จริงหรือไม่? ข้าวบูดคาหม้อครั้งเดียว ข้าวจะบูดตลอดไป
จริงหรือไม่? ข้าวบูดคาหม้อครั้งเดียว ข้าวจะบูดตลอดไป
ทุกคนคงเคยเจอสถานการณ์ที่ "ข้าวหุงใหม่ ยังไม่ทันข้ามวันก็บูดแล้ว เสียดาย ข้าวยังเต๋มหม้ออยู่เลยต้องท้องตลอด"
ด้วยความสงสัย ? เราจึงไปหาข้อมูลเพิ่มเติมว่า ทำไมจึงเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นซ้ำๆ คำตอบที่ได้จากการรวบรวมข้อมูลหลาย ๆ ที่สรุปว่า
♦ เมื่อเกิดเหตุการณ์ข้าวบูดคาหม้อหุงข้าวแล้วเพียงครั้งเดียว จะเกิด "แบคทีเรียชนิดทนความร้อน" ซึ่งแบคทีเรียตัวนี้ตะทำให้ข้าวที่เราหุงไว้บูดเร็วขึ้นกว่าปกติ บวกกับ "อากาศร้อน" หรืออุณหภูมิที่เหมาะสมจะยิ่งทำให้แบคทีเรียเจริญเติบโตได้ดี และเร็วขึ้นกว่าปกติอีกด้วย
วิธีการทำความสะอาดหม้อหุงข้าวและวิธีป้องกันข้าวบูด
ซึ่งวิธีแก้ไขไม่ให้ข้าวที่เราตั้งใจหุง สามารถเก็บได้นานขึ้น มี วิธีการทำความสะอาดหม้อหุงข้าวและวิธีป้องกันข้าวบูด ดังต่อไปนี้
1. ควบคุมปริมาณน้ำที่ใช้หุงข้าวให้ดี ข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย ข้าวเก่าก็ใช้น้ำเยอะหน่อย ถ้าหุงข้าวแฉะเกินไปจะทำให้ข้าวบูดเร็ว และอย่าทำให้ข้าวที่ฝาหม้อไหลตกลงไปในข้าว
2. ใส่น้ำส้มสายชูตอนหุงไปประมาณ 1 ช้อนชา โดยน้ำส้มสายชูจะเป็นน้ำส้มสายชูแบบหมักหรือแบบกลั่นก็ได้
3. นำหม้อหุงข้าวไปต้มน้ำจนเดือดก่อน บางคนต้มน้ำเปล่าผสมกับน้ำส้มสายชู บางคนต้มน้ำเดือดผสมเกลือ ได้ทั้งสองวิธี
4. กินเสร็จแล้ว มีข้าวเหลือในหม้อหุงข้าวเท่าไหร่ ตักเก็บใส่ไว้ใกล่อง ปิดสนิทเอาไว้กินในมื้อต่อไป ไม่ทิ้งข้าวไว้ในหม้อหุงข้าวข้ามคืน
5. การซาวข้าวก็มีผล แนะนำให้ซาวข้าวสารจนกว่าน้ำจะใส ช่วยยืดอายุของข้าวได้นานมากยิ่งขึ้น
6. ถ้าเคยมีประสบการณ์ข้าวบูดคาหม้อ ต้องหยุดนำมาใช้ก่อน เพราะข้าวหุงใหม่ก็จะทำให้ข้าวบูดเหมือนเดิมอยู่ดี เพราะยังมีเชื้อบูดหรือแบคทีเรียอยู่ในหม้อหุงข้าว ที่จะทำให้ข้าวในหม้อบูดไปเรื่อย ๆ อาจจะใช้วิธีทำความสะอาดหม้อในข้อที่ 3 ทำความสะอาด หรือเปลี่ยนหม้อใหม่ไปเลย
7. นำหม้อหุงข้าวไปตากแดดให้ร้อนจัด ๆ โดยให้หม้อโดนแดดทั้งวันเพื่อฆ่าแบคทีเรีย
8. หลังการใช้งานหม้อหุงข้าวทุกครั้ง ให้ทำความสะอาดหม้อหุงข้าว ด้วยการล้างทุกส่วนของหม้อหุงข้าวไม่ว่าจะเป็นฝาหม้อ ยางซิลิโคนที่ซีลหม้อหุงข้าว
ใครเคยมีประสบการณ์ข้าวบูดบ่อยบ้าง ? หรือมีวิธีการอย่างไรที่ไม่ทำให้ข้าวบูดเร็ว คอมเม้นต์แนะนำแนวทางให้เพื่อน ๆ ได้เลยนะ ♥