พบหนอนยักษ์สายพันธุ์ใหม่ล่าสุด ตัวอ่อนของแมลงสายพันธุ์หนึ่งที่กินพลาสติกเป็นอาหาร อาจช่วยปฏิวัติการการรีไซเคิลได้
👨🏭นักวิจัยระบุว่า ตัวอ่อนของแมลงสายพันธุ์ใหม่หนึ่งที่กินพลาสติกเป็นอาหาร อาจช่วยปฏิวัติการการรีไซเคิลได้
เป็นอะไรที่น่ายินดีมากเลยนะครับเพราะว่าหนอนตัวนี้กินพลาสติกเป็นอาหารดีนะครับมันจะได้ลดขยะโลกได้ ขยะพลาสติกที่ย่อยสลายยากเอามาให้หนอนตัวนี้กินหนอนยักษ์ (superworm)
👨🏭พบหนอนยักษ์ (superworm)สายพันธุ์ใหม่ล่าสุด ตัวอ่อนของแมลงสายพันธุ์หนึ่งที่กินพลาสติกเป็นอาหาร อาจช่วยปฏิวัติการการรีไซเคิลได้
บรรดานักวิทยาศาสตร์ชาวออสเตรเลียพบว่า โซโฟบัส โมริโอ (Zophobas morio) หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า หนอนยักษ์ หรือ ซูเปอร์เวิร์ม (superworm) มีชีวิตรอดได้ด้วยการกินโพลิสไตรีน
Zophobas morio
พวกเขาเชื่อว่า ตัวอ่อนของด้วงหรือแมลงปีกแข็ง ย่อยพลาสติกด้วยเอนไซม์ในลำไส้
👨🏭หนึ่งในผู้เขียนการศึกษานี้ระบุว่า นั่นอาจจะมีความสำคัญต่อการพัฒนาการรีไซเคิล
🐛"หนอนยักษ์ก็เหมือนกับโรงงานรีไซเคิลขนาดเล็ก ที่กัดกินโพลิสไตรีนเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย กลืนลงไปให้เป็นอาหารของแบคทีเรียในลำไส้" ดร.คริส รินเค กล่าว
ทีมงานของมหาวิทยาลัยควีนสแลนด์ ได้ป้อนอาหารที่แตกต่างกันให้แก่หนอนยักษ์ 3 กลุ่มเป็นเวลานาน 3 สัปดาห์ พบว่า กลุ่มที่กินโพลิสไตรีนตัวใหญ่ขึ้น
ทีมงานพบเอนไซม์หลายชนิดในลำไส้ของหนอนยักษ์ที่มีความสามารถในการย่อยสลายโพลิสไตรีนและสไตรีน ซึ่งเป็นสารประกอบที่พบได้ทั่วไปในกล่องพลาสติกบรรจุอาหาร และอีกผลิตภัณฑ์อีกหลายอย่าง เช่น ชิ้นส่วนรถยนต์ และฉนวน
แต่การวิจัยไม่น่าจะนำไปสู่การสร้างฟาร์มหนอนขนาดใหญ่ให้เป็นโรงงานรีไซเคิล แต่พวกเขาต้องการค้นหาว่า เอนไซม์ตัวไหนที่มีประสิทธิผลที่สุด เพื่อที่จะได้ผลิตเอนไซม์นั้นเพื่อใช้ในการรีไซเคิลจำนวนมากได้
งานวิจัยที่ตีพิมพ์ใน Microbial Genomics ระบุว่า จะมีการใช้เครื่องจักรตัดพลาสติกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ก่อนที่จะใช้เอนไซม์ย่อยพลาสติกต่อ
"จากนั้นจุลินทรีย์ชนิดอื่น ๆ ก็อาจใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากปฏิกิริยานี้ในการสร้างสารประกอบที่มีมูลค่าสูงอย่างพลาสติกชีวภาพได้" ดร.รินเค กล่าว
ก่อนหน้านี้ เคยมีการวิจัยแสดงให้เห็นแล้วว่า ตัวอ่อนของแมลงปีกแข็งบางชนิดสามารถบริโภคโพลิสไตรีนได้
โคลิน แจ็กสัน นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ ซึ่งไม่ได้เข้าร่วมในการศึกษานี้ ระบุว่า การศึกษานี้ มีความก้าวหน้าขึ้นอีกขั้น
"การศึกษานี้ทำให้เกิดความเข้าใจอย่างมากว่า แบคทีเรียในลำไส้ [ของหนอนยักษ์] ทำงานอย่างไรในระดับโมเลกุล" ศาสตราจารย์แจ็กสัน กล่าวกับสถานีโทรทัศน์เอบีซีของออสเตรเลีย
😆"นั่นมีความสำคัญในการแปลความหมายและใช้วิธีการนี้ในการรีไซเคิล"
ในระดับระหว่างประเทศ นักวิจัยอีกหลายคนได้ประสบความสำเร็จในการใช้แบคทีเรียและเชื้อราในการย่อยพลาสติกมาแล้ว
แต่มีคำถามว่า เทคนิคเหล่านี้จะสามารถนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ได้อย่างประสบความสำเร็จหรือไม่ โดยเฉพาะเมื่อพลาสติกใหม่ผลิตได้ในราคาที่ถูก
🐛ดูจากในคลิปหนอนพวกนี้มันกินพลาสติกเคี้ยวกรวมๆท่าทางว่าน่าจะอร่อยพลาสติกไม่รู้ว่ามันจะอร่อยตรงไหนนะครับแต่หนอนพวก
นี้ก็กินกันอย่างเอาเป็นเอาตายแปลกมากๆ
อ้างอิงจาก: wikipedia google และ YouTube