โครงการน้ำบาดาลขนาดใหญ่ ต่อชีวิตเกษตรกรไทยแก้ปัญหาภัยแล้ง
โครงการน้ำบาดาลขนาดใหญ่ ต่อชีวิตเกษตรกรไทยแก้ปัญหาภัยแล้ง
นับว่าเป็นโครงการดีๆ ที่ไม่อยากให้เป็นแค่เรื่อง ปิดทองหลังพระ แต่เป็นโครงการที่อยากให้ทุกคนได้ผลประโยชน์มากที่สุด เพื่ออนาคตของเกษตรกรไทย
โครงการน้ำบาดาลขนาดใหญ่ ที่ นายวราวุธ ศิลปอาชา รมต. ว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ผลักดันโครงการน้ำบาดาลขนาดใหญ่ ในการการส่งเสริมและแก้ปัญหาทางการเกษตรด้านกรมชลประทาน
จากปัญหาเอลนิโญ จากสถิติประเทศไทยมีฝนตกทั่วประเทศ ประมาณ ปีละ 730,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งน้ำฝนจะซึมลงชั้นผิวใต้ดิน 10% และสามารถสูบขึ้นมาใช้ได้ โดยไม่ทำลายชั้นดินประมาณ 45,645 ล้านลูกบาศก์เมตร
ซึ่งในปัจจุบัน ประเทศไทย มีการใช้งานน้ำบาดาลไปแล้วราว 15,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ยังคงเหลือน้ำบาดาลที่ยังสามารถนำมาใช้ได้อีก 30,645 ล้านลูกบาศก์เมตร
โครงการน้ำบาดาลขนาดใหญ่ กุญแจสู่ความมั่นคงและยั่งยืน ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของประเทศไทย และหนึ่งในหัวใจสำคัญคือการจัดทำแผนที่น้ำบาดาล ที่จะช่วยให้สามารถขุดเจาะน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้ได้อย่างแม่นยำ และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา แผนที่น้ำบาดาลที่เรามี ถือว่ายังไม่ละเอียดมากนัก ต้องมีการของบประมาณจากรัฐบาล เพื่อจัดทำแผนที่ฯ ให้มีความละเอียดมากขึ้นในทุกภาค ขณะนี้กำลังดำเนินการของบประมาณครับ
.
ซึ่งในหลายประเทศทั่วโลก ก็เริ่มมีการใช้น้ำบาดาล เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำมากขึ้น เช่น เดนมาร์ก ก็ใช้น้ำบาดาลอุปโภค-บริโภคเกือบ 100% หรือสหรัฐอเมริกาก็ใช้น้ำบาดาลเพื่ออุปโภค-บริโภคเกินครึ่งประเทศ ส่วนประเทศไทยของเรานั้น เทคโนโลยีการขุดเจาะน้ำบาดาลในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ได้พัฒนาและเติบโตอย่างก้าวกระโดด สามารถเจาะได้ลึกเกิน 1,000 เมตร และได้ดำเนินการเจาะบ่อบาดาล เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งให้พี่น้องประชาชนทั่วประเทศแล้ว กว่า 1 หมื่นบ่อ
.
และแน่นอนว่าโครงการน้ำบาดาลขนาดใหญ่ประกอบไปด้วยบ่อน้ำบาดาล 4 ประเภทได้แก่
1.ขนาดใหญ่สุดที่กาญจนบุรี มีที่จังหวัดกาญจนบุรี
2.เพื่อการเกษตร
3.อุปโภคบริโภค
4.จุดจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการซึ่งเป็นพลังงานสะอาดและลดค่าใช้จ่าย
.
นับว่าเป็นโครงการดีๆในการพัฒนาประเทศและสร้างความมั่นคงทางทรัพยากรน้ำให้ชาวบ้านได้กินได้ใช้ และสร้างเศรษฐกิจ และรับมือกับวิกฤตภัยแล้ง จากปรากฎการณ์ เอลนีโญทำให้ทั้งประเทศไทยประสบกับภัยแล้ง