ประเทศไทยกินเนื้อหมูปีละเท่าไหร่กันนะ?
ปี 2561 - 2565 การผลิตสุกรของไทยลดลงในอัตราร้อยละ 6.28 ต่อปี โดยในปี 2565 มีปริมาณการผลิตสุกร 15.51 ล้านตัว ลดลงจาก 19.28 ล้านตัว ของปี 2564 ร้อยละ 19.55 เนื่องจากแม่พันธุ์สุกรได้รับความเสียหายจากการระบาดของโรค ASF และเกษตรกรรายย่อยชะลอการเลี้ยงเพื่อลดความเสี่ยง ส่งผลให้ปริมาณการผลิตสุกรในภาพรวมลดลง
ปี 2561 - 2565 ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรของไทย ลดลงในอัตราร้อยละ 7.15 ต่อปี ซึ่งสุกรที่ผลิตได้ใช้บริโภคภายในประเทศเป็นหลักประมาณร้อยละ 99 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด โดยในปี 2565 มีปริมาณการบริโภคสุกร 1.15 ล้านตัน ลดลงจาก 1.31 ล้านตัน ของปี 2564 ร้อยละ 12.13เนื่องจากเนื้อสุกรมีราคาปรับตัวสูงขึ้น ผู้บริโภคจึงหันไปบริโภคเนื้อสัตว์ชนิดอื่นที่มีราคาถูกกว่าทดแทน
ปี 2561 - 2565 ราคาที่เกษตรกรขายได้เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 13.31 ต่อปี โดยราคาสุกรที่เกษตรกรขายได้ปี 2565 เฉลี่ยกิโลกรัมละ 99.20 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 73.14 บาท ของปี 2564 ร้อยละ 35.63 เนื่องจากจำนวนแม่พันธุ์ที่ลดลงจากปัญหาโรคระบาดในสุกร ประกอบกับต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นจากภาวะวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ปรับตัวสูงขึ้นมาก ในขณะที่ความต้องการบริโภคยังคงทรงตัว