Share Facebook LINE Twitter
หน้าแรก เว็บบอร์ด Chat ตรวจหวย ควิซ คำนวณ Pageแชร์ลิ้ง
หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

Special พาลิโอนิวส์: มันคือตัวอะไร? ไดโนเสาร์แห่งแก่งกรุง

โพสท์โดย samuraimasterj

       หลายๆ คนอาจจะเคยรู้ว่าไดโนเสาร์นั้นมีการค้นพบมาอย่างยาวนาน และพวกมันได้สูญพันธุ์ไปหมดจากโลกของเราแล้ว หากแต่ยังมีคนบางกลุ่มเชื่อว่า ไดโนเสาร์อาจจะยังไม่สูญพันธุ์

        ภาพๆ หนึ่งได้กลายเป็นไวรัล เมื่อกล้องดักสัตว์ป่าของอุทยานแห่งชาติแก่งกรุงจับภาพของสัตว์ที่มีลาย หางยาว คอยาว และเดินสี่ขา รูปร่างยาวคล้ายสัตว์เลื้อยคลาน หลายๆ คนเชื่อกันว่ามันคือไดโนเสาร์อย่างแน่นอน

       หากลองสังเกตดีๆ สัตว์เหล่านี้มีหูเป็นอวัยวะที่เด่นชัดชี้ตรง แถมถ้าซูมดูใกล้ๆ จะเห็นว่ามันมีก้อนจมูกกลมๆ เป็นเอกลักษ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จึงยืนยันได้ว่า มันไม่ใช่ไดโนเสาร์นั่นเอง

ถ้าไม่ใช่ แล้วมันคือตัวอะไร?

        สัตว์ที่คุณเห็นอยู่นี้ แท้จริงเป็นสัตว์ป่าจำพวกอีเห็น มันคือ อีเห็นลายเสือโคร่งนั่นเอง (Tiger Striped Civet; Hemigalus derbyanus) เป็นสัตว์ในวงศ์อีเห็น (Viverinae) ซึ่งพบกระจายพันธุ์ในแถบอินโดจีนและคาบสมุทรมลายู มักหากินบนต้นไม้ พื้นป่า โดยพลิกใบไม้หรือก้อนหินพลางใช้จมูกในการดมกลิ่นตามหาอาหาร กินได้ทั้งพืชและสัตว์ ลักษณะเด่นที่ทำให้ต่างจากอีเห็นทั่วไปคือ มีร่างกายที่ยาวและยืดหยุ่นช่วยในการห้อยโหนจากต้นไม้ได้ ปัจจุบันเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฏหมาย

 

ถึงแม้จะเป็นเพียงสัตว์ขนาดเล็กธรรมดา แต่พวกเราก็ควรจะตรวจสอบให้ดีและทำการหาข้อมูลก่อนโพสต์แชร์เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดนะครับ  และที่สำคัญ หันมารักป่า รักสัตว์ป่า และดูแลป่าไม้เพื่อโลกที่อุดมสมบูรณ์ของพวเรากันนะครับ!  

 

เกร็ดเล็กเกล็ดน้อย

  1. อีเห็นถือกำเนิดขึ้นบนโลกเมื่อสมัย 34 ล้านปีก่อน หรือช่วงยุคอีโอซีนหลังไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปแล้ว
  2. อีเห็นลายเสือโคร่งจัดว่าเป็นอีเห็นที่มีข้อมูลน้อยมาก เพราะพบเห็นตัวได้ยากบวกกับสภาพถิ่นที่อยู่อาศัยหดหายไป
  3. อีเห็นมีต่อมกลิ่นที่ส่งกลิ่นหอมคล้ายไขขี้ผึ้งที่มันมักจะป้ายเพื่อบ่งบอกอณาเขตหรือเรียกคู่ จึงนิยมนำมาทำยาและใช้แต่งกลิ่นเครื่องสำอางของไทย
  4. เล็บของอีเห็นสามารถพับหดได้เหมือนแมว
  5. อีเห็นอยู่ในอันดับ Feliformia เช่นเดียวกับสัตว์ตระกูลแมว ไฮยีน่า และชะมดเช็ด
โพสท์โดย: samuraimasterj
อ้างอิงจาก: bangkokbiznews.com/news/news-update/1051381
https://www.dailynews.co.th/news/1954495/
https://th.wikipedia.org/wiki/อีเห็นลายเสือโคร่ง
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
samuraimasterj's profile


โพสท์โดย: samuraimasterj
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
5 VOTES (5/5 จาก 1 คน)
VOTED: อ้ายเติ่ง
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
“ตึกสาทร ยูนีค” กลับมาเป็นที่พูดถึงอีกครั้ง ท่ามกลางข่าวแผ่นดินไหว-ตึกถล่มแสงสีส้ม vs แสงสีขาว แสงแบบไหนที่เหมาะกับห้องนอน การเลือกสีแสงไฟสำหรับห้องต่าง ๆภูเขาไฟญี่ปุ่นพ่นควันสูง และ ส่งสัญญาณปะทุ 54 ครั้งฝรั่งเตือนทรัมป์ “คิดว่าอเมริกาเจริญ มาดูไทยก่อนไหม” ห้างเชียงใหม่เล่นซะอึ้งทั้งโซเชียล"พิมรี่พาย" ฟาดยับ! หมอดูดัง "อยากให้กูตายใช่มั๊ย ?"..จะทายอะไรก็อย่าให้เป็นกูคิมซูฮยอน เจองานเข้าอีกรอบ ถูกแจ้งความว่าหลบเลี่ยงภาษีภารกิจครั้งแรกที่มีมนุษย์เดินทางไปรอบขั้วโลกเสร็จสิ้นแล้วสาวสวยแต่งกับหนุ่มหลังคบได้ 15 วัน ได้สร้อยคอทองคำมหาศาลเขมรตาค้าง! หลังเห็นของเเทร่โฆษณารีเจนซี่2025หรือโปรโมตสงกรานต์ไทย!?อาลัย แม่ผ่องศรี ศิลปินแห่งชาติ เสียชีวิตอย่างสงบวันนี้รัชกาลที่2ความั่นคงและเจริญรุ่งเรืองรัชกาลที่4 ความมั่นคง
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ภูมิศาสตร์อาณาจักรขอม“ตึกสาทร ยูนีค” กลับมาเป็นที่พูดถึงอีกครั้ง ท่ามกลางข่าวแผ่นดินไหว-ตึกถล่มพฤติกรรมความรุนแรง แสดงออกถึงความก้าวร้าว ด่าทอ เสียดสี ทำร้ายร่างกาย รวมไปถึงการก่ออาชญากรรม เป็นอาการทางจิตเวชทั้งหมดหรือไม่ ?คิม จองอึน ทดลองปืนไรเฟิลรุ่นใหม่ เตรียมส่งให้หน่วยลับใช้งานม็อบอเมริกันปะทุ! ต้านทรัมป์-มัสก์ สั่นสะเทือนหลายเมืองใหญ่
ท่องโลกดึกดำบรรพ์: บ่อน้ำมันดิบยุคหินท่องโลกดึกดำบรรพ์: ออสเตรเลียแดนใต้ลึกลับท่องโลกดึกดำบรรพ์: คนแคระกลุ่มสุดท้ายแห่งเกาะภูเขาไฟท่องโลกดึกดำบรรพ์ เมื่อทวีปอเมริกาเหนือ เชื่อมเข้ากับทวีปอเมริกาใต้
ตั้งกระทู้ใหม่
หน้าแรกเว็บบอร์ดหาเพื่อนChatหาเพื่อน Lineหาเพื่อน SkypePic PostตรวจหวยควิซคำนวณPageแชร์ลิ้ง
Postjung
เงื่อนไขการให้บริการ ติดต่อเว็บไซต์ แจ้งปัญหาการใช้งาน แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม ข่าวประชาสัมพันธ์ ลงโฆษณา
เว็บไซต์นี้ใช้ Cookie
เพื่อประสบการณ์ที่ดีและการใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ดูข้อมูลเพิ่มเติม อ่านนโยบายการใช้งาน
ตกลง