ใกล้สูญพันธุ์"มะไฟกา"ผลไม้ป่าที่หายากสายพันธุ์กับมะไฟ
มะไฟกาเป็นผลไม้ป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ เรามาดูลักษณะของผลไม้ชนิดนี้กัน ว่ามีคุณลักษณะอย่างไรบ้าง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
* ลำต้น
ลักษณะเปลือกลำต้นของมะไฟกามีสีเทาอมน้ำตาล และแตกเป็นสะเก็ดเล็กๆบางๆมีความสูงของลำต้นประมาณ 6-10 เมตร
* ใบ
ลักษณะใบเป็นรูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน โคนใบสองเว้า ปลายใบแหลม ขอบใบเรียว แผ่นใบรอบสีเขียวขนาดความกว้างของใบมีประมาณ 5-7 ซม.ยาวประมาณ 10-16 ซม. ออกเป็นใบเดี่ยวบริเวณปลายกิ่ง เรียงกันอยู่แบบตรงกันข้ามเป็นกลุ่ม ระหว่างโคนใบกับก้านใบจะมีลักษณะของข้อต่อที่บวมพอง
* ดอก
ออกดอกเป็นช่อบริเวณลำต้นและปลายกิ่ง ไม่มีกลีบดอก ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียจะแยกอยู่คนละต้น ดอกเพศเมียมีขนาดใหญ่กว่าดอกเพศผู้ ตัวผู้มีกลีบเลี้ยง 4-5 กลีบ มีขนสีขาวปกคลุม ช่อดอกเพศผู้ยาวประมาณ 10-12 ซม. มีเกสรเพศเมีย 3 อันแยกออกเป็น 2 แฉกมีรังไข่ปกคลุมไปด้วยขนอ่อนนุ่มจำนวน 3 ห้องอยู่เหนือฐานรองดอก
* ผล
ลักษณะผลมะไฟกา มีรูปร่างกลม หรือกลมรี ผลที่โตเต็มที่จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-3 ซม.ผลอ่อนจะมีสีเขียวเข้มและจะกลายเป็นสีแดงอมม่วงเมื่อสุก เปลือกค่อนข้างหนาและเหนียว เนื้อภายในผลสีขาวหรือสีเหลืองอ่อนๆ ที่ห่อหุ้มเมล็ดอยู่ แยกกันอยู่ประมาณ 2-3 กลีบ มีรสหวานอมเปรี้ยว ติดดอกออกผลได้ตลอดทั้งปี หากสภาพที่เหมาะสม
* เมล็ด
ภายในเนื้อเยื่อของผลแต่ละกลีบ จะมีเมล็ดสีน้ำตาลอ่อนรูปร่างกลมแบนอยู่กลีบละ 1 เม็ด เส้นผ่าศูนย์กลางเมล็ดประมาณ 1 ซม.
"การขยายพันธุ์"
* โดยการใช้เมล็ด
"ประโยชน์"
* ผลอ่อน-ใช้รับประทานเป็นผักสด มีรสเปรี้ยวและฝาดเล็กน้อย
* ผลสุก-มีรสหวานอมเปรี้ยว มีปริมาณวิตามินซีสูง ใช้รับประทานเป็นผลไม้ และสรรพคุณ ในการช่วยขับเสมหะ รักษาอาการอาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องเฟ้อ
* ใช้ต้มดื่ม เพื่อช่วยบำรุงร่างกาย แก้ไอ รักษาโรคกระเพาะอาหาร แก้อาการอาหารไม่ย่อย อาหารเป็นพิษ แก้อาการท้องเสีย ลดการอักเสบ ดับพิษร้อน แก้วัณโรค แก้พิษตานซาง แก้อาการของโรคเริมและฝี
* ยอดและใบอ่อน
ใช้ปรุงอาหารประเภทต่างๆ ได้อีกด้วยนะครับ..