสบความสำเร็จด้วยการพบเป็นฟอสซิลที่หลากหลายสกุลและหลากหลายชนิดจากยุคดีโวเนียนจนถึงสิ้นสุดยุคครีเทเชียสซึ่งเป็นจุดช่วงเวลาที่พวกมันต้องเผชิญกับความยากลำบากจนเกือบต้องสูญพันธุ์ไปทั้งหมด
ปลาแลมป์เพรย์
ปลาแลมป์เพรย์มีลำตัวยาวลักษณะคล้ายปลาไหล ลำตัวด้านหลังมักจะเป็นสีดำ มีครีบหลังและครีบหาง แต่ไม่มีครีบคู่ ไม่มีเกล็ด ปากจะอยู่ค่อนลงมาทางด้านท้อง มีลักษณะเป็นวงกลมใช้สำหรับดูด มีฟันแหลมคมจำนวนมากที่เจริญดีอยู่ในอุ้งปาก รูจมูกมี 1 รูซึ่งอยู่กึ่งกลางด้านบนของหัว มีตา 1 คู่ ถุงเหงือก 7 ถุง และมีช่องเหงือก 7 ช่อง หัวใจประกอบด้วยเวนตริเคิล 1 ห้อง และเอเตรียม 1 ห้อง โครงร่างเป็นกระดูกอ่อนและเส้นใย และยังคงมีโนโตคอร์ดอยู่ เส้นประสาทหลัง มีการพัฒนาเป็นสมองซึ่งมีเส้นประสาทสมอง 8-10 คู่ ทางเดินอาหารไม่มีกระเพาะอาหาร ส่วนลำไส้บิดเป็นเกลียว มีลักษณะเพศแยกออกเป็นเพศผู้และเพศเมียชัดเจน
แมงดาทะเล
แมงดา หรือที่บางครั้งเรียกว่า แมงดาทะเล จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในไฟลัมอาร์โธรพอด โดยที่ไม่ใช่ครัสเตเชียน แต่เป็นเมอโรสโทมาทา อยู่ในอันดับ Xiphosura และวงศ์ Limulidae
แมงดาเป็นสัตว์ที่มีรูปร่างเหมือนจานคว่ำหรือชามขนาดใหญ่ มีกล้ามเนื้อทั้งสิ้น 750 มัด มีหัวใจที่ยาวเกือบเท่าขนาดลำตัว มีอัตราการเต้นอยู่ที่ 32 ครั้งต่อนาที (ช้ากว่ามนุษย์ถึงครึ่งหนึ่ง) มีรูเปิด 8 คู่ มีลิ้นเปิดปิดที่ควบคุมการไหลเวียนของเลือดให้ไหลจากเหงือกไปที่ขาและอวัยวะที่สำคัญ มีกระเพาะอาหารธรรมดา เมื่อเวลากินอาหาร แมงดาจะกินทางปากจากนั้นจึงผ่านไปที่สมองก่อนจะไปถึงกระเพาะ แล้วจึงค่อยขับถ่ายออกมา โดยมีอวัยวะเหมือนแขนชิ้นเล็ก ๆ ทำหน้าที่จับอาหารส่งเข้าสู่ปาก ซึ่งสัตว์จำพวกอื่นที่มีอวัยวะแบบเดียวกันนี้ คือ แมงมุมและแมงป่อง
แมงกะพรุน
แมงกะพรุนเป็นสัตว์ที่มีลำตัวโปร่งใส ร่างกายประกอบด้วยเจลาตินเป็นส่วนใหญ่ สามารถมองเห็นเข้าไปได้ถึงอวัยวะภายใน เป็นสัตว์ที่ไม่มีทั้งสมองหรือหัวใจ ลำตัวด้านบนของแมงกะพรุนมีลักษณะคล้ายร่ม เรียกว่า "เมดูซา" ซึ่งศัพท์นี้ก็ใช้เป็นอีกชื่อหนึ่งของแมงกะพรุนด้วยเช่นกัน
แมงกะพรุนเป็นสัตว์ที่ถือกำเนิดขึ้นมาแล้วกว่า 505 หรือ 600 ล้านปี โดยถือกำเนิดก่อนไดโนเสาร์ถึง 230 ล้านปี หรือก่อนมนุษย์ราว 500,000 ปี โดยถือได้ว่าเป็นสัตว์ที่ถือกำเนิดมานานแล้วจำพวกหนึ่งที่มีวิวัฒนาการสูงสุด
ฟองน้ำ
ฟองน้ำเป็นสัตว์ในไฟลัมพอริเฟอรา (อังกฤษ: Porifera; มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน - porus หมายถึง รู และ ferre หมายถึง พยุงหรือค้ำเอาไว้) เป็นเคลดฐานของสัตว์ ในฐานะเป็นเคลดพี่น้องกับยูเมทาซัวฟองน้ำเป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ที่ร่างกายเต็มไปด้วยรูและช่องทางสำหรับให้น้ำไหลเวียนเข้าไป โดยประกอบด้วยเมโซฮิลที่คล้ายวุ้นขนาบด้วยชั้นเซลล์บาง ๆ สองชั้น สาขาของสัตววิทยาที่ศึกษาฟองน้ำเรียกว่า spongiology
ฟองน้ำมีเซลล์ต้นกำเนิดที่สามารถแปลงไปเป็นเซลล์ประเภทอื่นได้ และมักจะย้ายที่ไปมาระหว่างชั้นเซลล์หลักและเมโซฮิลในกระบวนการการแปลง ฟองน้ำไม่มีระบบประสาท ระบบย่อยอาหาร หรือระบบไหลเวียน แต่ฟองน้ำเหล่านี้ใช้น้ำที่ไหลเวียนเข้าออกนั้นเป็นแหล่งอาหารและออกซิเจน และใช้ขับถ่ายของเสีย ฟองน้ำเป็นสัตว์กลุ่มแรกที่แยกสายวิวัฒนาการออกจากบรรพบุรุษร่วมของสัตว์ทุกชนิด จึงทำให้ฟองน้ำเป็นกลุ่มพี่น้องกับสัตว์อื่น ๆ ทุกชนิด
ไซยาโนแบคทีเรีย
ไซยาโนแบคทีเรีย เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว รูปแบบโครงสร้างเซลล์มีสารพันธุกรรมทั้งตัวและไม่มีเยื่อหุ้มนิวนิวเคลียส (โพรแคริโอต) ทำให้สามารถเจริญแบบเพิ่มจำนวนได้โดยการแบ่งตัว เนื่องจากโลกยังร้อนจัด ไม่ออกซิเจน มีแต่คาร์บอนไดออกไซด์ สารประกอบจำพวก ไนโตเจน มีเทน แอมโมเนีย ไซยาโนแบคทีเรีย สามารถปรับตัวได้สูงมากโดยการ สร้างเมือกห่อหุ้มเซลล์ และในเซลล์จะมีถุงลมเพือเพิ่มการพยุงตัว หากภาวะที่เหมาะสมในการสังเคราะห์แสง มีเม็ดสีช่วยในการต่อต้านแสงอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ และเริ่มสังเคราะห์ด้วยแสง เกาะอาศัยอยู่บนสโตรมาโตไลต์ ทั่วไปบริเวณชายฝั่งทะเลสมัยพัฒนาเป็นสิ่งมีชีวิต