ปฏิทินแม่โขง..ในความทรงจำ
แม่โขง เป็นสุราสียี่ห้อแรกของประเทศไทย เป็นสุราปรุงพิเศษ 35 ดีกรี เริ่มผลิตใน พ.ศ. 2484 ที่โรงงานสุราบางยี่ขัน ปากคลองบางยี่ขัน ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ตำบลบ้านปูน อำเภอบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี
บางยี่ขัน ย่านต้มสุรา
บางยี่ขันเป็นย่านผลิตสุรามาตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นกล่าวกันว่าในสมัยรัชกาลที่ 1 มีนายอากรสุราชาวจีนมาปลูกโรงต้มสุราบริเวณปากคลองบางยี่ขันริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกมองเห็นปล่องไฟมีควันโขมงสังเกตเห็นได้ง่าย
โรงงานสุราบางยี่ขัน โรงงานสุราของรัฐ
ต่อมาในวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2457 รัฐบาลได้โอนโรงงานสุราบางยี่ขันซึ่งเดิมเป็นกิจการของเอกชนมาเป็นของรัฐโดยมีกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลังเป็นผู้ปกครองดูแลเรียกประมูลเงินผลประโยชน์เข้ารัฐในรูปแบบต่าง ๆ แล้วตั้งผู้ประมูลได้ให้เป็นผู้รับอนุญาต ผลิตสุราออกจำหน่ายภายในเขตที่กำหนดให้เป็นเขตจำหน่ายสุราของโรงงาน วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวครบกำหนดหมดอายุสัญญาอนญาตให้ต้มกลั่นและจำหน่าย สุรากรมสรรพสามิตจึงได้ระงับการอนุญาตให้เอกชนต้มกลั่นและจำหน่ายสุราและเข้าดูแลควบคุมการผลิตสุราที่โรงงาน บางยี่ขันเองเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2472 มีการปรับปรุงโรงงานให้ทันสมัยและผลิตสุราชนิดใหม่คือสรุผสม 28 ดีกรี หลายยี่ห้อรวมทั้งเชี่ยงชุนที่ยังคงผลิตมาจนถึงปัจจุบัน แต่การจำหน่ายยังคงใช้วิธีการประมูลเงินผลประโยชน์ ตั้งผู้ทำการค้าส่งเป็นเขต ๆ
ต่อมากรมสรรพสามิตได้ผลิต "สุราผสม" โดยใช้เคร่องสมุนไพรตามเภสัชตำรับของยาดองเหล้าแบบโบราณสกัดโดย แช่ในสุราดีกรีสูงแล้วนำมาปรุงแต่งรสกลิ่นสีและแรงแอลกอฮอล์ เป็นสุราผสมดื่มได้ทันทีโดยไม่ต้องผสมโซดาและต่อมา ได้พัฒนาเป็น "สุราปรุงพิเศษ" ดื่มโดยผสมโซดาหรือไม่ก็ได้ในขณะนั้นมีผู้นิยมดื่มวิสกี้ผสมโซดากันอย่างแพร่หลาย วิสกี้ส่วนใหญ่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ สิ้นเปลืองเงินตราปีละมาก ๆ สุราปรุงพิเศษที่กรมสรรพสามิตผลิตขึ้นจึงช่วยลดการนำเข้าได้เป็นอย่างดี
กำเนิด "แม่โขง" ริมฝั่งเจ้าพระยา
ต่อมาในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เกิดการเรียกร้องดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขง 4 จังหวัดคือเสียมราฐ พระตะบอง ศรีโสภณ และนครจำปาศักดิ์คืนจากประเทศฝรั่งเศสจนเกิดกรณีพิพาทและนำไปสู่สงครามอินโดจีน หลวงวิจิตรวาทการ ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากรจึงแต่งเพลงปลุกใจชื่อว่าเพลง "ข้ามโขง" โดยใช้ ทำนองเพลง "Swanee River" ของฝรั่งมาใส่เนื้อร้องเป็นภาษาไทยเพื่อรณรงค์ให้คนไทยเกิดความเข้าใจว่าแม้จะอยู่ ห่างไกลกันคนละฝั่งแม่น้ำโขงแต่ทั้ง 4 จังหวัดก็เป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทย เพลงข้ามโขงนี้โด่งดังมากและสร้างความรู้สึกรักชาติรักแผ่นดินอย่างรุนแรง อิทธิพลของเพลงนี้จูงใจให้กรมสรรพสามิตตั้งชื่อสุราปรุงพิเศษ 35 ดีกรีซึ่งเพิ่งจะผลิตขึ้นใหม่ในวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2484 ว่า "แม่โขง " …
แม้แม่โขงจะไม่ใช่เหล้ายี่ห้อแรกที่กล้าเปิดซิงปฎิทินนู้ดให้สังคมไทยรู้จัก แต่เป็นปฎิทินที่จัดหนักกว่า 20 ปีทำให้ผู้ชายทั้งประเทศ ณ.บัดนั้นเฝ้าฝัน รอคอยให้ถึงสิ้นปีเพื่อลุ้นระทึกว่านางในฝันนางใดจะกล้าเย้ยฟ้าท้าดินอีกหน ติ๊ก แม่โขง (แพรว มาศมารุต หรือจุติมา ดาวจรัส) โด่งดังมาจากปฏิทินนี้ในปี 2525
เช่นเดียวกับ ผุสรัตน์ ดารา นางเอกภาพยนตร์จักรๆวงศ์ๆ ได้ถ่ายแบบปฏิทินในปี 2528 ขณะที่ปี 2527 เพ็ญพักตร์ศิริกุล นางแบบดาวยั่วหรือมีศัพท์ที่เรียกกันว่า ซ็กส์บอมบ์ ก็ถ่ายกับเขาด้วย นั่นได้ทำให้ปฏิทินแม่โขงกลายเป็นแบรนด์ที่จดจำของชายหนุ่มทั้งหลายในประเทศ
.
ทศวรรษ 2530 กลายเป็นยุคที่เฟื่องฟูของนางแบบ เซ็กส์บอมบ์ ปี 2533 ดาริน กรสกุล นางเอกหนังวับแๆแวมๆจากกลกามแห่งความรัก (2532) ก็ถ่ายปฏิทินแม่โขง ในปีดังกล่าวปฏิทินถูกตำรวจกวาดจับเนื่องจากมีลักษณะยั่วยุทางเพศพลันที่กระทรวงมหาดไทยออกกฎห้ามตีพิมพ์ภาพลักษณะดังกล่าว และในยุคนี้เองที่นางแบบอย่างมรกต มณีฉาย, อุ้ยอ้าย อัครนี แดงใส แจ้งเกิดด้วยการถ่ายภาพปฏิทินอื่นๆ ขณะที่ปี 2535 แม่โขงได้จับนางแบบเซ็กส์บอมบ์หลายคนมาอยู่ในชุดเดียวกัน เช่น สุกัญญา มิเกล, ทัดทรวง มณีจันทร์
ถึงจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญเมื่อปฎิทินแม่โขงถูกกวาดล้างจากกระทรวงมหาดไทย เป็นยุคของ "ดาริน กรสกุล (2533)" ดาวยั่วในตำนานของสยามประเทศอีกนาง ซึ่งเป็นผลทำให้ปฎิทินในยุคนั้นต้องแอบขายแอบแจกแบบลับ ๆ ล่อ ๆ ตามซอกหลืบ และในที่สุดปี 2539 เป็น ปีที่มิตรรักคอสุราต่างต้องน้ำตาตกไปตามๆกัน
เพราะผู้บริหารของบริษัทสุรามหาราษฎร์เหล้าต้นตำรับนู้ดข้างฝา ออกประกาศดัง ๆ ขอปิดตัวปฏิทินนู้ดแม่โขงเพราะต้องการสร้างภาพลักษณ์ใหม่
เปลี่ยนแนวแบบช็อกขาประจำ ขอออกปฎิทินแนวอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยแทนซะยังงั้นโดยมี ลูกนัท กฤติยาภรณ์ ศรีรัตนพันธ์ นางแบบสะโพกสวย เป็นนู้ดแม่โขงคนสุดท้าย
ผู้ชายไทยในยุค80 ได้แต่นึกถึงร้านตัดผมเรียบง่ายกับกลิ่นอายเซ็กซี่เล็กในอดีตเท่านั้น...