สถาบันอุดมศึกษา แห่งแรกของประเทศไทย และประวัติความเป็นมาของ มหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทย ถือกำเนิดจากโรงเรียนสำหรับ ฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าให้ตั้งขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2442 และเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียน มหาดเล็กเมื่อ 1 เมษายน 2445
และในสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนา โรงเรียนมหาดเล็กเป็นสถาบันอุดมศึกษา พระราชทานนามว่า โรงเรียนข้าราชการพลเรือนเมื่อ 1 มกราคม 2453
ต่อมาทรงโปรดเกล้าให้ประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนขึ้นเป็น"จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"เมื่อ 26 มีนาคม 2459 โดยช่วงแรกจัดการศึกษาเป็น 4 คณะ ได้แก่ คณะรัฐประศาสนศาสตร์,คณะแพทย์ศาสตร์,คณะวิศวกรรมศาสตร์,คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์
ในครั้งนั้นมีการเปิดสอน 8 แผนกวิชา ได้แก่ การปกครอง กฎหมาย การทูต การคลัง การแพทย์ การช่าง การเกษตร และวิชาครู จัดการศึกษาใน 5 โรงเรียน คือ
:โรงเรียนรัฐประศาสนศาสตร์..ตั้งอยู่ในพระบรมมหาราชวัง
:โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์..ตั้งอยู่ที่บ้านสมเด็จเจ้าพระยา
:โรงเรียนราชแพทยาลัย..ตั้งอยู่โรงพยาบาลศิริราช
:โรงเรียนเนติศึกษา..ตั้งอยู่ที่เชิงสะพานผ่านพิภพลีลา
:โรงเรียนยันตรศึกษา..ตั้งที่วังใหม่ หรือ วังกลางทุ่ง หรือวังวินเซอร์
: พ.ศ. 2459-2465
มีการปรับปรุงมาตรฐานการศึกษาระดับประกาศนียบัตร และการเตรียมการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญา มีการติดต่อกับ มูลนิธิ ร็อกกี้เฟลเลอร์ เพื่อให้ช่วยเหลือการเรียนการสอนของคณะแพทย๋ศาสตร์
: พ.ศ. 2466-2480
เริ่มรับผู้สำเร็จหลักสูตรมัธยมบริบูรณ์ เข้าเรียนในคณะแพทย์ศาสตร์ และมีการปรับปรุงหลักสูตรและรับนักเรียนผู้จบประโยคมัธยมบริบูรณ์ เข้าเรียนอีก 4 คณะ
: พ.ศ. 2481-2490
เริ่มเน้นการเรียนการสอนพื้นฐานของวิชาชีพในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมีการจัดเตรียมมหาวิทยาลัยคือ นักเรียนจะต้องเลือกเรียนตามคณะต่างๆที่มหาวิทยาลัยเปิดสอน ทำให้เกิดโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขึ้น
: พ.ศ. 2491-2503
เป็นระยะเวลาของการขยายการศึกษาออกไป โดยเน้นระดับ ปริญญาตรีเป็นหลัก
: พ.ศ. 2504-ปัจจุบัน
เป็นช่วงเวลาของการขยายการศึกษาระดับ ปริญญาตรี และ เริ่มพัฒนาการศึกษาระดับ บัณฑิตศึกษา ส่งเสริมการค้นคว้า วิจัย การอนุรักษ์และสนับสนุน ศิลปวัฒนธรรม และการบริการทางวิชาการ ให้แก่สังคม มีการจัดตั้งสถาบันวิจัย ศูนย์และสำนัก เพื่อให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัยและพัฒนาตนเองให้ดีที่สุด เท่าที่จะทำได้ทุกวิถีทาง ให้สมกับเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราชของพสกนิกรชาวไทยตลอดไป..