ท่องโลกดึกดำบรรพ์: ยุคไซลูเรียน
ณ บัดนี้ คุณได้ท่องข้ามเวลามาจนถึงสถานที่แห่งหนึ่ง ชายหาดกว้างสุดลูกหูลูกตาข้างชายฝั่งทะเลแสนกว้างใหญ่ รอบตัวคุณไม่มีสิ่งใด ไร้ซึ่งสัตว์บก อากาศที่คุณหายใจนั้นพลันน้อยกว่าที่คุณคิดจนต้องหยิบเอาถังอ๊อกซิเจนที่ใช้ดำน้ำเข้ามาหายใจ ตอนนี้คุณได้มองไปรอบๆ ไม่พบสิ่งใดเท่าไหร่นัก แสงอาทิตย์บนบกก็ร้อนที่สุด มันแสบร้อนทะลุไปยังชุดว่ายน้ำทำเอาคุณรู้สึกทนไม่ไหว
ในที่สุด คุณเดินหนีออกมาและพยายามเข้าไปใกล้แหล่งน้ำมากขึ้น ตีนเป็ดที่สวมไปบนเท้าของคุณเหยียบไปบนกอพืชขนาดจิ๋ว นี่คือคุกโซเนีย (Cooksonia) พืชยุคแรกเหล่านี้มีลำต้น ยังไม่มีใบ และขยายพันธุ์ด้วยการแตกหน่อเล็กๆ แถมก้อนกลมๆ เหมือนวุ้นที่ปลายนั้นก็ทำหน้าที่ในการขยายพันธุ์ด้วยสปอร์ ความสามารถเดียวกับพวกเชื้อราเชียวนะ! น่าทึ่งจริงๆ แต่หากให้พวกมันวิวัฒนาการต่อไป มันจะกลายเป็นสิ่งมีชิวตที่ทรงอิธิพลที่สุดในโลก นั่นคือพืชนั่นเอง
ยุคไซลูเรียนมีช่วงเวลาอยู่ตั้งแต่ 559-425 ล้านปีที่แล้ว ช่วงนี้อ๊อกซิเจนในบรรยากาศยังไม่เพียงพอจะให้มนุษย์หายใจได้ แถมยังเบาบางกว่าถึง 60% เปอร์เซนต์ อาจจะส่งผลต่อสุขภาพของเราทำให้คลื่นไส้แล้สมองตายได้เลยทีเดียว แถมยังมีแสงอาทิตย์ร้อนระอุคอยอุ่นน้ำทะเลและแผ่นดินตลอดเวลา ทวีปทั้งโลกยังเป็นมหาทวีปติดกัน เป็นดั่งดินแดนรกร้าง ที่ที่คุณยืนอยู่นี้ วันหนึ่งจะกลายเป็นประเทศสก็อตแลนด์ในไม่ช้า แต่ในช่วงเวลานี้ ทวีปก็หลอมรวมกันเป็นหนึ่งเดียวไปก่อน
หลังจากหนีแสงแดดอันแผดเผาลงไปในนทีสีคราม ท้องทะเลยังคงไม่ต่างจากยุคแคมเบรียนที่เรารู้จักมากนัก ปะการังและฟองน้ำชนิดใหม่งอกขึ้นมากลายเป็นเขตแนวปะการัง ไทรโลไบต์เจ้าเก่าของพวกเรายังคงอยู่ พวกมันก็หากินดาวทะเลและปลิงทะเลที่ก้นสมุทรกันอย่างเช่นเคย พวกมันรอดมาจากการสูญพันธุ์ได้ หนอนทะเลในยุคนี้ขนาดของพวกมันก็หดเล็กจนบางชนิดยาวไม่เกินสามสิบเซนติเมตรเอง
ขณะที่ชมท้องทะเลไปเรื่อยๆ บางสิ่งว่ายมาข้างหน้าของคุณ เป็นสิ่งที่เราคุ้นเคย แต่ก็ไม่มีในยุคของเราแล้วเช่นกัน มันคือปลาไร้กราม ปลาในยุคนี้วิวัตนาการครีบ รยางค์ ผิวที่ลื่นเมือก และเกล็ดแบบยุคแรกขึ้นมา พวกมันไม่มีขากรรไกรที่เด่นชัด ใช้การกรองเอาเศษอาหารและแพลงค์ตอนขึ้นมากินเสียมากกว่า เช่น ฉีลินหยี๋ว์ (Qilinyu Rostrata) ปลาไร้กรามชนิดนี้กรองดูดอาหารกินจากก้นทะเลคล้ายเครื่องดูดฝุ่น หัวแข็งๆ ของมันใช้ในการป้องกันตัวจากนักล่า
ขณะที่ว่ายไปเรื่อยๆ ฝูงฉีลินหยี๋ว์ก็แตกฮือทิ้งสหายที่ไม่รู้เรื่องไว้ให้เราดู นักล่าทรงกระบอกว่ายเข้ามา ตัวยาวเกือบตั้ง 1.2 เมตร นักล่ายักษ์ใช้ฟันกัดและบดขยี้เหยื่อ รูปร่างของมันไม่ต่างจากฉลามในปัจจุบันเลย นี่คือ ไคลมาทีอุส (Climatius) เป็นปลากระดูกอ่อน หมายความว่า กระดูกสันหลังของพวกมันเป็นคอลลาเจนคล้ายกับชิ้นหมอนรองกระดูกของมนุษย์ ปลาในยุคนี้ก็เริ่มเป็นนักล่ามาบ้างแล้ว แต่ก็ยังคงเรียบง่าย ไม่มีกระดูกแข็งที่เป็นแคลเซียมเท่าใดนัก เจ้าไคลมาทีอุสแทบจะเป็นนักล่าที่สูงสุดในระบบนิเวศของช่วงนี้เลย
ที่ก้นทะเลเอง หางของฉีลินหยี๋วที่ถูกกินลอยตกลงไป คุณมองเห็นเงาประหลาดขนาดใหญ่เดินออกมาจากใต้พื้นทราย คุณจึงว่ายน้ำลงไปแล้วพบกับสัตว์ชนิดหนึ่ง รูปร่างไม่ต่างจากแมงป่องที่คุณรู้จักเลย มันกำลังใช้ก้ามโตๆ นั้นฉีกเนื้อของซากปลาออกมาแล้วยัดเข้าปากที่มีแผ่นขากรรไกรขยับตัดไปมา นี่คือบรอนโตสกอร์ปิโอ้ (Brontoscorpio) นักล่าตัวนี้ยาวพอๆ กับเจ้าไคลมาทีอุส และกินเนื้อเป็นหลัก มันมีเหล็กใน มีหางเป็นปล้อง และก้ามยาวพร้อมขาสี่คู่ใช้เดินบนพื้นทะเล แมงป่องในยุคนี้ แทบจะไม่ต่างจากในปัจจุบันมากนัก พวกมันมีอวัยวะคล้ายเหงือกเป็นแผ่นเหมือนกับฮีตซิงค์อยู่ในแผ่นเกราะใต้หัวแบนๆ เอาไว้แลกเปลี่ยนและดูดซึมอ๊อกซิเจนในน้ำ กุ้ง ปู แมงมุม และแม้แต่แมงป่องในยุคปัจจุบันก็ยังคงมีอวัยวะเหล่านี้ด้วย
แต่บรอนโตสกอร์ปิโอ้ยังไม่ใช่นักล่าระดับสูงของระบบนิเวศนี่ ผู้ยิ่งใหญ่ได้มุดตัวออกมาจากทราย คุณตะลึงกับขนาดและรูปร่างอันพิลึกของมัน ตัวแบนราบ แต่คาดว่ายาวถึงห้าเมตร นี่คือ เพริโกทัส (Pterygotus) แมงป่องทะเลแสนพึลึกกึกกือ ไม่มีสัตว์ชนิดไหนจะเหมือนมันในยุคปัจจุบันอีกแล้ว เพริโกทัสโฉบเฉี่ยวว่ายไล่ตามเหยื่อมา ก้ามที่มีหนามอันเป็นอาวุธตวัดเหมือนเคียวล็อกตัวบรอนโตสกอร์ปิโอ้ลากเข้ามากัดแทะจนเศษเนื้อกระจาย ช่างน่าขนลุกเสียจริงๆ ถ้าคุณไม่รีบหนีแล้วรอให้เจ้านักล่ากินเสร็จ มันอาจจะหันมาอยากลองกินเมนูเนื้อมนุษย์ก็เป็นได้!
ในที่สุดคุณก็ขึ้นฝั่งอย่างปลอดภัยในยามราตรี โล่งใจที่คุณไม่ได้ถูกเจ้านักล่าอย่างเพริโกทัสจับกิน บนหาดนี่เอง คุณได้พบกับฝูงสัตว์ที่คุณคุ้นเคย แมงดาทะเลนั่นเอง เป็นสัตว์จำพวกกุ้งกั้งปูที่มีรูปร่างแทบจะไม่เปลี่ยนแปลงไปมากนัก พวกมันนับร้อยตัวขึ้นมาที่ชายหาดเพื่อวางไข่และผสมพันธุ์ ในยุคปัจจุบันมันถูกล่าเพื่อเป็นอาหารทะเล แต่ในยุคไซลูเรียน พวกมันแทบจะไร้ซึ่งนักล่า และแล้ว ยุคนี้ก็สิ้นสุดลงตามด้วยการสูญพันธุ์ เหตุในครั้งนี้ยังเป็นข้อถกเถียงกันทางวิทยาศาตร์ว่าทำไมเหล่าสัตว์ในทะเลจึงสูญพันธุ์ นักวิจัยหลายๆ ฝ่ายเชื่อว่า สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงมากขึ้น ทะเลที่เคยอบอุ่นเย็นตัวลงและนำพาโลกเข้าสู่ความเย็น สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังมีเปลือกเริ่มพากันตายจากการขาดอาหารและการที่พวกมันไม่รู้จักอพยพ หากเทียบกับพวกปลาที่ว่ายน้ำย้ายถิ่นฐานไปยังระยะไกลได้ พวกมันจะมีอนาคตไกลแสนไกล และยุคต่อไป ปลาจะบุกเบิกขึ้นสู่บก
ในตอนต่อไป พวกเราจะเดินทางไปอีก 100 ล้านปีข้างหน้ายังยุคดีโวเนียน ปลาในทะเลเริ่มขยายขนาดใหญ่ขึ้น พวกมันเป็นนักล่า หลายๆ ชนิดก็มีเกราะแข็งดุจอัศวิน และเป็นทั้งผู้บุกเบิกระบบแหล่งน้ำต่างๆ วิวัฒนาการได้เริ่มปรับตัวสร้างสิ่งใหม่ๆ ทำให้เหล่าปลามีขาคู่แรกๆ และพวกมันก็ได้เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เข้าสู่ยุครุ่งเรืองของสัตว์มีกระดูกสันหลังในที่สุด