มาบริหารเงินกันเถอะ
✍️ สวัสดีค่ะ..วันนี้หลายคนก็กำลังทำงานอยู่ เป็นเรื่องดีมาก ๆ ในยุคเศรษฐกิจแบบนี้ที่ยังมีงานทำ เพราะนั่นคือสิ่งที่บอกให้รู้ว่าเราจะมีเงินไว้ใช้จ่าย
😧 แต่อย่าชะล่าใจกับการใช้เงินจนลืมไปว่าวันนึงถ้าเรามีปัญหาต้องใช้เงินกระทันหันเราจะรับมือกับมันยังไง วันนี้จะขอแนะนำการบริหารเงินง่าย ๆ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันกันค่ะ
🏡 ในทุกเดือนสำหรับมนุษย์เงินเดือน ในแต่ละเดือนเราใช้เงินกันจำนวนเท่าไหร่คะ แน่นอนว่าหลายคนคงไม่ได้มีการจดบันทึกรายการรับจ่าย เอาคร่าว ๆ ค่ะ
💸 อันดับแรกเรานำเงินเดือนมาตั้งไว้ว่ามีรายรับเข้าเท่าไหร่ สมมติ 15000 บาท
ต่อไปรายจ่ายแต่ละเดือน เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าใช้จ่ายประจำวัน รวมแล้วใน 1 เดือนต้องใช้เท่าไหร่ แต่ละเดือนจำนวนวันก็ตั้งไว้เลย 30 วัน และถ้าเดือนไหนมี 31 วัน ก็ตั้งไว้ ในแต่ละเดือน
☎️ 🧥 🏍️ 🍚 🍰🍻
เมื่อได้จำนวนเงินที่เป็นค่าใช้จ่ายแล้ว ลองนำมาหักกับยอดรายรับนะคะว่าเหลือมั้ย หลายคนอาจตกใจเดือนชนเดือนเลย
ถ้าพบว่าค่าใช้จ่ายมากกว่ารายรับ ไม่ต้องตกใจ อ้าวแล้วที่ผ่านมาทำไง ใช้บัตรเครดิตใช่มั้ย
สำหรับบัตรเครดิตเป็นปัญหาของหลาย ๆ คน และนำมาซึ่งหนี้สิน แต่ถ้าเราบริหารเงินให้ดี เราก็อาจจะไม่เจอปัญหานี้
ต่อไปเมื่อเราได้ยอดหลังหักสมมติ 14000 บาท แสดงว่าเรามีเงินคงเหลือ 1000 บาท เงินส่วนนี้ ให้เราแยกออกมาเป็นเงินออมค่ะ จะเปิดบัญชีอีกบัญชีหนึ่งก็ได้
บัญชีนี้ห้ามถอนออกมาใช้เลยนะคะ ในบางช่วงธนาคารจะมีการเปิดบัญชีเงินฝากที่ให้ดอกเบี้ยมากกว่าเงินฝากออมทรัพย์ปกติ หรือเงินฝากแบบไม่เสียภาษี ในระยะเวลาที่กำหนดเช่น 24 เดือน 36 เดือน ฝากทุกเดือนเท่า ๆ กัน เมื่อครบกำหนดก็จะได้ดอกเบี้ย อาจจะไม่มาก แต่ก็มีเงินงอกค่ะ เพราะถ้าเราเอาเงินมาถือไว้ ยอดเงินก็จะเท่าเดิมไม่เพิ่มพูนใด ๆ
ต่อไปมาดูในส่วนของค่าใช้จ่ายประจำวัน สมมติ ค่าข้าว ค่าเครื่องดื่ม ค่าเดินทาง ต่อวัน 150 บาท ที่คำนวณไว้ และคูณด้วย 30 วัน หรือ 31 วัน
🍰 ☕ 🍨 🍺 🚗
ใน 1 เดือน เราจะมีวันหยุด บางครั้งเราอยู่บ้าน ก็จะมีแค่ค่ากินอย่างเดียว วันนึงอาจใช้ไม่ถึง 150 บาท เพราะฉะนั้นใน 1 วัน ถ้าเราใช้เงินไม่ถึง 150 บาท ให้เราหากระปุกออมสินมาไว้หยอดกระปุกทุก ๆ วัน จะเหรียญหรือแบงค์ก็หยอดไปจนครบ 1 เดือน
💵 💸 💰
จากนั้นเราลองเอาออกมานับดูว่าเรามีเงินเหลือจากการหยอดกระปุกมากเพียงใด และให้เราเปิดบัญชีอีก 1 บัญชี เป็นเงินกรณีฉุกเฉิน โดยนำเงินที่เราหยอดกระปุกในทุก ๆ เดือนไปฝากเอาไว้
ต่อไปเรามาสังเกตพฤติกรรมการใช้เงินของตัวเองว่ามีค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยอะไรบ้าง เช่น เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า เชื่อว่าหลายคนมีสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มากมาย
👠 👗 👛 💍 🥿 👓 👘
บางชิ้นยังไม่แกะใช้เลยก็มี แต่พอเห็นแล้วอดซื้อไม่ได้มันสวย มันน่าจะใช้ในโอกาสต่าง ๆ มันลดราคา ซึ่งร้านค้าใช้กลยุทธ์จากพฤติกรรมการใช้เงินของเราสำรวจว่าเราจะตัดสินใจซื้อโดยพิจารณาอะไรบ้าง
เมื่อเรารู้พฤติกรรมของตัวเองแล้วต่อไปให้เราสำรวจทรัพย์สินของเราว่ามีอะไรบ้างที่จำเป็นต้องซื้อจริง ๆ เช่น สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก ถ้าใกล้หมดแล้วควรรีบซื้อก่อน ให้พิจารณาของใช้ฟุ่มเฟือยไว้ท้ายสุด คำนึงถึงความจำเป็นเป็นหลัก เพราะเชื่อว่าตู้เสื้อผ้า หรือตู้รองเท้า คงไม่พอใส่แล้ว
จากนั้นให้สำรวจเสื้อผ้าที่เราใส่ไม่ได้แล้ว และที่คิดว่าคงไม่ได้ใช้จริง ๆ แล้ว คัดแยกออกมาเพื่อนำออกจำหน่าย เพราะจะทำให้เรามีเงินเพิ่มขึ้น
และเมื่อเราได้เงินจากการขายเสื้อผ้าเหล่านั้นมาแล้ว ให้แยกเงินนั้นไว้สำหรับเที่ยวพักผ่อน เพื่อใช้เติมพลังให้กับชีวิตค่ะ แต่ถ้าเราอยากทำบุญก็ร่วมบริจาคให้กับสถานสงเคราะห์ หรือ มูลนิธิที่เค้ามีความต้องการรับบริจาคก็ได้นะคะ
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับการบริหารเงินที่นำมาแนะนำในวันนี้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ให้กับหลาย ๆ คนไม่มากก็น้อยนะคะ ....ขอบคุณค่ะ