มารู้จักกับระบบสุริยะของเรากันดีกว่า
ระบบสุริยะของเราเป็น 1 ใน 500 ระบบสุริยะที่อยู่ในกาแลคซี่ทางช้างเผือก ระบบสุริยะของเราถือกำเนิด ขึ้นเมื่อประมาณ 4.5 พันล้านปีก่อน เมื่อกลุ่มเมฆก๊าซและฝุ่นระหว่างดวงดาวยุบตัวลงทำให้เกิดเนบิวลาสุริยะเป็น ลักษณะจานหมุนวนและเกิดการชนกันของมวลสารเพื่อสร้างระบบสุริยะ
ระบบสุริยะของเราอยู่บริเวณในกระจุกดาวนายพราน มีดาวฤกษ์เพียง 15%เท่านั้นที่เป็นโฮสต์ของระบบ ดาวเคราะห์ หนึ่งในนั้นมีดวงอาทิตย์ของเราและดาวเคราะห์อีก 8 ดวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ดาวเคราะห์ถูกแบ่ง ออกเป็น 2 กลุ่มตามองค์ประกอบ ได้แก่ เทอร์เรสเทรียล(ดาวเคราะห์ชั้นใน) และ โจเวียน(ดาวเคราะห์ชั้นนอก)
เทอร์เรสเทรียล(ดาวเคราะห์ชั้นใน) ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และ ดาวอังคาร องค์ประกอบส่วนใหญ่ เป็นหิน พื้นผิวแข็ง ไม่มีวงแหวน มีดวงจันทร์บริวารน้อยมากหรือไม่มีเลย ดาวเคราะห์กลุ่มนี้มีขนาดค่อนข้างเล็ก
- ดาวพุธ มีขนาดเล็กที่สุด อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด และมีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ที่สั้นที่สุดในระบบ สุริยะ ความเร็วในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลาแค่ 3 เดือนเท่านั้นโดยเทียบกับเวลาของโลก
- ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่ร้อนที่สุด โดยมีอุณหภูมิสูงถึง 867 องศาฟาเรนไฮต์เนื่องมาจากชั้น บรรยากาศที่ปกคลุมไปด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และมีลาวาที่ไหลออกมาในปริมาณมาก
- โลก ระบบน้ำบนโลกทำให้โลกเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวที่มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะแก่การดำรงชีวิต
- ดาวอังคาร สันนิษฐานว่าอาจมีสิ่งมีชีวิตถือกำเนิดและอาศัยอยู่เมื่อประมาณ 3.7 พันล้านปีก่อน เมื่อ ดาวเคราะห์มีพื้นผิวเป็นน้ำและมีชั้นบรรยากาศที่ชื้น
โจเวียน(ดาวเคราะห์ชั้นนอก) ประกอบไปด้วยดาวแก๊สยักษ์ ได้แก่ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ และดาว น้ำแข็งยักษ์ได้แก่ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน ดาวแก๊สยักษ์มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นแก๊สฮีเลียมและไฮโดรเจน ส่วนดาวยักษ์น้ำแข็งมีองค์ประกอบเป็น หิน น้ำแข็ง และของเหลวผสมระหว่างน้ำ มีเทน และแอมโมเนีย โจเวียนมี ดวงจันทร์บริวารหลายดวง มีวงแหวน ไม่มีพื้นผิวแข็ง และมีขนาดมหึมา
- ดาวพฤหัสบดี เป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ
- ดาวเสาร์ เป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะเป็นอันดับ 2 รองจากดาวพฤหัสบดี มีวงแหวนที่ กว้างพอ ๆ กับระยะทางระหว่างโลกไปดวงจันทร์ แต่มีความหนาเพียง 1 กิโลเมตร
- ดาวยูเรนัส เป็นดาวยักษ์น้ำแข็งมีขนาดใหญ่เล็กน้อย มีชื่อเสียงเรื่องของการโคจรรอบดวงอาทิตย์ แบบตะแคงข้าง
- ดาวเนปจูน อยู่นอกสุดและเย็นที่สุดในระบบสุริยะ(มีความเย็นประมาณ -353 องศาฟาเรนไฮต์ หรือประมาณ -214 องศาเซลเซียส)
วงโคจรของเทอร์เรสเทรียล คือ แถบดาวเคราะห์น้อย ซึ่งประกอบไปด้วยแผ่นหินแบนๆ และเศษซากจาก การก่อตัวของระบบสุริยะ ตั้งแต่อนุภาคฝุ่นขนาดจิ๋วไปจนถึงวัตถุที่ใหญ่ที่สุดอย่างดาวเคราะห์แคระ Ceres
เศษขยะอวกาศอีกที่หนึ่งที่อยู่ไกลออกไปมากและโคจรรอบโจเวียน เรียกว่า แถบไคเปอร์ ซึ่งเป็นแผ่น น้ำแข็ง นอกจากดาวเคราะห์น้อยแล้วแถบไคเปอร์ยังเป็นที่อยู่ของดาวเคราะห์แคระ เช่น ดาวพลูโต และยังเป็น แหล่งกำเนิดของดาวหางหลายดวง
เหนือบแถบไคเปอร์ไปอีกจะเป็น “เมฆออร์ต” เป็นกลุ่มก้อนน้ำแข็งทรงกลมขนาดมหึมา ถือว่าเป็นขอบ ของระบบสุริยะ เนื่องจากเป็นจุดสิ้นสุดของแรงโน้มถ่วงและอิทธิพลทางกายภาพของดวงอาทิตย