ไม้ป่ากินได้…”เปราะหอม”
ไม้ป่ากินได้…”เปราะหอม”
ชื่อวิทยาศาสตร์ : 𝘒𝘢𝘦𝘮𝘱𝘧𝘦𝘳𝘪𝘢 𝘨𝘢𝘭𝘢𝘯𝘨𝘢 L.
วงศ์ : Zingiberaceae
ชื่อเรียกอื่น ๆ : ว่านตีนดิน ว่านแผ่นดินเย็น ว่านหอม (ภาคเหนือ), หอมเปราะ (ภาคกลาง), Chengkur
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก เหง้าใต้ดินภายในสีเหลืองอ่อน ส่วนมากมี 2-3 ใบ แบนราบ รูปกลมแกมรูปรี ยาว 6-14 เซนติเมตร ปลายเป็นติ่งแหลม โคนกลม เว้าเป็นรูปหัวใจ แผ่นใบด้านล่างมีขนสั้นนุ่ม ช่อดอกออกตรงกลาง
ระหว่างใบ กลีบดอกและสเตมิโนดสีขาว กลีบปากสีขาวมีปื้นสีม่วงที่
โคนกลีบ ปลายเว้าลึก ก้านเกสรเพศผู้สั้น อับเรณูมีรยางค์สีขาว
ประโยชน์ : ยอดอ่อนและดอก รับประทานเป็นผัก ในทางสมุนไพร เหง้า แก้โลหิตเป็นพิษ แก้ไอ แก้หวัดคัดจมูก แก้กำเดา แก้อาการปวดลิ้นปี่ บรรเทาอาการปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลมในลำไส้ ปัสสาวะขัด รักษานิ่ว ขับประจำเดือน แก้อาหารเป็นพิษ ดอก รักษาโรคเด็กนอนสะดุ้งผวา
อ้างอิงจาก: https://www.facebook.com/photo?fbid=334622122184161&set=pcb.334622175517489
ที่มา : สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช